ทักษะด้านดิจิทัล หรือ Digital Skill กำลังเป็นที่จับตามองของเหล่าบรรดากลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่และคนรุ่นเก๋าที่อยากพัฒนาตนเองให้ตามทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่ง Digital Mindset คือแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกเขามีความกระตือรือร้นในการติดตาม เทรนด์ดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อไม่ให้ทักษะของพวกเขาล้าหลังและไร้ประโยชน์ในตลาดแรงงานดิจิทัลที่มีการแข่งขันกันสูง หากต้องการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Age) และเป็นที่ต้องการขององค์กร เราจำเป็นต้องเติมเต็มทักษะให้กับตัวเองให้สดใหม่เสมอ มาดูกันว่าเทรนด์ทักษะด้านดิจิทัลที่มาแรงในปี 2020 มีทักษะไหนที่น่าสนใจบ้าง
ความสามารถในการวิเคราะห์จากตัวเลข หรือข้อมูลทางสถิติ กำลังเป็นที่ต้องการขององค์กรต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันหลายองค์กรได้หันมาใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลของผลการดำเนินงาน เช่น ธุรกิจโรงแรมที่เก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพัก ธุรกิจด้านการตลาดที่เก็บสถิติของผู้บริโภค รวมถึงธุรกิจด้านการเงินและการลงทุนที่มีการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เป็นต้น จึงทำให้ทักษะหรือตำแหน่งงานผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ณ ปัจจุบันและในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลสถิติจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ (Facebook Statistics) ที่ต้องอาศัยนักการตลาดที่เชี่ยวชาญด้านตัวเลขเข้ามาช่วยวิเคราะห์แคมเปญต่าง ๆ เพื่อจัดการกับข้อมูล ณ ปัจจุบันและในอดีต หรือวิเคราะห์เชิงพยากรณ์เพื่อนำไปวางแผนเป็นกลยุทธ์
โซเชียลมีเดียสามารถสร้างโอกาสให้นักขายทุกคนได้พบเจอกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปเคาะประตูตามบ้าน นักขายสามารถใส่ข้อมูลของสินค้าและบริการ หรือประวัติบริษัทลงไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่ใช้ เป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้บริโภคหาแหล่งข้อมูลของสินค้าและบริการเพื่อทำการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ในปี 2020 เป็นต้นไปคือยุคใหม่ของวงการนักขายที่สามารถสร้างยอดขายได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เพราะ 80% ของผู้ซื้อมักจะตรวจสอบหรือเปรียบเทียบสินค้า 5 ชิ้น ก่อนตัดสินใจซื้อ 1 ใน 5 ชิ้นนั้น เพราะฉะนั้น ข้อมูลทางออนไลน์มีอิทธิพลต่อการซื้อขายเป็นอย่างมาก และทักษะการขายของบนโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่งในทักษะที่มาแรงที่สุดในปี 2020
ในยุคปัจจุบันผู้คนได้หันมาซื้อสินค้าและทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มมากขึ้น ความง่าย ความสะดวก และความรวดเร็ว กลายเป็นโจทย์ที่บริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านแพลตฟอร์ม หรือ Developer ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะผู้ใช้แพลตฟอร์มในทุกวันนี้ต้องการความรวดเร็วในการทำกิจกรรมหรือธุรกรรม โดยมีการเข้าออกจากเว็บไซต์หน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่งเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จด้วยความง่ายดาย ดังนั้น การออกแบบขั้นตอนการเข้าไปซื้อสินค้าหรือบริการจะต้องเป็นประสบการณ์ที่ง่ายและทำให้ลูกค้ากลับมาใช้ซ้ำ 79% ของผู้ใช้ยอมรับว่าพวกเขาจะเลือกไปใช้เว็บไชต์อื่นหากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ตนกำลังใช้มีความยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป เพราะฉะนั้น ทักษะด้าน UX Design จึงมีความต้องการเป็นอย่างมากในตลาดดิจิทัล เป็นหน้าที่ของทีม Web Design ที่ต้องคัดเลือกผู้ที่มีทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้เข้ามาร่วมทีม หรือหากระบวนการเร่งความคิดสร้างสรรค์ของคนในทีมออกมาและปรับให้เป็นกลยุทธ์ทางดิจิทัล
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้บุคคลทั่วไปมีแบรนด์สินค้าและบริการเป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ เพราะมีแพลตฟอร์มที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจและบริหารจัดการด้านการตลาด เช่น Facebook และ Instagram เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเครื่องมือที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่กำลังให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก คือการสร้างเว็บไซต์ให้กับแบรนด์ของตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกเยอะ เราสามารถเรียนการทำเว็บไซต์ได้จากคอร์สเรียนออนไลน์ของ Digicup The Digital Academy เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตัวเอง เพราะสมัยนี้การทำเว็บไซต์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ติดตามสาระน่ารู้จาก Digicup คลิก!
ทักษะการคิดสร้างสรรค์ถือว่าเป็นทักษะด้านดิจิทัลที่สำคัญที่สุด โดยเป็นทักษะที่ไม่ได้ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ จุดขายของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์คือการมีความคิดเชิงนวัตกรรม หรือ Innovative Thinking ที่เครื่องจักรและเทคโนโลยีทำไม่ได้ ซึ่งเรามักจะเห็นคนกลุ่มนี้ทำงานด้านธุรกิจสตาร์ทอัพหรือเป็นเจ้าของผลงานด้านนวัตกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องลงทุนกับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความกระตือรือร้นเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งจะต้องเลือกคนที่มีทักษะเหมาะสมกับงานและปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้ทุกสถานการณ์
"บุคคลที่มี Digital Mindset คือผู้รอดอย่างแท้จริง"
ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะลงทุนไปกับระบบซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาองค์กรให้สามารถรับมือกับยุค Digital Disruption แต่นั่นไม่ได้นำความยั่งยืนเข้ามาสู่ระบบการทำงานขององค์กรโดยตรง เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานตามเทรนด์เทคโนโลยีเท่านั้น การทรานส์ฟอร์มองค์กรจะต้องลงทุนกับบุคลากรด้วย บุคลากรในองค์กรไหนมีทักษะและความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Skill) องค์กรนั้นย่อมได้เปรียบกว่าใคร และตัวพนักงานเองก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นที่ต้องการขององค์กรและตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมดิจิทัล
เพื่อให้ท่านและธุรกิจของท่านปรับตัวให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยไม่ถูก Disrupt เรามีหลักสูตรการเรียนระยะสั้นมาช่วยให้ท่านหลุดพ้นออกจากสถานการณ์ที่ถูกเทคโนโลยีแซงหน้า โดยมีคอร์สเรียนแนะนำดังนี้