Digital Transformation แม้จะไม่ได้มีวิธีการที่ถูกหรือผิดในการดำเนินงาน แต่หากมีเทคนิคเข้ามาช่วยเสริมก็จะสามารถช่วยให้การดำเนินงานนั้นประสบความสำเร็จได้
นับวันพฤติกรรมของผู้บริโภคก็จะยิ่งมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป สมาร์ทโฟน สื่อโซเซี่ยล และเทรนด์เทคโนโลยีแบบเรียลไทม์ คือส่วนสำคัญที่เปลี่ยนแนวทางการรับข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค และเมื่อผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง องค์กรธุรกิจก็ควรมีการพัฒนาเพื่อให้อยู่รอดเช่นกัน
ดังนั้นการจะให้ประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าผ่านทาง digital transformation จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ และนี่คือ 8 เทคนิคที่นักการตลาดควรพิจาณา เมื่อตัดสินใจจะสร้าง ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น เป็นของตัวเอง
4 ปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการทำ BUSINESS TRANSFORMATION SUCCESS นั้นมีอะไรบ้าง
แค่เพราะว่าองค์กรต้องทำตามแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าทางนั้นคือทางที่ถูกต้อง นักการตลาดควรหมั่นตั้งคำถามกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่เสมอ ควรมีการคาดการณ์และมองหาโอกาสเพื่อสร้างประสบการณ์ สินค้าและการดำเนินงานที่ดีกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า
ในชีวิตเราความล้มเหลวถูกมักถูกมองในแง่ลบอยู่เสมอๆ อย่างไรก็ตาม เราขอเถียงว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป ความล้มเหลวก็คือเหมือนโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์นั้นคือเหตุผลว่าทำไม่จึงเรียกสิ่งใหม่ๆว่า นวัตกรรม
เทคโนโลยีถือเป็นส่วนสำคัญของการทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น และในด้านของการใช้นวัตกรรม แต่นั้นหมายถึงเราต้องรู้ว่าวัตถุประสงค์ที่ใช้คืออะไร เหมือนกับคำกล่าวที่ว่า “ไอเดียเริ่มได้กับทุกอย่าง แต่สิ่งทีขับเคลื่อนทุกอย่างคือวัตถุประสงค์”
ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น สตีฟ จ็อบส์ ไม่ใช่คนสร้างเม้าส์หรือ mp3 แต่เขาพัฒนามันให้คนใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด
เพื่อช่วยให้ได้ข้อมูลในมุมมองที่แตกต่าง นักการตลาดควรถามตัวเองว่า อะไรบ้างที่เราทำให้แตกต่างได้ และอะไรที่ลูกค้าจะทำ “การเชื่อมความคิดเข้ากับลูกค้า จะทำให้เราเห็นโลกในมุมมองที่แตกต่างออกไป”
ประโยคนี้มาเหมาะกับคนที่ต้องการทำบางอย่างให้ดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ และนักการตลาดไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งสูงๆเป็นถึงผู้บริหารนำหน้าชื่อ ในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในองค์กร เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งมาจากคนข้างบนเสมอไป
ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น สามารถกลายเป็นเรื่องยากได้สำหรับองค์กรที่สร้างมาจากรากฐานเก่า คำแนะนำก็คือนักการตลาดควรลองคิดในมุมขององค์กรที่เป็นแบบ start-up การทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น คือการเปลี่ยนแปลงระบบการดำเนินงานใหม่ให้กลายเป็นแบบดิจิตอล
Innovation ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถมีทักษะนี้ได้ตามธรรมชาติ และนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โต “Innovative ไม่ใช่อะไรที่คุณจำเป็นต้องเกิดมาพร้อมทักษะด้านนี้ คุณสามารถเรียนรู้มันได้ เหมือนกับการพัฒนาทักษะที่สามารถเรียนรู้เพื่อให้เก่งขึ้นได้”
สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter
Cr. dmnews.com, labelsandlabeling.com, accenture.com, beyondplm.com, cdn.lynda.com, anamasterscircle.com