Digital Blog - Ourgreenfish

Community มีความสำคัญกับ Startup ช่วงเริ่มต้นอย่างไร

เขียนโดย เจษฎา ตะต้องใจ - 21 มิ.ย. 2021, 4:15:00

ธุรกิจ Startup จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยกลยุทธ์แบบ Community Marketing Strategy มีความจำเป็นอย่างมากต่อการสร้างชุมชนของกลุ่มคนที่มีโอกาสจะมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต เช่น ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีโอกาสขึ้นไปเปิดตัวธุรกิจบนเวทีใหญ่ท่ามกลางสื่อมวลชนเพื่อนำเสนอไอเดียหรือแผนธุรกิจ การใช้ Webinar มาเป็นช่องทางในการสื่อสารของธุรกิจสามารถดึงกลุ่มคนที่สนใจและนักลงทุนเข้ามาฟังได้ นี่คือหนึ่งในวิธีการที่จะทำให้เรามี Community ที่แข็งแกร่ง


Community Marketing Strategy คืออะไร

Community Marketing Strategy คือกลยุทธ์การตลาดสำหรับสร้างชุมชนของกลุ่มคนที่สนใจแผนธุรกิจของเรา ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญของการขายและการสรรหาผู้ซื้อ โดยเป็นวิธีการที่ทำให้เราได้เผชิญหน้ากับแฟนตัวยงของเรา ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคค่อนข้างมีพลังมากกว่าเมื่อก่อน เพราะทุกคนล้วนมีสมาร์ทโฟนทำให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่พวกเขาสนใจได้ทันที และผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์และสามารถวิจารณ์เรื่องต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย การสร้างชุมชน หรือ Community บนโซเชียลมีเดียส่งผลดีต่อลูกค้าที่จะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้การสร้างชุมชนของแบรนด์จึงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาด ขับเคลื่อนด้วยการสนทนาแบบ Two-Way Communication ที่จะทำให้เราสร้างความโปร่งใสหรือสร้างความเชื่อมั่นจากการสนทนาในชุมชนออนไลน์

วิธีสร้างธุรกิจให้เติบโตโดยใช้กลยุทธ์แบบ Community Marketing Strategy จะแตกต่างจากการโฆษณาแบบดั้งเดิมที่เน้นไปที่การหาลูกค้าใหม่เพียงอย่างเดียว กลยุทธ์การตลาดแบบ Community Marketing Strategy เป็นมากกว่าการเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับผู้คนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการสนทนาและแรงจูงใจในการทำให้ลูกค้าหรือผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของเรารู้สึกคุ้นเคยและรู้จักธุรกิจมากขึ้น ผู้คนมักจะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตนเองเชื่อมั่น ส่งผลให้แบรนด์ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่แข็งแกร่ง

 

 

ประโยชน์ของการใช้กลยุทธ์ Community Marketing Strategy

หากเรายังไม่มั่นใจว่าการตลาดแบบเน้นสร้างชุมชน หรือ Community จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของเราหรือไม่ ต่อไปนี้จะพาไปเห็นข้อดีบางส่วนจากการใช้แนวทางการตลาดแบบ Community Marketing Strategy

 

ลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแบบ Inbound Marketing หลายคนได้บอกว่าการโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่ายจะหายไปแล้ว แต่บริษัทต่าง ๆ ก็ยังเพิ่มงบประมาณไปกับการลงทุนใน Paid Search และ Social Media ถึง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี การมุ่งเน้นโฆษณาแบบต้องเสียค่าใช้จ่ายคือความท้าทายอย่างหนึ่งเมื่อเราต้องทำกำไรให้ได้มากกว่างบประมาณที่ลงทุนไป เราอยู่ในยุคที่ผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจกับแบนเนอร์ ซึ่งลูกค้าเริ่มเบื่อหน่ายกับการเห็นโฆษณาที่มักจะเข้ามาแสดงให้เห็นทั้ง ๆ ที่ยังไม่สนใจถึงขั้นตัดสินใจซื้อ การทำ Remarketing คือหนึ่งในวิธีการย้ำเตือนความจำลูกค้า แต่อย่างไรก็ตามยังคงเป็นวิธีที่นักการตลาดพยายามใช้การคาดการณ์ว่าโฆษณาแบบ Remarketing จะทำให้ผู้คนเกิดความอยากซื้อ เรื่องนี้อาจทำให้เกิดความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเงินที่ลงทุนไปกับผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าเกิดขึ้น สำหรับ Startup การมุ่งเน้นกับวิธีการที่ต้องใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่องในช่วงเริ่มแรกนั้นอาจจะสร้างความกังวลต่อผลลัพธ์ที่ไม่เป็นดั่งใจ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม Community Marketing Strategy ถึงมีความสำคัญกับสร้างฐานลูกค้าในช่วงเริ่มต้น 

 

ผู้คนมีแรงจูงใจจากอารมณ์

ซึ่งทำให้มีแนวโน้มมากที่ลูกค้าจะตอบสนองต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือชุมชนมากกว่าโฆษณาแบบ Paid Media

 

การสร้างกลุ่มสมาชิกที่มีส่วนร่วมต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างสูง และยังเปิดโอกาสให้ธุรกิจใช้ประโยชน์จากความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เมื่อชุมชนเริ่มแข็งแกร่งขึ้นแล้วความเชื่อมั่นของสมาชิกในชุมชนจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก และในยุคที่ผู้คนเชื่อมต่อกันง่ายขึ้นการตลาดแบบเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนสามารถสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะยิ่งมีการบอกต่อก็จะยิ่งทำให้ฐานลูกค้าเติบโตขึ้น

 

รักษาฐานลูกค้าผ่านการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง

Facebook คือหนึ่งในแพลตฟอร์มที่พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่าการสร้างสังคมขึ้นมาสำหรับธุรกิจมีความสำคัญมากแค่ไหนในยุคดิจิทัล เมื่อผู้บริโภคมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อมากขึ้นทำให้การรักษาลูกค้าไว้เป็นเรื่องที่ยากขึ้นเช่นกัน เราจำเป็นต้องสร้างความเชื่อใจในชุมชน เช่น Facebook Group, Line Group หรือ Telegram ที่ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการ โดยธรรมชาติแล้วการตัดสินใจซื้อจะมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ใช่เป็นเพราะสินค้าหรือบริการเสมอไปที่ทำให้ชุมชนเติบโต ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ iPhone ส่วนใหญ่ไม่เคยพิจารณาซื้ออุปกรณ์ของ Android พวกเขาภักดีต่อแบรนด์ ไม่ใช่เพราะ iPhone ดีกว่า แต่เพราะตัวแบรนด์เองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของพวกเขา เพราะ iPhone ได้กลายเป็น Community ไปแล้ว

เมื่อเราใช้ Community Marketing Strategy เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสังคมที่แข็งแกร่งให้กับลูกค้าของเรา พวกเขาไม่เพียงแค่ภักดีต่อแบรนด์เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเหมือนกัน หรือเป็นสมาชิกของแบรนด์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวคิดแบบ Community Marketing Strategy ใช้ผลลัพธ์ทางจิตวิทยาของความสัมพันธ์ร่วมกัน ซึ่งแบรนด์ต่าง ๆ ให้อำนาจลูกค้าด้วยการเปิดโอกาสให้สนทนาแบบ Two-Way Communication ด้วยการผสมผสานระหว่างการตลาดแบบเครือข่ายและการขายสินค้าแบบตรง ๆ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้นและเพิ่มอัตราการรักษาลูกค้าได้อย่างมากจากสังคมที่เชื่อมั่นในธุรกิจ

 

 

แนวคิดแบบ Community Marketing Strategy ใช้ผลลัพธ์ทางจิตวิทยาของความสัมพันธ์ร่วมกัน เพื่อสร้างฐานลูกค้า

 

ขับเคลื่อนชุมชนด้วยการรับฟังลูกค้าและใช้พลังของ Word of Mouth  

ยิ่งลูกค้าของเราชอบบอกต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการได้มากเท่าไร การรักษาพวกเขาไว้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับแบรนด์ก็จะยิ่งง่ายขึ้น ผลจากการสร้างชุมชนของแบรนด์ เราไม่จำเป็นต้องดำเนินแผนการที่ใช้งบประมาณสูงไปกับการเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์อีกต่อไป และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อทำวิจัยเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของลูกค้าและคาดหวังว่าให้ผู้คนมาเขียนรีวิวเรื่องที่เป็นประโยชน์และเป็นบวกกับแบรนด์ หรือต้องเสียเวลาทำแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า เพราะชุมชนออนไลน์ทำให้กลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มที่สนใจมีพื้นที่ในการเชื่อมต่อกับแบรนด์โดยตรง 

แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยการโฆษณาเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้รับแรงผลักดันโดยตรงจากผลตอบรับและการมีส่วนร่วมของลูกค้า เมื่อเราสามารถส่งเสริมชุมชนจากการเปิดโอกาสให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นหรือคำติชมในกลุ่มโซเชียลมีเดีย พวกเขาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมการตลาด ในขณะเดียวกันทีมวิจัยและทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเรายังสามารถใช้ชุมชนของแบรนด์เป็นแหล่งรวมความรู้หรือปัญหารอบด้าน หรือในยามฉุกเฉินทีมสนับสนุน (Support Team) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั่วไปได้เร็วมากขึ้น เช่น แก้ปัญหาการเข้าใจผิดของคนในชุมชนด้วยการให้คำแนะนำหรือให้ข่าวสารที่ถูกต้องกับคนในชุมชนของแบรนด์ในเวลาอันสั้น

 

 

4 กลยุทธ์สำหรับสร้าง Community

เมื่อเราเข้าใจการทำการตลาดด้วยชุมชนของแบรนด์ เราจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสมกับชุมชนด้วย อย่าเร่งรีบจนเกินไปกับการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และอย่าละเลยชุมชนของเราเมื่อผู้บริโภคเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แนะนำ 4 กลยุทธ์เพื่อช่วยคุณในการเริ่มต้นสร้าง Community ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ดึงดูดการเข้าร่วมด้วยการสร้างชุมชนที่มีคุณค่า

