ถ้าเกิดเราอยากรู้ข้อมูลของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการใช้งาน พฤติกรรมบนเว็บไซต์ และเรื่องที่ผู้ใช้งานสนใจ เครื่องมือที่จะช่วยให้เราได้ข้อมูลตรงจุดนี้มาได้ คงหนีไม่พ้น Google Analytics เครื่องมือที่เก็บข้อมูลพฤติกรรมต่าง ๆ บนเว็บไซต์ และปัจจุบัน ทุก ๆ เว็บไซต์ต่างมีการติดตั้ง Google Analytics เพื่อติดตามพฤติกรรมเหล่านั้นกันทั้งสิ้น วันนี้ Ourgreenfish ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ Google Analytics, คู่มือในการติดตั้งและการใช้งาน รวมถึง GA4 ที่เป็นเครื่องมืออัปเดตตัวใหม่ที่หลายคนยังไม่เคยใช้และไม่รู้จักมาไว้ในบทความนี้ ให้ทุกคนได้ศึกษากัน
Google Analytics เครื่องมือที่นักการตลาดทั้งหลายใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ สามารถดูและรู้ได้ทันทีว่าผู้ใช้งานเป็นใคร เข้ามาเว็บไซต์ได้อย่างไร มาจากทางไหน สนใจอะไรบนเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนปรับปรุงเว็บไซต์ วางแผนการตลาดให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ เครื่องมือ Google Analytics นั้นเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ฟรี ใคร ๆ ก็สามารถสมัครใช้งานและติดตั้งได้ทันทีเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้นเอง และตอนนี้ Google Analytics ก็มีเวอร์ชันใหม่ออกมาก็คือ GA4 หรือ Google Analytics เวอร์ชัน 4 นั่นเอง
สำหรับ GA4 หรือ Google Analytics เวอร์ชัน 4 เป็นการพัฒนาจาก App and Web Property สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งบนเว็บไซต์และโมบายแอปไว้ด้วยกัน โดยที่ข้อมูลนั้นจะไม่แยกส่วนจนทำให้เกิดความสับสนในข้อมูล เพราะบางทีผู้ใช้งานที่เข้ามาใช้ทั้งเว็บไซต์และโมบายแอป อาจจะเป็นคนเดียวกัน แต่ถ้าเกิดข้อมูลอยู่แยกกัน ระบบก็จะจับว่าเป็นคนละคนทั้ง ๆ ที่แล้วคือคนเดียวกัน นี่คือข้อดีของเวอร์ชันนี้ แตกต่างจากเวอร์ชันเก่าตรงที่เมนู การใช้งานและการอ่านค่าต่าง ๆ นั้นต่างออกไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการเก็บค่าของทั้ง 2 เวอร์ชันนั้นมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว
สำหรับท่านที่เคยใช้ Google Analytics มาก่อนหน้านี้ จะเป็น Google Analytics (Universal Analytics) ซึ่งเป็นคนละตัวกับ GA4 แต่ถ้าใครที่พึ่งสมัครใช้งาน สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ตัว UA หรือ จะใช้ตัว GA4 แล้วแต่การใช้งานของแต่ละเว็บไซต์เลย
ประโยชน์ในแต่ละข้อที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เจ้าของเว็บไซต์หรือเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ติดตั้ง Google Analytics บนเว็บไซต์กันทั้งสิ้น เพราะนอกจากประโยชน์และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้เครื่องมือนี้แล้ว ก็เพราะใช้งานได้ฟรีนี่แหละ เพียงแค่มีบัญชี Google ก็สมัครใช้งานและติดตั้งได้แล้ว ซึ่งเราจะพาทุกคนไปถึงขั้นตอนการติดตั้งกันแล้ว
วิธีการติดตั้ง Google Analytics
การติดตั้ง Google Analytics มีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้
ติดตั้ง Tracking Code บนส่วน <head> ของเว็บไซต์
ติดตั้งผ่าน Google Tag Manager (สำหรับท่านที่ใช้ Wordpress)
เพียงทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ใครที่ใช้ Wordpress อยากแนะนำให้ติดตั้งผ่าน Google Tag Manager จะดีกว่าติดตั้งบนส่วน <head> เพราะจะทำให้คุณสามารถเก็บและแทร็กข้อมูลทุกเครื่องมือไว้ในที่เดียวได้
ฟังก์ชันนี้ เป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้คุณสามารถดูผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ได้แบบเรียลไทม์ ดูได้ว่าตอนนี้ มีผู้ใช้งานอยู่บนเว็บไซต์กี่คน มาจากแหล่งไหนมากที่สุด ซึ่งข้อมูลที่โชว์จะเป็นข้อมูล ณ ปัจจุบัน ทำให้เราสามารถดูได้ว่า หน้าไหนที่ผู้ใช้งานกำลังให้ความสนใจอยู่ เพื่อที่จะได้ปรับหรือลงทุนกับหน้านั้นมากขึ้นเพื่อดึงผู้ใช้งานให้อยู่บนเว็บไซต์นานกว่าที่เคยได้
เป็นฟังก์ชันที่ทำให้คุณเห็นว่า คุณได้ User หรือ Traffic บนเว็บไซต์เท่าไหร่ มากน้อยเพียงได้ ข้อมูลที่ได้มานั้น มาจากทางไหนบ้าง ข้อมูลตรงนี้จะทำให้คุณสามารถไปปรับแผนการตลาดของคุณใหม่ ถ้าเจอว่า User หรือ Traffic เข้ามาแบบ Organic หรือแบบ Paid มากกว่า จะได้ลงทุนได้ถูกที่
ส่วนที่เป็นข้อมูลของตัว User เอง โดยจะมีทั้งหมด 2 Section นั่นก็คือ Demographics ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของ User เอง ไม่ว่าจะเป็น เพศ ช่วงอายุ พื้นที่ที่อาศัยอยู่ และอีก Section ก็คือ Tech ที่สามารถบอกได้ว่า User เข้ามาจากช่องทางไหน ใช้อุปกรณ์อะไรในการเข้าถึง ซึ่งข้อมูลทั้ง 2 อย่างนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปทำเป็นกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ เพื่อทำการตลาดต่อไปในอนาคต
ถ้าตอนนี้ใช้ Google Analytics อยู่ แล้วอยากเปลี่ยนไปใช้ GA4 ขอบอกเลยว่าอย่าเพิ่งเลยดีกว่า เพราะอะไร? เพราะ GA4 นั้นเป็นเวอร์ชันที่ใหม่มาก ๆ และเป็นเวอร์ชันที่พัฒนามาจาก App and Web Property ซึ่งการทำงานนั้นยังไม่ครอบคลุมเท่า Universal Analytics สักเท่าไหร่ การเก็บข้อมูลก็ต่างกัน ดังนั้น อาจทำให้ผู้ที่เคยใช้เวอร์ชันเก่านั้นเกิดความสับสนในการดูข้อมูลได้ รีพอร์ทหลาย ๆ ตัวก็ไม่มีเหมือนตัว Universal Analytics แต่ถ้าคนที่พึ่งสมัครใช้งาน Google Analytics มา สามารถสมัครทั้ง 2 ตัวและทำงานควบคู่กันไปได้ อาจได้ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมมาใช้ในการทำงานได้ แต่ถ้าถามว่าให้เปลี่ยนไปใช้ถาวรเลยดีไหม ก็คงต้องบอกว่าไว้รอเวอร์ชันเต็มที่ครบสมบูรณ์ก่อนค่อยเปลี่ยนไปใช้งานละกัน
ใครที่กำลังเริ่มต้นใช้งาน อยากสมัครและติดตั้งด้วยตัวเองสามารถทำตามวิธีข้างต้นได้เลย จะเห็นได้ว่าแต่ละขั้นตอนนั้นไม่ยากเลย และใช้เวลาสั้น ๆ เท่านั้น ก็สามารถเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์มาใช้วางแผนการตลาดของคุณต่อไปได้เลย
อ่านบทความเพิ่มเติม : G SUITE ค้นหาและจัดการไฟล์งานให้เป็นระบบ ช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด
Supattra Ammaranon x Ourgreenfish