การสร้างองค์กรแบบ Data Culture จะต้องเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานการคิดแบบ Digital Mindset ผสมผสานกับ Big Data เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการสร้างบุคลากรให้กลายเป็นคนที่มี Future Skill และหนึ่งใน Future Skill ที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจสมัยนี้คือการมีทักษะพื้นฐานเรื่อง Big Data เพราะการตัดสินใจทางธุรกิจในยุคนี้มักจะใช้ Data มาช่วยสนับสนุนน้ำหนักหรือทิศทางในการตัดสินใจเสมอ ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานฝ่ายปฏิบัติการหรือเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรล้วนจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์เชิงตัวเลขมาขับเคลื่อนกลยุทธ์และตรวจสอบศักยภาพของธุรกิจ ถ้าองค์กรของเรากำลังปรับตัวเข้าสู่วิถีการทำงานแบบดิจิทัลแบบเต็มตัว และวันนี้เราจะพาคุณให้รู้จักกับพื้นฐานของ Big Data เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการทำ Data Analytics
ในยุคที่ต้องใช้ข้อมูลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจด้านการบริหารธุรกิจ การปรับปรุงวิธีการทำงานและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษาะในการคิดเชิงข้อมูล คืออีกหนึ่งวิธีการในการปรับตัวเข้ากับยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ถ้าจะเริ่มสร้าง Data Culture ต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้
การเรียนรู้และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึกและสร้างกระบวนการทำงานให้คิดกันเป็นทีมนั้นจะนำเราไปสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ รู้จักการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบกลยุทธ์ และนำการทดสอบมาปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สร้างข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่ากับธุรกิจจากแหล่งที่มาต่าง ๆ ผ่านซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูลอย่าง HubSpot CRM ถึงเวลาที่จะรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างกลยุทธ์และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นนำมาใช้งานได้จริง
สร้างศูนย์กลางของข้อมูลขนาดใหญ่ สร้างแดชบอร์ดที่เป็นประโยชน์สำหรับการการวิเคราะห์และการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนการคิดต่าง ๆ วิธีนี้จะทำให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ที่พวกเขาต้องการ เช่น เลือกซอฟต์แวร์ที่เป็นศูนย์กลางของข้อมูล (Data Hub) ให้ User หรือคนในองค์กรเข้ามาบริหารจัดการได้
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการตัดสินใจ การลดข้อผิดพลาด และปรับปรุงสินค้าหรือบริการที่ออกสู่ตลาด การมีทักษะและเครื่องมือที่สามารถช่วยคัดกรองข้อมูลที่มีคุณค่าออกมา จะช่วยให้เราค้นหา Solution ที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความท้าทายในการทำธุรกิจ
การบริหารด้วยข้อมูลนั้น มักจะมีแบบแผนที่ชัดเจนเสมอ เริ่มตั้งแต่การหาวิธีการรวบรวมหรือเก็บข้อมูล และต้องมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วย และขั้นตอนที่สำคัญคือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางใหม่ ๆ สุดท้ายจึงทำการกลั่นกรองข้อมูลที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อการใช้งานจริงออกมา
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น การ Tracking ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือจากโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเข้ามาเพื่อได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อธุรกิจ ขั้นตอนนี้แต่ละธุรกิจจะต้องหาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด เช่น การใช้ HubSpot CRM ที่สามารถดึงข้อมูลจากหลายที่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์พร้อมกับคัดกรองกลุ่มข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย
การจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองมาแล้วจะต้องมีพื้นที่ที่จัดเก็บที่ตอบโจทย์การนำข้อมูลมาใช้ เช่น CRM Software ที่มีฟังก์ชัน Contact Property ที่สามารถ Filter และจัดหมวดหมู่ของข้อมูล และยังทำให้คนในทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญร่วมกันได้ด้วย