ผู้คนจะเข้าร่วมชุมชนออนไลน์เพราะพวกเขามีความรักในผลิตภัณฑ์ บริการ หรือมีความคิดที่เหมือนกัน พวกเขาอยู่ในชุมชนของเราเพราะต้องการเชื่อมต่อกับคนอื่นเพื่อแบ่งปันข้อมูล ค้นคว้า และเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ ไม่มีใครเข้าร่วมชุมชนเพราะการเสนอขายจากเราเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะพวกเขาเจอกับชุมชนที่ทำให้พวกเขาไม่เหงาหรือรู้สึกว่ายังมีคนอีกหลายคนที่สนใจในสินค้าเดียวกัน จงใช้ชุมชนของเราเป็นพื้นที่เพื่อสร้างส่วนร่วมในการสนทนาและทำความรู้จักกับผู้คนที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างการสร้างชุมชนกับการสร้างเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว คือความอบอุ่นที่เราได้เห็นแฟนคลับมารวมตัวกัน

 

สร้างการมีส่วนร่วมอย่างมืออาชีพ

เมื่อเราคิดจะสร้างชุมชนของธุรกิจ โปรดจำไว้ว่าเราต้องแสดงให้คนในชุมชนเห็นว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจของเรา เช่น ถ้าเป็นผู้ให้บริการด้าน MarTech เราต้องแสดงให้คนในชุมชนเห็นว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยเหลือ และเป็นที่ปรึกษาคนในชุมชนของเราได้ ในทุกครั้งที่เราได้ตอบคำถามของคนในชุมชนผู้คนจะเริ่มให้คุณค่ากับชุมชนมากขึ้น เพื่อให้ผู้คนมองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญ การเผยแพร่บทความด้านการศึกษา และการให้คำแนะนำ หรือวิธีใช้ผลิตภัณฑ์สามารถช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้อีกด้วย

 

สร้างแฟนตัวยง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า Word of Mouth เป็นสิ่งที่ทรงพลังที่สุด เพราะผู้คนไว้วางใจจากการแนะนำของเพื่อน ครอบครัว และคนสนิท เราสามารถใช้พลังของการบอกต่อ หรือ Word of Mouth เป็นประโยชน์ให้กับเราได้โดยการค้นหาผู้มีอิทธิพลในชุมชนของเรา และเลือกที่จะมีส่วนร่วมกับพวกเขาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในรูปแบบของจัดโปรโมชันหรือส่วนลดเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจและอยากแนะนำผลิตภัณฑ์ให้คนรอบข้าง วิธีนี้จะช่วยให้ธุรกิจเราเติบโตแบบ Organic

 

รักษาความสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

การพูดคุยกับคนในชุมชนของตัวเองอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นการแชร์บทความหรือความรู้ คืออีกหนึ่งเรื่องที่เราต้องขยันทำ อย่าปล่อยในลูกค้าคุยกันเองเกี่ยวกับปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์ เราต้องแทรกเข้าไปคุยบ้างเพื่อสร้างความสัมพันธ์ การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลให้ชุมชนของเราเติบโตขึ้นและผู้คนจะให้ความไว้วางใจกับเรามากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่สร้างแพลตฟอร์มบน Blockchain ด้วยการออก Token เป็นของตัวเอง ถือว่าเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ต้องอาศัยความเชื่อใจในช่วงเริ่มต้น การสร้างชุมชน Telegram หรือ Line ขึ้นมาเป็นของตัวเอง แล้วเข้าไปแชร์วิสัยทัศน์หรืออัปเดตแผนการของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้รักษาฐานผู้ใช้เอาไว้ได้

 

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะได้รับการสนับสนุนจากแฟนตัวยง

 

การสร้างสังคมหรือชุมชนขึ้นมาเฉพาะเจาะจงสำหรับธุรกิจของตัวเอง คือหนึ่งในวิธีการเชื่อมต่อกับลูกค้าด้วยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง เพราะการที่คนหนึ่งคนอยากเข้าร่วมกับชุมชนออนไลน์ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง บุคคลนั้นจะต้องมีความสนใจเฉพาะด้านอยู่แล้ว หรือเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายของเรา หมายความว่าคนที่เข้าร่วมชุมชนนั้นคือคนที่มีศักยภาพที่จะเป็นลูกค้าในอนาคต สำหรับกลุ่ม Startup หรือกลุ่มธุรกิจที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ที่ไม่อยากใช้งบประมาณหมดไปกับการซื้อมีเดียโฆษณาที่ยังคาดการณ์ผลลัพลัพธ์ไม่ได้ จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วยการสร้างชุมชนออนไลน์ขึ้นมาเพื่อรวมกลุ่มเป้าหมายที่สนับสนุนธุรกิจของเราให้เติบโตในช่วงเริ่มตนและในระยะยาว

บทความการทำการตลาดสำหรับ Startup

เผยไอเดียในการทำ CRM ด้วย MARTECH 

กลยุทธ์หลักของ MARTECH คือการให้ความสำคัญกับ DATA 

การเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของธุรกิจ STARTUP 

กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่สำหรับ TECH STARTUP