จะเห็นได้ว่า หลังจากที่เกิดสถานการณ์ไวรัส COVID-19 เศรษฐกิจโลกได้รับการผลกระทบจากการระบาดในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งหนักที่สุดในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา และอาจส่งผลกระทบให้ประชาชนอยู่ในภาวะยากจนถึง 70-100 ล้านคน ซึ่งก่อนหน้านี้ ธนาคารโลกได้ออกมาเผยว่า COVID-19 ทำให้เกิดภาวะช็อกอย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศต่างออกมาตรการเพื่อมาเยียวยาเศรษฐกิจที่กำลังล้มอยู่ในตอนนี้
โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้ลองประเมินความเสียหายจากการเกิดสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แต่ก็ไม่สามารถประเมินค่าได้ เนื่องจากผลกระทบในครั้งนี้เกิดในวงกว้าง มีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่าสถานการณ์อื่น ๆ ที่ผ่านมา ทั้งการล็อกดาวน์ประเทศ การแพร่กระจายของไวรัสที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แถมยังมีแนวโน้มว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นก็จะมีการกลับมาระบาดได้อีกครั้ง นั่นจึงทำให้ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ในครั้งนี้ได้อย่างแม่นยำ
ในหลายประเทศ สถานการณ์ดีขึ้น เริ่มผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆ แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่เชื้อไวรัสกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง เนื่องจากอุปกรณ์ในการับมือหรือวัคซีนสำหรับป้องกันนั้นยังไม่มีความพร้อมมากพอ ทำให้มีความคิดเกี่ยวกับรูปแบบการฟื้นตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ดังนี้
นี่เป็นรูปแบบของการฟื้นตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ที่คาดไว้ว่าจะออกมาในรูปแบบนี้ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศตอนนี้สถานการณ์ก็เริ่มคลี่คลายแล้ว หันกลับมามองทีประเทศไทย KBank Private Banking ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระดับโลก Lombard Odier มองว่าสถานการณ์แบบนี้ควรจะติดตามดูว่าเศรษฐกิจโลกนั้นจะฟื้นตัวได้อย่างไร
ซึ่งมุมมองของ ดร.แซมมี่ ชาร์ Chief Economist จาก Lombard Odier ได้พูดผ่านสัมมนาออนไลน์ จาก Geneva ถึงเศรษฐกิจโลกหลังจาก COVID-19 คลายตัวลง มีด้วยกัน 4 ประเด็นหลักดังนี้
ความสามารถในการควบคุมโรคที่ดีขึ้น
หลังจากที่เกิดการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ไปแล้ว การเตรียมรับมือและความพร้อมในด้านต่าง ๆ จะมีมากขึ้น เช่น การติดตามผู้ป่วยติดเชื้อ กระบวนการรักษาที่ดีกว่าเดิม การเว้นระยะห่าง ป้องกันตัวเองด้วยหน้ากากอนามัย เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเกิดการระบาดอีกรอบอาจจะเตรียมรับมือได้ทัน เพราะว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์นี้ได้หมดแล้ว
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องใช้เวลา
แม้จะมีการสนับสนุนในการรับมือและมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการเงินและการคลังที่มีมาก และคาดว่าเศรษฐกิจโลก จะฟื้นตัวในลักษณะ Swoosh-Shaped
เศรษฐกิจในระยะยาวเติบโตช้า
ดอกเบี้ยจะต่ำลง เงินเฟ้อต่ำ หนี้สินสูง และอาจเกิดความเหลื่อมล้ำกันในสังคม เพราะไม่มีความเท่าเทียมกัน แบ่งชั้นคนจนคนรวยกันมากขึ้น
ความเสี่ยงของการคาดการณ์
หากควบคุมการระบาดรอบ 2 ได้ไม่ดี อาจจะส่งผลกระทบต่อวงกว้างมากกว่ารอบแรก มีการกีดกันทางการค้า รัฐบาลอาจต้องจัดสรรงบประมาณของประเทศให้ดีมากกว่าที่เคย
ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วขนาดนี้ ประชาชนหลาย ๆ ท่านก็ไมไ่ด้เตรียมตัวที่จะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ธนาคารก็ต้องปรับตัวเช่นกัน เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างสถานการณ์ COVID-19 และหลังสถานการณ์นี้ ธนาคารต้องเป็นตัวกลางให้ธุรกิจวางแผนและดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ในอนาคต พร้อมทั้งพัฒนา Tech Financial เพื่อให้การใช้จ่ายและจัดการด้านการเงินได้ง่ายขึ้นด้วย