เขียนบทความ แล้วไม่ประสบความสำเร็จสักที เกิดจากอะไร?
หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าการเขียนบทความนั้น มันยากขนาดนั้นเลยเหรอ เพราะมันการเขียนบทความนั้นเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ยิ่งในตอนนี้ หลายธุรกิจหันมาทำ Inbound Marketing มากขึ้น บทความก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำ Inbound Marketing เช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกบทความที่เขียนออกมาแล้ว มีผู้อ่านและผู้ติดตามเยอะ ก็ยังมีอีกหลายบทความที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ซึ่งเรามาไขข้อข้องใจกันดีกว่า ว่าทำไมเขียนบทความมาเยอะแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักที
เรื่องที่เขียนไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องที่คนอ่านสนใจ
ก่อนลงมือเขียนบทความ ควรรู้ก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของบทความนั้นต้องการอ่านอะไร ต้องการจะรู้เรื่องอะไร ถ้าหากพยายามนำเสนอแต่เรื่องที่ผู้เขียนสนใจ แต่ไม่นำเสนอเรื่องที่ผู้อ่านสนใจเลย นั่นอาจส่งผลให้บทความของคุณไม่ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการสำรวจตลาดก่อนลงมือเขียนบทความจึงมีความสำคัญอย่างมาก หรือบางทีคุณอาจเขียนเรื่องที่ผู้อ่านสนใจแต่ทำให้แตกต่างกว่าบทความอื่น ๆ แต่ยังแฝงเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ ก็อาจช่วยดึงความสนใจที่มีต่อบทความนั้นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมได้เช่นกัน
เขียนบทความ เหมือนยัดข้อมูลเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจคนอ่าน
บางบทความเป็นบทความที่ออกทางวิชาการหรือบทความที่มาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อาจมีการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป เหมือนพยายามที่จะยัดข้อมูลให้ผู้อ่านเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้สนใจว่าผู้อ่านนั้น ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อมูลเยอะอะไรขนาดนั้นหรือเปล่า ดังนั้นในบทความวิชาการของคุณ อาจมีการใส่เนื้อหาที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกผ่อนคลายจากการอ่าน หรือรู้สึกสนุกกับการอ่านไปด้วย เพราะในบางที ผู้อ่านอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญด้านนั้นจริง ๆ กดเข้ามาอ่านแล้วอาจรู้สึกว่าข้อมูลของบทความนี้ เป็นข้อมูลจากผู้รู้ไม่จริง เพื่อให้บทความดูน่าเชื่อถือและดูไม่เยอะเกินไป จึงควรใส่ข้อมูลแต่พอดี ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกรำคาญใจที่จะอ่าน
ไม่มีการอัปเดตบทความใหม่ ไม่มีความสม่ำเสมอ
ผู้อ่านหลายต่อหลายท่านมักจะเป็นแฟนตัวยงสำหรับเว็บไซต์ที่มีการอัปเดตบทความใหม่ ๆ ตลอดเวลา ยิ่งถ้าเว็บไซต์ไหนมีการอัปเดตบทความทุกวัน ก็มักจะได้ผู้อ่านที่ติดตามบทความบนเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณขาดความสม่ำเสมอในการนำเสนอบทความ เช่น เดือนนึงมีการอัปเดต 1 บทความ ขาดความสม่ำเสมอในการเขียนบทความ ไม่มีบทความใหม่ที่เกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นเลย ผู้ที่ติดตามไม่ได้รับข่าวสารใหม่ ๆ ตรงส่วนนี้ อาจทำให้ผู้ที่เคยติดตามบทความ เลิกติดตามไปเลยก็ได้ แต่ถ้าหากว่าสม่ำเสมอมากเกินไปก็อาจสร้างความรำคาญให้กับผู้อ่านได้เหมือนกัน
ไม่ทำความเข้าใจคนอ่านให้ถ่องแท้
บางบทความมีการเขียนออกมาโดยไม่ทำความเข้าใจผู้อ่านที่กำลังติดตามอยู่ว่าพฤติกรรมในการอ่านนั้นเป็นอย่างไร ไม่ได้รู้ว่าผู้อ่านสนใจเรื่องใดบ้างในตอนนี้ ทำให้บทความที่ออกมาในแต่ละครั้งถูกมองข้ามไป ดังนั้น ก่อนที่จะลงมือเขียนบทความควรทำความเข้าใจผู้อ่านให้ดีก่อน ทั้งพฤติกรรมการอ่าน เรื่องที่พวกเขาเหล่านั้นอยากอ่าน รวมไปถึงช่วงเวลาที่มีผู้อ่านเข้ามาอ่านเยอะที่สุด ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้บทความของคุณประสบความสำเร็จได้ เพราะถ้าหากเขียนบทความมาแล้วโพสต์ในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้พบเห็นหรือไม่มีคนเข้ามาอ่านเลย ก็จะทำให้บทความนั้นอาจไม่ได้รับความสนใจและถูกปัดตกไปในท้ายที่สุด
มองข้ามความสำคัญของการซื้อโฆษณา
รู้หรือไม่ว่า ช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นอีกช่องทางที่เหมาะสำหรับการโปรโมทบทความที่คุณเขียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบทความที่โพสต์ลงบนเพจเฟซบุ๊ก สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมาก ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่เฟซบุ๊กก็จำกัดการเข้าถึงผู้ใช้งานไม่ได้เยอะเท่าไหร่ ก็ยังทำให้ผู้ใช้งานหลายท่านพลาดบทความเหล่านั้นไปได้ การซื้อโฆษณาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการโปรโมทบทความผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งบางที คุณอาจใช้งบประมาณเพียงไม่กี่ร้อย แต่กลับได้ผู้ใช้งานที่เข้ามาอ่านบทความได้มากถึงพันคน แต่ความสามารถของการซื้อโฆษณาไม่ได้มีเท่านั้น แต่ยังสามารถเจาะกลุ่มผู้ใช้งานเชิงลึกได้มากกว่าเดิม โดยคุณสามารถกำหนด Target ของผู้ที่ต้องการให้มาอ่านบทความได้ทั้งเพศ อายุ พฤติกรรมการอ่านต่าง ๆ ทำให้บทความสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้ดีกว่าเดิม
ลองเช็กตามข้อต่าง ๆ เหล่านี้ดูกันว่า บทความของคุณที่ยังไม่ประสบความสำเร็จนั้น มีสาเหตุมาจากข้อต่าง ๆ ด้านบนบ้างหรือไม่ ลองปรับและแก้ไขบทความของคุณดู เผื่อว่าในวันข้างหน้า บทความของคุณจะเป็นท็อปบทความที่มีคนอ่านเยอะมากที่สุดก็เป็นได้
Supattra Ammaranon x Ourgreenfish