Google Analytics คืออะไร คำตอบคือเครื่องมือชนิดหนึ่ง เพื่อไว้วัดผลและเก็บข้อมูลเชิงสถิติทั้งหมดเกี่ยวกับเว็บไซต์ ซึ่งมีข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำการตลาด หลายคนยังอาจใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากเราวิเคราะห์ข้อมูลได้ รู้จักค่าต่างๆ แล้ว จะรู้เลยว่าเป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นอย่างมาก
Google Analytics จะแบ่งสัดส่วนทางด้าน Report ซึ่งจะแสดงอยู่ด้านซ้ายมืออกเป็น ออกเป็น 5 หมวดหมู่ด้วยกัน
แสดงให้เห็นถึงว่าเว็บไซต์ของเรานั้น ในช่วงเวลาปัจจุบัน มีคนเข้าเว็บไซต์จำนวนกี่ Sessions เข้าที่หน้าไหนเป็นหลัก แหล่งที่มาจากไหน มีวัดกราฟให้นับเป็นวินาทีต่อวินาทีเลยทีเดียว
สามารถดูภาพโดยรวมได้ว่า ผู้คนที่เข้าเว็บไซต์ของเรานั้นมีมากแค่ไหน ช่วงอายุเท่าไร ความสนใจเป็นอย่างไร และอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง ใช้อุปกรณ์หรือระบบปฏิบัติการใด ซึ่งค่าเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงโฆษณาใน Google Adwords ได้
รู้หรือไม่ว่าคนที่เข้าเว็บไซต์ของเรามาจากช่องทางไหนมากที่สุด นี่เลย Acquisition บอกได้ ว่ามาจาก Organic Search, Paid Search, Direct Link, Social Media หรือ Referral ก็ตาม เมื่อรู้แล้วเราสามารถพัฒนาเพิ่ม Traffic ช่องทางนั้นๆ ได้
อยากรู้ไหมว่าคนเข้าเว็บไซต์หน้าไหนของเรามากที่สุด แล้วคลิกไปไหนหน้าไหนต่อ จำนวนคนที่คลิกไปหน้าต่อไปมีเยอะมั้ย ถ้าหากนำมาประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์ E-Commerce นับว่าได้ประโยชน์มาก เพราะเราสามารถรู้ได้เลยว่า คนกดเข้า Add Cart เท่าไร แล้วกดสั่งซื้อกี่ Sessions หากว่ามีคนหายไปจำนวนมากในหน้ากดสั่งซื้อ อาจเป็นไปได้ว่า หน้าสั่งซื้ออาจมีปัญหา ทำให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
ทำไมคุณถึงต้องรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์ Digital Marketing ก่อนที่จะทำการตลาดออนไลน์
สุดท้ายคือ Conversions คือการตั้งเป้าหมาย (Goals) ซึ่งการตั้ง Conversions สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับธุรกิจของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น Conversionคือการ Add to Cart, อ่านเว็บไซต์จำนวน 3 หน้าขึ้นไป, อยู่ในเว็บไซต์นานเกินกว่า 5 นาที หรือมีคนกรอกแบบฟอร์มเท่าไร ซึ่งเราสามารถตั้งค่า Conversions เองได้ตามที่ต้องการ Google Analytics จะสรุปมาให้ว่า ในช่วงเวลาเท่านี้ มี Conversions ทั้งหมดเท่าไร คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ทำให้เราสามารถวางแผนได้ง่ายมากขึ้น
สำหรับใครที่เพิ่งเรียนรู้ เริ่มต้นกับ Digital Marketing ควรอ่านค่าของ Google Analytics ให้เป็น โดยเฉพาะในส่วนของหมวดหมู่ Audience ซึ่งมีคำศัพท์โดยหลักๆ อยู่ทั้งหมด 7 คำด้วยกันคือ
คือจำนวนผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บ ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งนับเป็นจำนวนคน การนับ Users จะนับทั้ง User เก่าและใหม่รวมกัน โดยใช้หลักการของ Cookies นั่นเอง
