ในโลกดิจิทัลเต็มไปด้วยข้อมูลมากมายจาก Facebook Fanpage ที่เป็นประโยชน์ต่อการคิดวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ โดยส่วนมากในหลายองค์กรได้หันมาใช้ข้อมูลเชิงสถิติมาเป็นตัวแปรสำคัญในการการวางแผน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูล Facebook Insights สำหรับการวางกลยุทธ์การตลาดนั้น ได้กลายมาเป็นความรู้พื้นฐานที่นักการตลาดและแอดมินเพจทุกคนควรจะรู้ ถ้าเรามีความรู้เรื่องข้อมูลทางสถิติอยู่บ้าง อย่างน้อยเราก็สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้ตรงจุดและประเมินผลการทำงานได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้อ่านสามารถดูรายงานข้อมูลได้อย่างง่าย โดยจะแสดงรายละเอียดดังนี้
Page Overview คือการแสดงข้อมูลเชิงสถิติในภาพรวมของเฟซบุ๊กแฟนเพจของแต่ละเดือน โดยจะเน้นแสดงให้เห็นอัตราการเติบโตโดยรวมของเพจ สามารถดูตัวอย่างตารางการทำข้อมูล Page Overview ประจำเดือนได้ดังนี้
จากข้อมูลในตาราง
Column 1: Month แสดงเดือนต่าง ๆ
Column 2: Total Likes คือจำนวนยอดไลค์หรือจำนวนผู้ติดตามทั้งหมดของเพจ
Total Likes (ของเดือนก่อน) + New Likes (ของเดือนล่าสุด) = Total Likes (ของเดือนล่าสุด)
126,900 + 11,406 = 138,306
Column 3: New Likes คือจำนวนยอดไลค์หรือจำนวนผู้ติดตามเพจล่าสุด ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
จำนวน New Likes ของเดือนกุมภาพันธ์ 2019 = 11,406
Column 4: Growth Rate คืออัตราการเติบโตของเพจโดยจะคิดคำนวณออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็น %
[ Total Likes (ของเดือนล่าสุด) - Total Likes (ของเดือนก่อน) ÷ Total Likes (ของเดือนก่อน) ] x 100 = Growth Rate
[ (138,306 - 126,900) ÷ 126,900 ] x 100 = 8.988%
Column 5: Total Reach คือจำนวนการเห็นโพสต์จากคอนเทนต์ที่เราได้โพสต์ไปทั้งหมดต่อเดือน (รวมทั้งจำนวน Reach ที่เกิดจากโพสต์ที่จ่ายค่าโฆษณาหรือ Paid Reach และจำนวน Reach ที่เกิดจากการโพสต์ที่ไม่ได้จ่ายค่าโฆษณ หรือ Organic Reach) โดยข้อมูลของ Total Reach ทั้งหมดสามารถดูได้ที่ Insights ของเฟซบุ๊ก และกด Export Data ออกมา ข้อมูลทั้งหมดจะแสดงในรูปแบบตางราง Excel
Column 6: Total Paid Reach คือจำนวนการเห็นโพสต์จากคอนเทนต์ที่เราได้โพสต์โดยการจ่ายค่าโฆษณา หรือจำนวน Reach เฉพาะโพสต์ที่เกิดจากการยิงแอดโฆษณาเท่านั้น
Column 7: Total Organic Reach คือจำนวนการเห็นโพสต์จากคอนเทนต์ที่เราได้โพสต์โดยไม่ได้จ่ายค่าโฆษณา หรือเรียกอีกแบบว่าโพสต์ที่เกิดจากการโพสต์แบบไม่ได้ยิงแอดโฆษณา หรือเกิดจากการเห็นโพสต์โดยธรรมชาติ เช่น มีกิจกรรม Like และ Share แล้วมีคนอื่นมาเห็นโพสต์จากการ Like และ Share ดังนั้น Organic Reach ถ้ามีจำนวนยิ่งเยอะยิ่งดี แสดงว่ามีคนมาสนใจ
Column 8: Total Daily Engaged Users คือจำนวนการมีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับคอนเทนต์ทั้งหมดที่ได้โพสต์ออกไปในแต่ละเดือน โดยการนับจำนวน Engagement ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละเพจว่าต้องการวัด Engagement จากอะไร ส่วนใหญ่จะวัดจากยอดรวมของ Like, Share, Comment และ Click ในกรณีที่โพสต์เป็นแบบ Video อาจจะต้องนับยอด View รวมเข้ามาด้วย
