เว็บไซต์ส่วนใหญ่เปรียบเสมือนหน้าตาของธุรกิจ ลูกค้าไม่ว่ากี่เจ้าต่อกี่เจ้า ถ้าเข้ามายังเว็บไซต์ก็อยากได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากเว็บไซต์กลับไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้งาน บริการ ความรู้ดี ๆ รวมไปถึง ความรวดเร็วในการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งผู้ใช้งานหลายท่านให้ความสำคัญกับส่วนนี้มาก เนื่องจากทุกเวลาของทุกคนมีค่า ถ้าต้องมานั่งรอเว็บที่ดาวน์โหลดช้าเป็นเต่า ก็คงเสียเวลา
ลองคิดดูว่า แค่ข้อเสียเพียง 2 ข้อก็ทำให้รู้สึกได้แล้วว่าการที่เว็บไซต์โหลดช้า ส่งผลเสียต่อธุรกิจและผู้ใช้งานอย่างไร เพราะขนาดแค่เน็ตหลุด เน็ตช้า คุณยังรู้สึกหงุดหงิดเลย แล้วถ้าเว็บไซต์โหลดช้า จะยิ่งทำให้รู้สึกหงุดหงิดมากขนาดไหน ดังนั้นลองมาดูกันว่าถ้าเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น จะมีข้อดีอย่างไรบ้าง?
คุณได้เห็นข้อดีของเว็บไซต์ที่มีการโหลดที่เร็วขึ้นแล้วใช่ไหม? ดังนั้น หากเว็บไซต์ของคุณยังโหลดช้า มีผู้ใช้งานน้อย นี่เป็น 7 วิธี ที่จะช่วย เปลี่ยนเว็บไซต์ ของคุณให้เร็วติดสปีดมากขึ้น ซึ่งมีวิธีดังนี้
1. เลือก Hosting ให้ดี
Hosting สำหรับเว็บไซต์ก็เปรียบเหมือนบ้านหลังหนึ่ง เป็นที่ที่เก็บข้อมูลทุกอย่างของเว็บไซต์ไว้บนนั้น ทั้งยังส่งผลต่อความเร็วของเว็บไซต์และเว็บไซต์จะใช้งานได้หรือจะล่มตอนไหน ก็ขึ้นอยู่กับ Hosting ดังนั้นการเลือก Hosting ให้ดีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องศึกษาให้ดีว่าเจ้าไหน ทำงานอย่างไร ราคาเท่าไหร่ บริษัทที่ขายนั้นน่าเชื่อถือไหม มีคนคอยซัพพอร์ตหรือเปล่า เซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ที่ไหน ต้องพิจารณาให้ดีที่สุด เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
เลือก Wordpress Hosting อย่างไร ให้เหมาะกับเว็บไซต์คุณที่สุด
2. ลดขนาดของไฟล์ภาพลง
ไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่อาจส่งผลให้เว็บไซต์ใช้เวลาในการดาวน์โหลดนานขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีต่อเว็บไซต์เลย แต่ก็มีวิธีที่จะลดขนาดไฟล์รูปภาพอย่างเดียว โดยไม่ให้สัดส่วนของรูปภาพนั้นเปลี่ยนไปได้ มีวิธีลดขนาดไฟล์รูปโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมสำหรับทำด้านนี้โดยเฉพาะ แต่คุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ https://tinypng.com/ เพียงแค่อัปโหลดรูปเข้าไป เว็บไซต์จะทำการปรับลดขนาดรูปภาพให้อัตโนมัติ โดยจะลดให้เล็กที่สุดเท่าที่จะเล็กได้
3. ติดตั้ง Plugin เท่าที่จำเป็น
ก่อนจะนำ Plugin เข้ามาใช้แต่ละตัว ควรเลือกให้ดีและเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะถ้าคุณเลือกมาเยอะ ๆ แต่ไม่ได้ใช้ อาจส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณนั้นประมวลผลหนักและเกิดความล่าช้าในการโหลดหน้าเว็บไซต์ได้
4. มีระบบจัดการ Database
เว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบของ CMS เช่น Wordpress เป็นต้น Database ของเว็บไซต์จะมีการเก็บข้อมูลตลอดเวลา แต่ถ้าเก็บข้อมูลเยอะเกินไป ก็ส่งผลให้เว็บช้าได้ ดังนั้นควรหาเครื่องมือหรือปลั๊กอินที่สามารถจัดการกับ Database ของคุณ จะได้จัดการลบสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งถ้าใครใช้ Wordpress ก็มีปลั๊กอินที่สามารถจัดการได้ฟรี คือ WP Optimize
5. ใช้ Lazy Load สำหรับภาพและวิดีโอ
รูปภาพและวิดีโอ เป็นไฟล์ที่มีขนาดใญ่มาก ๆ บนเว็บไซต์ เพื่อให้การโหลดหน้าเว็บนั้นใช้เวลาที่เร็วขึ้น ต้องกำหนดให้ดาวน์โหลดไฟล์ html, javascript และ css ให้เสร็จก่อน เมื่อเสร็จแล้วค่อยไปดาวน์โหลดรูปภาพหรือวิดีโอทีหลัง
6. ใช้งาน cache ของเว็บไซต์
กำหนด Meta Tag เพื่อใช้งาน cache เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาเว็บไซต์และโหลดหน้าเว็บไซต์จนสำเร็จ หากในวันหลังที่ผู้ใช้งานเข้ามาอีกครั้ง เว็บไซต์จะโหลด cache ที่เข้าใช้งานครั้งแรกมาใช้ เพื่อให้เว็บไซต์โหลดหน้าเว็บไซต์ได้รวดเร็วมากขึ้น แต่เว็บไซต์ของคุณจะต้องเป็นเว็บไซต์ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
7. ใช้ระบบ CDN
ระบบ CDN เป็นระบบที่มีเครื่อง Server ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างรวดเร็วที่สุด และเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ตลอดเวลา แถวยังมีความปลอดภัยกับเว็บไซต์อีกด้วย
Supattra Ammaranon x Ourgreenfish