คือจำนวนผู้ใช้ใหม่ ที่เข้ามาในเว็บไซต์ โดยที่ไม่ได้นับผู้ใช้เก่า ถ้าหาก New Users มากขึ้น แสดงว่าเว็บไซต์ของเรากำลังเติบโตมากขึ้นเช่นกัน
จำนวน Traffic ที่เข้ามาในเว็บไซต์ โดยผ่าน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ Traffic นั้นยังคง Active อยู่ ถ้าหากปิดเว็บไซต์ หรือทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน Sessions จะถูกนับใหม่ หลายคนอาจงง และไม่เข้าใจกับการนับ Sessions จึงขออธิบายแบบยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราเข้าเว็บไซต์ A แล้วอ่านบทความจนจบ แล้วกดคลิกไปหน้าอื่นๆ ภายในเว็บไซต์เดิม ในระยะเวลาติดๆ กัน ก็จะยังคงนับเป็น 1 Session แต่ถ้าเราเข้าเว็บไซต์ A อ่านบทความจนจบ แล้วเปิดหน้าเว็บทิ้งไว้สัก 30 นาทีเพื่ออกไปร้านสะดวกซื้อ จากนั้นรีเฟรชกลับมาอ่านบทความหน้าเดิมต่อ อย่างนี้จึงจะนับเป็น 2 Sessions
โดยปกติแล้ว จะรู้ว่าเว็บไซต์มีจำนวน Traffic เยอะหรือไม่ มักจะใช้ Sessions เป็นตัวอ้างอิงที่มากกว่า Users เพราะยูสเซอร์เดิมสามารถสร้างจำนวน Sessions ได้หลายเซสชั่นนั่นเอง
ตัวเลขที่จำนวนคนต่อ Sessions นั่นเอง ดังที่กล่าวไปแล้วในด้านบนว่า 1 User สามารถเข้าเว็บไซต์สร้างได้หลาย Sessions นั่นเอง ถ้าหากตัวเลขมาก นั่นหมายความว่า 1 คน จะเข้าเว็บใช้งานในหลาย Sessions
ตัวเลขของจำนวนหน้าเว็บทั้งหมดที่ถูกเปิด ถ้าหากตัวเลขมากนั่นหมายความว่าเว็บได้รับความนิยมมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของเว็บไซต์ด้วย เช่นเว็บข่าวอาจมีจำนวนการเปิดเว็บมากกว่าเว็บไซต์บริษัทธรรมดา
นี่คือตัวเลขที่บอกว่า จำนวน 1 Session เปิดหน้าเว็บไปทั้งหมดกี่หน้า ยิ่งจำนวนต่อ 1 Sessions เปิดหน้าเว็บเป็นจำนวนมาก อาจบ่งชี้ได้ถึงเว็บไซต์ของเราน่าสนใจ เช่นเว็บไซต์ E-Commerce ยิ่งมีตัวเลขมาก อาจบ่งบอกว่าสินค้าของเราน่าสนใจ จนต้องคลิกไปดูหลายหน้า
ค่าเฉลี่ยที่ 1 Session อยู่ในหน้าเว็บเรานานแค่ไหน ยิ่งตัวเลขมากแปลว่ายิ่งอยู่นาน ตัวเลขนี้สามารถแปรผันได้จากแหล่งที่มาของการเข้าเว็บไซต์ ถ้าหากมีสัดส่วนการเข้าเว็บจากการค้นหาแบบ Organic มักจะอยู่นานมากกว่า การเข้ามาจาก GDN (Google Display Network)
เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่แสดงให้เห็นถึงว่า จำนวน Sessions ที่เข้ามาในหน้าเว็บเพียงหน้าเดียว แล้วปิด หรือออกไปยังเว็บอื่น มีจำนวนเท่าไร ยิ่งตัวเลขมาก แสดงว่าไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ทางที่ดี Bounce Rate ควรจะต่ำ วืธีการลดอัตรา Bounce Rate คือเพิ่มหน้าเว็บ หรืถ้าเป็นเว็บข่าวควรใส่ลิงก์ข่าวแนะนำอื่นๆ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับการทำความรู้จักคำศัพท์ และสิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นของ Google Analytics ในครั้งหน้า Digital Marketing Wow จะพาไปรู้จักเครื่องมือที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ Google Search Console ที่ทำงานร่วมกับ Google Analytics ได้
สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter