หลังจากสงครามโลกได้ยุติลงในช่วงศตวรรษที่ 19 คือช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกให้กลับมาดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศตามปกติอีกครั้ง ในช่วงนั้นยังไม่มี Disruptive Challenger เกิดขึ้นมาเหมือนในยุคปัจจุบันนี้ เพราะในสมัยหลังสงครามโลกนั้นประเทศแต่ละประเทศหรือผู้ประกอบการแต่ละที่ต่างมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาเครื่องจักรและแรงงานเพื่อให้องค์กรกลับมามีผลประกอบการดีขึ้น โดยเกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในเรื่องของศักยภาพการผลิตและต้นทุนการผลิต
เมื่อเวลาผ่านเข้ามาสู่ยุคดิจิทัลในช่วง ศตวรรษที่ 20 เหล่าบรรดาผู้ประกอบการได้หันมาใช้เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจซึ่งมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาร่วมแข่งขันในตลาดเดียวกันกับผู้ประกอบการรายใหญ่อย่างมากมาย ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจรายใหญ่หลายเจ้าที่ปรับตัวไม่ทันต่างพากันปิดกิจการไป เพราะถูกธุรกิจหน้าใหม่เข้ามาแทรกแซงหรือถูก Disrupt จากการใช้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดกว่า วันนี้ถ้าธุรกิจของเรากำลังไปได้ดี วันพรุ่งนี้เราอาจจะตกลงมาอยู่ในจุดต่ำสุดก็เป็นได้ ดังนั้น เราควรศึกษาการรับมือกับคู่แข่งขันรายใหม่ไว้ให้ดี เพื่อไม่ให้เราตกอยู่ในสภาพผู้ถูก Disrupt มาดู 4 กลยุทธ์การรับมือกับคู่แข่งขันหน้าใหม่ในยุคดิจิทัล ว่าเราต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อให้ธุรกิจของเราอยู่รอด
ถ้าหากในตลาดของเรามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงจากหลายคู่แข่ง หนึ่งในวิถีของผู้อยู่รอดในแวดวงธุรกิจ คือการรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ให้เหนียวแน่นที่สุด เช่น เมื่อเราเริ่มรู้แล้วว่ามีคู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ของเรา สิ่งแรกที่เราต้องรีบดำเนินการคือการมุ่งเป้าพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับองค์กรมากที่สุด และรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนั้นเอาไว้
ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีสินค้าอยู่ 3 ประเภท โดยสินค้าแต่ละประเภทได้กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งหมายความว่าธุรกิจของเราผลิตสินค้าลงแข่งขันอยู่ 3 ตลาดด้วยกัน เมื่อเกิดวิกฤติการแข่งขันกันอย่างรุนแรงทั้ง 3 ตลาด เราต้องนำตัวเลขผลประกอบการมาพิจารณาดู ว่าเราควรออกจากตลาดไหนและควรเดินหน้าพัฒนาสินค้าประเภทไหนต่อไปเพื่อรักษาฐานลูกค้าในตลาดที่สร้างรายได้ให้กับเรา หรือในกรณีที่อุตสาหกรรมการเงินได้ถูก Disrupt โดยแอปพลิเคชันประเภท Wallet หรือ e-Payment ที่สามารถชำระเงินโดยไม่เสียค่าบริการ สถาบันการเงินจึงต้องยอมยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ ในทางกลับกัน ถ้าเรายังฝืนต่อสู้กับคู่แข่งขันหน้าใหม่ (Disruptive Challenger) ที่มีศักยภาพเหนือกว่าเรามาก อาจจะทำให้เราสูญเสียต้นทุนการดำเนินการไปแบบเปล่าประโยชน์ ดังนั้น เราต้องเลือกมุ่งหน้าพัฒนาสินค้าและบริการในตลาดที่มีศักยภาพมากที่สุด ณ ตอนนั้น เราจึงจะกลายเป็นผู้อยู่รอด (Surviving Disruption) ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงในยุคดิจิทัล
เมื่อเราเห็นคู่แข่งขันหน้าใหม่เข้ามาแย่งชิงกลุ่มลูกค้าจากฐานลูกค้าเดิมของเราไป เช่น บริษัท A ซึ่งเป็น Disruptive Challenger ดึงดูดกลุ่มลูกค้าจากโรงแรมหรู (ตลาดบน) ให้มาใช้บริการจองห้องพักบนแพลตฟอร์มของตนเองที่มีบริการที่พักซึ่งถูกกว่ามาก (ตลาดล่าง) ทำให้ธุรกิจโรงแรมหรูสูญเสียรายได้จากการลดลงของฐานลูกค้าเดิม
อีกหนึ่งวิธีการรับมือกับเรื่องนี้คือการพัฒนาบุคลากรหรือสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมกันวางแผนพัฒนาสินค้าและบริการใหม่เพื่อต่อกรกับคู่แข่งขันหน้าใหม่ที่ขโมยฐานลูกค้าเดิมของเราไป หรือจะเรียกว่าเป็นการก่อตั้งองค์กรย่อยขึ้นมาอีก 1 องค์กรขึ้นมาในบริษัทของเราเพื่อมาท่าชิงกับคู่แข่งหน้าใหม่โดยเฉพาะ
ในโลกธุรกิจในเรื่องของการแบ่งส่วนตลาดและตลาดผูกขาด เราคงเคยได้เห็นยักษ์ใหญ่กินยักษ์เล็กมาแล้วซึ่งธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดมักจะไม่มีใครสามารถต่อกรได้ เมื่อมี Disruptive Challenger หน้าใหม่เข้ามาเขย่าให้ธุรกิจรายใหญ่สั่นคลอน วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจของตนถูก Disrupt คือการควบรวมกิจการหรือการซื้อกิจการต่อจากคู่แข่งหน้าใหม่ นอกจากจะป้องกันการถูกแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้เล่นหน้าใหม่ได้แล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างองค์กรที่ซื้อกิจการและองค์กรที่ถูกซื้อกิจการเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างควบรวมกิจการที่เห็นได้ชัดเจนคือ Facebook ได้ควบรวมกิจการหรือซื้อกิจการของ Instagram เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นเจ้าแห่งโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ยกตัวอย่างจากในอดีต Blockbuster ซึ่งเป็นเจ้าตลาดบริการให้เช่าหนังและเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีโอกาสซื้อกิจการหรือควบรวมกิจการกับ Netflix แต่ Blockbuster มองข้ามเรื่องนี้ไป จนในปัจจุบัน Netflix ได้กลายมาเป็นเจ้าตลาดแทน และ Blockbuster ก็ได้ปิดตัวลงไปในที่สุด
เมื่อเราลองสู้จนสุดความสามารถแล้วแต่ไม่สามารถหยุดยั้งการมาของ Disruptive Challenger ได้ อีกทางหนึ่งที่ยังสามารถประคององค์กรและบุคลากรไม่ให้ตกงาน คือการใช้ความสามารถที่มีอยู่หันไปพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ขึ้นมาหรือเรียกว่าการปรับตัวไปทำธุรกิจอื่นแทน เช่น จากเดิมเราทำธุรกิจบริการขนส่งพัสดุให้ถึงมือผู้รับ พอโดน Disrupt จากแพลตฟอร์มอันชาญฉลาดของ Disruptive Challenger อาจต้องเปลี่ยนไปทำธุรกิจบริการเคลื่อนย้ายสิ่งของแทน และยังคงอาศัยความรู้และความสามารถของทีมงานชุดเดิมในการบริหารจัดการองค์กร
"ความแตกต่างระหว่าง ผู้ Disrupt กับ ผู้ถูก Disrupt คือทักษะและความสามารถของบุคลากร"
แวดวงธุรกิจในปัจจุบันทุกธุรกิจไม่ว่าจะยิ่งใหญ่มาจากไหนก็ตาม จะนิ่งนอนใจหยุดอยู่กับที่ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ต้องคอยระวังผู้เล่นหน้าใหม่ไฟแรงไว้ให้ดี เพราะการแข่งขันในยุคดิจิทัลคือการใช้เทคโนโลยีเป็นอาวุธในการขับเคลื่อนธุรกิจ และหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าทันโลกทันสมัย คือการมีบุคลากรที่มีหัวคิดก้าวหน้าหรือมีทักษะด้านดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งสมัยนี้ทักษะที่ทุกองค์กรต้องการล้วนเป็นทักษะด้านเทคโนโยลีและไอทีทั้งสิ้น เหตุผลเพราะต้องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในแวดวงธุรกิจที่มีการแข่งขันกันด้วยเทคโนโลยี
ถ้าอยากให้บุคลากรในองค์กรมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หรือการพลิกแพงความคิดเพื่อสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อมาพัฒนาต่อยอดธุรกิจของท่าน แนะนำให้ทุกคนในองค์กรศึกษาวิธีคิดจาก คอร์สเรียนรู้การใช้ Innovative Thinking ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ โดยจะได้เรียนรู้การนำนวัตกรรมไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเรียนรู้การปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของเรา หลังจากนั้นมาดูกัน ว่าเราจะเป็นผู้ Disrupt หรือผู้ถูก Disrupt
เทคนิคการรับมือกับ Disruptive Challenger: คู่แข่งที่คุณต้องรู้ในยุคดิจิทัล
ทำไมคุณถึงต้องรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์ Digital Marketing ก่อนที่จะทำการตลาดออนไลน์
79 คำศัพท์ทางการตลาด ที่นักการตลาดควรรู้
300 คำศัพท์ทางการตลาด ที่นักการตลาดควรรู้ ปี 2024
คำศัพท์คำที่ 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300