Column 9: Engagement Rate คือค่าเฉลี่ยที่แสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ต่อจำนวนผู้พบเห็นโพสต์ทั้งหมดของเดือนนั้น ซึ่งค่าเฉลี่ยของ Engagement จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำคอนเทนต์และการยิงโฆษณา ว่าเราทำเนื้อหาคอนเทนต์และยิงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
(Total Engagement (Like, Comment, Share, and Click) ÷ Total Reach) x 100 = Engagement Rate
(178,552 ÷ 10,598,222) X 100 = 1.68%
Total Daily Engaged Users ใน Column ที่ 8 ของเดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวนน้อยกว่าเดือนมกราคม ถึง 12,229 Engaged และ Engagement Rate ของเดือนกุมภาพันธ์ มีอัตราการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่ต่ำกว่า Engagement Rate ของเดือนมกกราคม สรุปได้ว่า ถึงแม่ Growth Rate ของเดือนกุมภาพันธ์จะสูงกว่า Growth Rate ของเดือนมกราคมก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า Engagement Rate ของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดจะมีอัตราที่สูงกว่าเดือนมกราคมเสมอไป โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวน Engagement ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เนื้อหาคอนเทนต์, การ Set up post, หรือจำนวนคอนเทนต์ที่โพสต์ต่อเดือน เป็นต้น ลองนำคอนเทนต์แต่ละคอนเทนต์มาวิเคราะห์ดูว่าการได้ Engagement ต่ำเกิดจากอะไรบ้าง การทำรายงานข้อมูลสถิติของเฟซบุ๊กทุก ๆ เดือน นอกจากจะทำให้เราโฟกัสกับการทำงานเดือนต่อเดือนที่ถี่ขึ้นแล้ว ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนลยุทธ์การตลาดได้อีกด้วย
การทำ Facebook Statistics Report คือทักษะพื้นฐานที่แอดมินเพจทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ เพราะเราจะได้ตรวจสอบจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขของเพจได้ทุกเดือน และเห็นภาพรวมของเฟซบุ๊กแฟนเพจว่ามีความเคลื่อนไหวช่วงไหนบ้างที่เติบโต และช่วงไหนบ้างที่ถดถอย เพื่อนำข้อมูลทางสถิติมาปรับปรุงกลยุทธ์การทำการตลาด ขอแนะนำให้ทำรายงานข้อมูลสถิติทุก ๆ เดือน เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและพัฒนาเฟซบุ๊กแฟนเพจของเราให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนะครับ
"แอดมินในยุคดิจิทัล นอกจากจะเก่งทฤษฎีการตลาดในตำราเรียนแล้ว ยังต้องเก่งเรื่องการนำตัวเลขมาวิเคราะห์ได้อีกด้วย"
นอกจากทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่แอดมินเพจทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้แล้ว ทักษะด้านอื่น ๆ ก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน เช่น การบริหารเวลาการทำงาน การทำวิดีโอเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ยังรวมถึงทักษะด้านดิจิทัลและไอทีอื่น ๆ อีกด้วย และสุดท้ายทักษะที่คนทำงานในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีติดตัวเอาไว้คือ เรียนรู้การใช้ Innovative Thinking ให้เหมาะกับธุรกิจ โดยในยุคปัจจุบันเราทุกคนสามารถศึกษาองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองจากคอร์สเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสมัยนี้