Products Update - HubSpot CRM LINE CRM Loyalty Hub

ศัพท์เทคนิคที่ต้องรู้ ถ้าอยากทำ Facebook Ads แบบมือโปร

เขียนโดย เจษฎา ตะต้องใจ - Sep 2, 2020 1:00:00 AM

การ ยิงแอด หรือการทำ โฆษณาเฟซบุ๊ก (Facebook Ads) เราทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง ยิ่งในยุคนี้มีผู้ประกอบการหลายคนหันมาเปิดเพจเฟซบุ๊กเพื่อหวังว่าอยากให้ธุรกิจของตัวเองเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น จึงทำให้การทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ต่างต้องการศึกษาและลงมือทำด้วยตนเอง

ถ้าอยากทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเอง ก่อนอื่นเราต้องศึกษาความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทำโฆษณาบนเฟซบุ๊ก หรือ Facebook Ads กันก่อน เพื่อที่เราจะได้วัดผลการทำโฆษณาเพื่อปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นต่อไป ถ้าใครได้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ หรือ Technical Term สำหรับ Facebook Ads แล้ว เราจะสามารถวิเคราะห์ตัวเลขหรือวัดผลลัพธ์ของการทำโฆษณาได้อย่างแน่นอน

 

Technical Term ของ Facebook Ads ขั้นพื้นฐานที่คนทำโฆษณาต้องรู้มี 7 คำศัพท์ ดังนี้

Engagement (การมีส่วนร่วม หรือการมีปฏิสัมพันธ์)

เป็นจำนวนของคนที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโฆษณาของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ Clicks ต่าง ๆ เช่น Like, Share, Comment โดยการกระทำทั้งหมดนี้จะถูกนับรวมให้เป็นจำนวนตัวเลขของ Engagement

 

Reach (จำนวนคนที่เห็นโฆษณา)

เมื่อโฆษณาของเราไปปรากฏให้ใครสักคนเห็น จะถูกนับเป็น 1 Reach ต่อให้คน ๆ นั้น เห็นโฆษณาของเราอีก 10 ครั้ง ก็จะถูกนับแค่ 1 Reach เท่านั้น สรุปได้ว่าจำนวน Reach จะถูกนับเป็นจำนวนรายบุคคลที่เห็นโฆษณาของเรา

Reach แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Paid Reach เป็นจำนวนบุคคลที่เห็นโฆษณาของเราจากการใช้เงินทำโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่คนที่อยู่ในกลุ่ม Paid Reach นั้น จะเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target) ที่เราได้กำหนดไว้แล้วว่าอยากให้โฆษณาของเราไปปรากฏให้เขาเห็น
  • Organic Reach เป็นจำนวนบุคคลที่เห็นโฆษณาของเราโดยธรรมชาติที่ไม่ได้มาจากการใช้เงินทำโฆษณา เช่น คนที่ติดตามเพจของเราอยู่แล้ว และเขาเห็นโพสต์ของเรา หรือคนที่เห็นโฆษณาของเราจากการแชร์ของเพื่อน เป็นต้น

 

Impression (จำนวนครั้งที่คนเห็นโฆษณา)

จำนวนครั้งที่คนหนึ่งคนเห็นโฆษณาของเรา เช่น นาย A เห็นโฆษณาของเรา 10 ครั้ง จะถูกนับเป็น 10 Impression ซึ่งจะนับไม่เหมือนจำนวน Reach ที่นับเป็นจำนวนบุคคลที่เห็นโฆษณา เช่น ต่อให้นาย A เห็นโฆษณาของเรา 10 ครั้ง ก็จะถูกนับแค่ 1 Reach เท่านั้น

 

Clicks (จำนวนการคลิกต่าง ๆ บนโฆษณา)

การมีคนมาคลิกที่โฆษณาของเรา ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่โฆษณาของเราสามารถจูงใจให้เขามากดคลิกได้ ซึ่งดีกว่าการที่เขาเห็นโฆษณาแล้วเลื่อนผ่านไปเฉย ๆ แบบนั้นจะถูกนับแค่ Reach กับ Impression

แล้วจำนวนการคลิกจะถูกนับจากอะไร เช่น การคลิกดูรูปภาพ, คลิก Read more... อ่านแคปชั่น, คลิกลิงก์ที่แนบมากับแคปชั่น หรือคลิก Like, Share, comment ต่าง ๆ เป็นต้น

CTR (ผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นว่าโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพหรือไม่)

CTR คือ Click Through Rate ที่นำจำนวน Total Clicks มาหารกับจำนวน Total Impression ยิ่งค่าของ CRT เยอะ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าโฆษณาของเรามีประสิทธิภาพที่สามารถจูงใจให้คนมาคลิกหรือมีส่วนร่วมได้ เราสามารถวัด Engagement ได้จากค่าของ CTR

 

เข้าสูตร

Total Clicks / Total Impression = Click Through Rate

4,500 / 10,000 = 0.45 (45%)

หมายความว่ามีคนคลิก 45% จากจำนวนโฆษณาทั้งหมดที่แสดง

 

Frequency (ค่าเฉลี่ยของจำนวนคนที่เห็นโฆษณาชิ้นนั้น)

โดยนำ Impressions หารด้วย Reach ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของคนที่เห็นโฆษณาว่าคนหนึ่งคนเห็นโฆษณาของเราเฉลี่ยกี่ครั้ง ซึ่งโดยส่วนมาก Impression จะมีจำนวนที่มากกว่า Reach

 

เข้าสูตร

Impression / Reach = Frequency

10,000 / 5,550 = 1.80

หมายความว่า คนหนึ่งคนเห็นโฆษณาของเราเฉลี่ย 1.8 ครั้ง/คน

 

Result Rate (ต้นทุนต่อผลลัพธ์)

คือต้นทุนต่อคนที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโฆษณาของเรา เช่น งบประมาณโฆษณา 300 บาท มีจำนวน Engagement (Like, Share, Comment, View (VDO) ทั้งหมด 733

 

เข้าสูตร

Cost (งบประมาณ) / Engagement (จำนวนการมีส่วนร่วมกับโพสต์) = Result Rate (ต้นทุนต่อผลลัพธ์)

300 / 733 = 0.41

หมายความว่าต้นทุนต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เท่ากับ 0.41 บาท / ผลลัพธ์ หรือ 41 สตางค์ (แนะนำว่าอย่าให้ต้นทุนต่อผลลัพธ์เกิน 0.50 หรือมากกว่านั้น ยิ่งต้นทุนต่อผลลัพธ์น้อยเท่าไรยิ่งดี)

การทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่อง Facebook Ads ก็สามารถเรียนรู้เทคนิคขั้นพื้นฐานได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ Technical Term หรือคำศัพท์เทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลลัพธ์โฆษณาของ Facebook นอกจากจะทำให้เราประเมินผลการทำโฆษณาได้แล้ว ยังส่งผลให้เราเข้าใจ การทำ Facebook Statistics Report ได้ด้วย เราจะเก่งได้ก็ต่อเมื่อศึกษาและลงมือทำอย่างต่อเนื่อง แล้วประสบการณ์จะสอนให้เรามีความชำนาญ 

 

 

เรียนรู้วิธีรับมือกับการถูก Disrupt ในยุค Digital Disruption ได้ที่บทความ

เจ้าตลาดต้องรับมือกับ DISRUPTIVE CHALLENGER อย่างไร เพื่อให้อยู่รอด 

 

เทคนิคการรับมือกับ DISRUPTIVE CHALLENGER: คู่แข่งที่คุณต้องรู้ในยุคดิจิทัล