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา Solutions ใหม่ คือขั้นตอนที่สำคัญต่อการตัดสินใจในการสร้างกลยุทธ์ แผนธุรกิจ หรือปรับปรุงการทำงาน เช่น เราสามารถรู้ได้ว่าพนักงานขายคนไหนมีลูกค้าที่ต้องดูแลกี่คน ปิดการขายได้เฉลี่ยเดือนละกี่คน เป็นต้น
การนำเสนอหรือปรับใช้ข้อมูลที่เหมาะสม คือขั้นตอนนที่ทีมงานหรือฝ่ายบริหารจัดการข้อมูลจะต้องสรุปข้อมูล หรือย่อยข้อมูลที่สำคัญที่สุดมาประยุกต์ใช้กับเป้าหมายของธุรกิจ เช่น เมื่อเราพบว่าสินค้าได้รับความนิยมในกลุ่มผู้หญิงอายุ 25-30 ปี เราสามารถข้อมูลที่น่าสนใจนี้มาทำแผนเสนอกับคนในทีมหรือฝ่ายผู้บริหารเพื่อที่เราจะได้ทำการส่งเสริมการขายกับคนกลุ่มนั้นได้เจาะจงมากขึ้น
เพื่อให้ทีมงานมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความชัดเจนในแต่ละขั้นตอน คุณสามารถเริ่มต้นใช้ 4 กระบวนการทำงานนี้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของธุรกิจคุณ
ธุรกิจยุคใหม่ต้องเข้าใจลักษณะของ Big Data ทั้ง 5Vs + 1C ในยุค Digital Transformation ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของ Data เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับธุรกิจที่สนใจอยากปรับปรุงวิธีการทำงานด้วยการนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจเชิงธุรกิจมากขึ้น จะต้องมีทักษาะในการเข้าใจพื้นฐานของข้อมูลก่อน โดยพื้นฐานของข้อมูลหรือ Big Data ประกอบไปด้วยลักษณะข้อมูลแบบ 5Vs และ 1C
ข้อมูลมีปริมาณมาก ในหนึ่งวันหรือหนึ่งเดือนเราสามารถต้องข้อมูลเข้ามาเป็นจำนวนมากแบบ Real Time เช่นข้อมูลผู้เข้าชมบทความบนเว็บไซต์ หรือข้อมูลคำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นต่อวัน ล้วนเป็นข้อมูลจำนวนมากที่เราต้องเข้าไปหาว่าข้อมูลส่วนไหนที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจของเรา
ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น คำค้นหาที่ผู้คนกำลังสนใจ เทรนด์ความสนใจ อันดับของสินค้าหรือบริการที่ขายดีที่สุด ยอดผู้ชมบนเว็บไซต์ สถิติการเปิดใช้บัญชีของแต่ละแพลตฟอร์ม ล้วนเป็นข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ทุกวินาที
ข้อมูลมีความหลากหลาย ถ้ามองในเชิงการตลาดเราต้องหากลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในข้อมูลที่กระจัดกระจาย และนำกลุ่มเป้าหมายมาทำ Segmentation เพื่อหากลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าในอนาคต
มีข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบคือธรรมชาติของข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และจำแนกหมวดหมู่ ซึ่งในปัจจุบันการจัดระเบียบข้อมูลสามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือ Software ที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการข้อมูลโดยเฉพาะ
มีข้อมูลที่มีศักยภาพและที่ไม่เป็นประโยชน์ คือข้อมูลสองส่วนที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลมาสักระยะ เช่น จากคนที่แอดไลน์มาทั้งหมด 1,000 คน เราสามารถการใช้ Workflow Automation ช่วยทำ Segmentation เพื่อแบ่งกลุ่มคนที่สนใจซื้อกับกลุ่มคนที่แอดไลน์มาเฉย ๆ แต่ไม่ได้สนใจซื้อจริง ๆ หรือจากข้อมูลของคนที่กรอกแบบฟอร์มมาทั้งหมดมีใครบ้างที่สนใจสินค้าหรือบริการจริง ๆ
ข้อมูลมีความซับซ้อนสูง เช่น ข้อมูลของแต่ละ Contact ที่อยู่ในระบบเก็บข้อมูล CRM ย่อมมีความแต่งต่างกัน ในเชิงการตลาดเราเรียกว่า Personalized ที่เกิดจากความชอบ ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนสูง
ถ้าเราต้องการนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าใจพื้นฐานของข้อมูลคือจุดเริ่มต้นของการเป็น Data Analytics ที่ดี ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้แต่ละธุรกิจบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและเป็นระบบ คุณสามารถดูแนวทางการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่าง HubSpot CRM มาจัดการข้อมูลของธุรกิจได้ที่ https://ourgreenfish.com/hubspot-crm-solutions/
แหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก: หนังสือ Data-Driven Marketing การตลาดแบบฉลาดใช้ดาต้า และหนังสือเปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล Step by Step Digital Transformation In Action
CUSTOMER DATA PLATFORM มีความสำคัญต่อการจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างไร
BIG DATA คืออะไร นำมาประยุกต์ใช้กับ DIGITAL MARKETING ได้หรือไม่