Digital Blog - Ourgreenfish

บทบาทของ AI ต่อปัจจัยด้านอาหารและการเกษตรเป็นอย่างไร

เขียนโดย OURGREENFISH TEAM - 16 พ.ค. 2019, 3:00:00

การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอาหารเป็นปัจจัยสำคัญ มีการนำเทคโนโลยีด้านอาหาร (Food Technology) หรือ Food Tech เข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในภาคอุตสาหกรรมอาหารมากยิ่งขึ้น


เริ่มจากต้นน้ำ (ภาคการเกษตร) กลางน้ำ (ภาคการผลิตแปรรูป) ปลายน้ำ (ผลิตภัณฑ์อาหารส่งถึงมือผู้บริโภค)

1. ภาคการเกษตร (Agriculture)

  • การใช้ AI เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถจัดการระบบการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) การรวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่นสภาพดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิรวมถึงตัวแปรต่างๆจนไปถึง How to ของเกษตรรุ่นก่อนๆที่ชำนาญโดยใช้ Eye Camera เก็บภาพ เคลื่อนไหวขณะทำการเกษตร เพื่อนำข้อมูลต่างๆไปให้ AI ประมวลผล วิเคราะห์สรุป เพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรทั่วไป เป็นต้น
  • การใช้ หุ่นยนต์ และเครื่องจักรกลทางการเกษตรแบบอัตโนมัติ นำ AI ประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เป็นแรงงานมนุษย์ได้อย่างละเอียดแม่นยำ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและสามารถทำได้ต่อเนื่อง 24ชม.เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้อย่างมาก
  • Big Data ติดตั้งระบบ Sensor หรืออุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลเช่นโดรน (Drone) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ และใช้ AI ทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตัดสินใจ และให้คำแนะนำแก่เกษตรกร (Chatbot) แบบ Real Time ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ภาคการผลิตแปรรูปอาหาร (Manufacturing & Food Processing)

  • การคัดแยกวัตถุดิบ (Sorting Food) กระบวนการคัดแยกวัตถุดิบผลผลิตทางการเกษตร เช่น มะเขือเทศ แอปเปิ้ล แครอท เป็นต้น ในปริมาณมหาศาลการนำเครื่องจักรมาผสมผสานกับการทำงานของ AI ร่วมกับเทคโนโลยี นอกจากการวัดขนาด รูปร่าง สีของวัตุดิบแล้ว การใช้กล้อง, Near Infra-Red,  X-rays, Spectroscopy เป็นต้น มาวัดวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว Machine Learning สามารถสร้างความรวดเร็วในการคัดแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การใช้เครื่องจักรในการทำงานแทนที่ของแรงงานมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ชำแหละเนื้ออัตโนมัติ นำเซนเซอร์ภาพเข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพของงานและลดการเสี่ยงอันตรายต่อพนักงาน เป็นต้น
  • ในด้านสุขอนามัยความสะอาดกำจัดสิ่งปนเปื้อนก็เป็นส่วนสำคัญ การติดตั้งกล้องซึ่งมีตัวจับเซนเซอร์ในครัว เพื่อเช็คการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสิ่งปนเปื้อนเช่น หมวก ถุงมือ ชุดที่ใส่ปฎิบัติงานของพนักงาน สามารถตรวจสอบอย่างละเอียดและทันท่วงที โดยมีระบบ AI คอยควบคุมดูแล การใช้ Ultrasonic Sonsoring โดยใช้เทคโนโลยี Optical Fluorescence Imaging ป้อนข้อมูลแก่ AI เพื่อทำความสะอาด ควบคุมปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ สิ่งปนเปื้อนที่หลงเหลือในอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในอาหาร ในเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น

3. ผลิตภัณฑ์อาหารส่งถึงผู้บริโภค (Products to Customers)

  • การนำหุ่นยนต์ทำหน้าที่เป็นบริกร คอยรับคำสั่งและเสิร์ฟอาหารแก่ลูกค้า ก็ต้องอาศัย AI ในการจัดการระบบต่างๆ
  • อาหารจานด่วน (Fast Food) ก็เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาประกอบอาหาร "Flippy" เป็นหุ่นยนต์ที่ประกอบไปด้วยล้อ และแขนกล ติดตั้งระบบในการควบคุมการจัดการอาหาร ทำงานโดนระบบ AI และมี Machine Learning ทำให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาด้วยตัวเองได้ เมื่อได้รับออเดอร์จากพนักงานหรือหน้าเคาเตอร์ ข้อมุลก็จะถูกส่งไปให้ Flippy พร้อมประกอบอาหารทันที

 

 

ประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ และ AI กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

ยังมีเทคโนโลยีอีกมากมายที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ การใช้แรงงานก็จะลดน้อยลงเพื่อลดปัญหาเรื่องต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น การทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีนวัตกรรมเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย การนำ Technology AI เข้าร่วบริหารจัดการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำนั้นนอกจากลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว Technology AI ยังสามารถเข้าถึงข้อมูล ความต้องการของลูกค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจด้วย ตัวอย่างบริษัทที่นำ Technology AI เข้ามาใช้งาน เช่น

  • Blue River Technology ได้ทำการพัฒนา AI ที่มีชื่อว่า The See and Spray Robot เพื่อพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชได้ตรงจุด ไม่มีการกระจายไปสู่พืชอื่นๆ
  • Harvest CROO Robotics ได้นำ AI เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตโดยมีศักยภาพในการเก็บผลผลิตให้เกษตรกร ได้ทำงานตลอด 24ชม.
  • ภาคการเกษตรชองประเทศญี่ปุ่นได้นำ ระบบ GPS เข้ามาควบคุมเครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว ให้เหมาะสมกับตำแหน่ง สภาพพื้นที่ในการทำการเกษตร เป็นต้น

ในบทต่อไปการนำ Technology AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับการแพทย์และวงการเภสัชกรรมเป็นอย่างไร โปรดติตตามตอนต่อไป...

 

ที่มา : [1] , [2] , [3] , [4] , [5]