ถึงแม้ว่าหน้าตาแฟนเพจเฟสบุ๊ค จะเป็นในรูปแบบของเทมเพลตที่เหมือนๆ กัน และไม่สามารถตกแต่งอะไรได้มากนัก แต่การ จัดการหน้าแฟนเพจ ให้มีความน่าสนใจ และเอื้อต่อผลประโยชน์ของแบรนด์ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ซึ่งในเบื้องต้นนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยวิธีดังนี้
ภาพประจำตัว (profile) และภาพหน้าปก (cover) ถือเป็นสิ่งแรกที่ผู้เข้าชมเพจจะได้เห็นเมื่อคลิกเข้ามา ดังนั้น นอกจากภาพที่ใช้จะต้องเป็นภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ สามารถสื่อสารถึงความเป็นแบรด์ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง หรือบอกเล่าในสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะบอกในช่วงเวลานั้นได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังต้องเป็นภาพที่มีคุณภาพ คือมีความคมชัด มีขนาดที่เหมาะสม โดยที่ภาพ Profile นั้น ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 180x180 pixel และภาพ Cover ควรมีขนาด 851 x 315 pixel โดยประมาณ อีกทั้งในการออกแบบภาพที่จะนำมาใช้ ยังต้องจัดวางองค์ประกอบให้เอื้อต่อการแสดงผลในอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งนี้ สามารถเลือกใช้เป็นภาพนิ่ง หรือวีดีโอก็ได้ตามความต้องการ
โพสใดที่สำคัญ เป็นโพสที่ต้องการให้ผู้เข้าชมเพจได้เห็น รับรู้ หรือมีส่วนร่วมเป็นพิเศษ ควรกดปักหมุดโพสนั้นๆ ไว้ด้านบนสุดของเพจเสมอ เพื่อให้ผู้เข้าชมเห็นได้อย่างชัดเจน และเห็นได้ในทันทีที่เข้ามายังเพจ ทั้งยังช่วยให้โพสของวันอื่นๆ ไม่มาบดบัง หรือทับถมทำให้เลื่อนจมลงไป ตัวอย่างเช่นโพสกิจกรรม โพสโปรโมชั่นสินค้า หรือโพสข้อมูลประกาศต่างๆ จากทางแบรนด์ เป็นต้น โดยวิธีปักหมุดสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงคลิกไปที่สัญลักษณ์ V ตรงมุมขวาของโพสที่ต้องการปักหมุด จากนั้นเลือกคำสั่ง “ปักหมุดไว้ด้านบนสุดของเพจ” ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
หากแบรนด์ของเรามีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของสินค้าและการให้บริการแล้วล่ะก็ การเปิดให้ผู้เข้าชมเพจสามารถเขียนบทวิจารณ์ และให้คะแนนได้นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งข้อดีที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับแบรนด์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีโอกาสรับรู้ความคิดเห็นของพวกเขา รวมถึงทราบว่าจะต้องปรับปรุงและพัฒนาแบรนด์ไปในทิศทางไหนในโอกาสต่อไปเท่านั้น แต่คำวิจารณ์และคะแนนการให้ดาว ยังส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้เข้าชมเพจคนอื่นๆ อย่างมากอีกด้วย
ใส่ข้อมูลในหน้า About ให้ชัดเจน
ข้อมูลในส่วนของหน้า About หรือหน้าเกี่ยวกับนั้น มีความสำคัญไม่แพ้กัน การใส่ข้อมูลและรายละเอียดการติดต่อให้ครบถ้วนและชัดเจน จะช่วยให้ผู้เข้าชมเพจที่มีความสนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อมายังเราได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยข้อมูลที่ควรระบุนั้นได้แก่ คำบรรยายที่บอกเล่าถึงตัวตนของแบรนด์เล็กๆ น้อยๆ เบอร์ติดต่อ สถานที่ตั้งในกรณีที่เป็นธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงถ้าหากมีเว็บไซต์ ก็อย่าลืมที่จะใส่ลิงค์ของเว็บไซต์ด้วย เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้เข้าชมได้รับรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
แถบป้ายเปอร์เซ็นอัตราการตอบกลับที่แสดงอยู่บนหน้าเพจนั้น เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรวดเร็วในการตอบกลับต่อข้อความของผู้ดูแลเพจ ฉะนั้นแล้ว หากต้องการให้แถบป้ายนี้แสดง 100% เต็ม ก็ควรที่จะทำการตอบกลับอย่างรวดเร็วอยู่เสมอนั่นเอง ซึ่งทั้งนี้ การตอบกลับที่รวดเร็วไม่เพียงแต่จะทำให้ปิดการขายได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความใส่ใจ ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และมั่นใจว่าจะได้รับคำตอบที่ต้องการอย่างทันท่วงทีอีกด้วย
หากพบเจอข้อความที่ไม่เหมาะสมหรือหยาบคาย และไม่ต้องการให้ปรากฏอยู่บนหน้าเพจ ผู้ดูแลเพจสามารถกดซ่อนข้อความนั้นๆ ได้ ทำได้โดยเลื่อนเมาส์ไปที่มุมซ้ายของข้อความนั้นๆ เมื่อพบกับสัญลักษณ์ … ให้กดคลิกและเลือกคำสั่ง “ซ่อนความคิดเห็น” เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ข้อความจะไม่ปรากฏอยู่บนหน้าเพจ แต่ตัวผู้โพสข้อความจะยังเห็นข้อความนั้นแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง
ทั้งนี้ วิธีที่นำเสนอเป็นเพียงวิธีง่ายๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบและพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ ในเบื้องต้น ที่ผู้บริหารเพจทุกคนสามารถทำกันได้ ซึ่งอย่างไรก็ตาม การบริหารเพจให้ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ยังคงต้องอาศัยกลยุทธ์ และเครื่องมืออื่นๆ ในการจัดการร่วมด้วยเช่นกัน
4 เทคนิคการเพิ่มยอดขายผ่าน Facebook แบบเห็นผลและยั่งยืน
สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter