หลายคนคิดว่าคนที่มี Digital Mindset คือคนที่ชอบใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่สเปกแรง รุ่นใหม่ทันสมัย และราคาแพง แต่จริง ๆ แล้ว Digital Mindset หมายถึงทัศนคติของคนที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่แวดล้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างสุดขีด ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ที่ดูทันสมัยราคาแพงแต่อย่างใด เรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ผ่านมุมมองต่าง ๆ ว่า Digital Mindset แท้จริงแล้วเป็นทัศนคติแบบไหน และสัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอย่างไร
โดยการปรับตัว หรือ Transform จะแบ่งออกเป็น 3 ด้านของชีวิต ดังนี้
ส่วนใหญ่มนุษย์จะรู้จักปรับตัวด้วยตัวเองอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องมีใครมาออกคำสั่งให้ต้องปรับตัว โดยเฉพาะความต้องการด้านความสะดวกสบายและความอยู่รอดที่สังเกตได้จากสมาร์ทโฟนของแต่ละคนที่จะดาวน์โหลดเฉพาะแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตนเองเท่านั้น ในปี 2020 เราจะเห็นได้ชัดขึ้น ว่าไม่ใช่แค่กลุ่มวัยรุ่นหรือวัยกลางคนเท่านั้นที่ต้องปรับตัวตามเทรนด์เทคโนโลยี แต่กลุ่มคนวัยเกษียณก็หันมาใช้สมาร์ทโฟนแล้วเหมือนกัน
คือด้านที่สำคัญต่อความก้าวหน้าในอาชีพเป็นอย่างมาก เพราะแนวโน้มความต้องการแรงงานในอนาคต มีความต้องการคนที่มีทักษะด้าน Digital Skill มากขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านี้บางทีสถาบันการศึกษาไม่ได้สอน ดังนั้น นักศึกษาที่อยากมีโพร์ไฟล์โดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในตลาดเดียวกัน ไม่ใช่เพียงแต่จะมีเกรดเฉลี่ยสวย ๆ ไว้โชว์เท่านั้น แต่เราจะต้องเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง ด้วยการศึกษาเรียนรู้ทักษะใหม่ที่ตลาดแรงงานกำลังต้องการด้วย จากประสบการณ์ของผม ถ้าคุณเตรียมตัวดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
ยกตัวอย่าง
ในหลักสูตรบริหารธุรกิจที่สอนเรื่อง Principle of Marketing หรือพื้นฐานการตลาด ในวิชานั้นจะสอนเพียงทฤษฎี และหลักการ ที่ฝึกการวิเคาระห์เป็นหลัก จนทำให้เราได้ซึมซับเอาวิธีคิดเข้ามา แต่เมื่อเวลาผ่านไปโลกเข้าสู่ยุคของสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม วิธีการทำการตลาดได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงทำให้เกิดอาชีพใหม่ ๆ และตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขึ้นมา รวมถึงลักษณะการทำงาน หรือ Job Description ก็เปลี่ยนตามเทรนด์ของเทคโนโลยีไปด้วย ใครที่รู้จักปรับตัวและหมั่นเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มีโอกาสสูงที่จะมีเส้นทางอาชีพที่ก้าวหน้า และที่สำคัญคือองค์กรต่าง ๆ อยากเรียกไปสัมภาษณ์งาน
ทุกวันนี้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ เช่น การทำงานในสายงานดิจิทัล ส่วนใหญ่ทุกขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ แทบจะไม่ได้ใช้กระดาษ A4 ของบริษัทแม้แต่แผ่นเดียว ส่วนมากพนักงานจะใช้เพียงสมุดโน้ตเอาไว้จดบันทึกส่วนตัวเท่านั้น เพราะองค์กรยุคใหม่จะใช้ระบบการทำงานแบบ Cloud Storage เช่น Google Drive เป็นเครื่องมือที่ใช้ส่งงาน รีวิวงาน และแก้ไขงาน เป็นต้น ซึ่งงานทั้งหมดจะส่งเป็น E-Document เป็นหลัก ซึ่งลดขั้นตอนการทำงานได้เยอะ และลดการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลือง เพราะองค์กรอยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนแทบจะทุก ๆ กระบวนการทำงาน จึงทำให้การทำงานที่บ้าน หรือ Work from home เป็นเรื่องที่ไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนานมาก พนักงานคนไหนที่เข้ามาทำงานกับองค์ที่ใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานจะต้องปรับตัวให้ได้และใช้เครื่องมือให้เป็น
ถ้าพูดถึงระบบ Cloud Storage สังเกตเห็นได้ว่ามีบางลักษณะการทำงานที่จำเป็นต้องปรับตัวไปใช้ระบบการทำงานบน Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัว ยกตัวอย่างเช่น การส่งรายงานของนักศึกษา เช่น การส่งรายงานในสมัยเรียนที่ต้องสั่งพิมพ์รายงานเล่มหนา ๆ ไปส่ง ถ้าอาจารย์เปลี่ยนมาใช้ระบบแบบ Cloud ในการรับส่งงาน หรือตรวจงาน อาจจะเป็นวิธีที่ลดค่าใช้จ่ายในการสั่งพิมพ์งาน และยังลดปริมาณการใช้กระดาษหลาย ๆ แผ่น เช่น เมื่อนักศึกษาต้องแก้งานบ่อยก็ต้องสั่งพิมพ์งานหลายรอบ เป็นต้น การใช้ระบบ Cloud Storage ยังส่งผลดีต่ออาจารย์ด้วยที่ไม่ต้องแบกรายงานหลาย ๆ เล่มของนักศึกษาไปตรวจที่บ้าน
"ชนชั้นการศึกษาได้ล่มสลายไปแล้ว เพราะยุคนี้คุณค่าของคนอยู่ที่การรู้จักปรับตัวกับ Digital Trend"
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือนิติบุคคล ล้วนต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ของเทคโนโลยีเสมอ หมดยุคที่เราต้องให้คุณค่ากันที่ระดับวุฒิการศึกษาแล้ว แต่เราให้ความสำคัญกับการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ Digital Trend ในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้มีทักษะตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
อ่านบทความที่จะสอนให้คุณพัฒนาตนได้ถูกทาง ดังนี้
5 ระดับ ภาวะผู้นำ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้
6 ทักษะขั้นพื้นฐาน สำหรับพนักงานออฟฟิศ
เทคนิคประเมิน SKILLS ตนเองให้เหมาะสมกับอาชีพ