มนุษย์ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์กลไกเคลื่อนไหว และมี การพัฒนาหุ่นยนต์ โดยในสมัยกรีกโบราณเรียกว่า ออโตมาทา ”Automata” ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อัตโนมัติ ”Autonomous” เท่าที่มีการบันทึกไว้โดยไล่เลียงตามลำดับโดยสังเขปมีดังนี้
ประวัติ การพัฒนาหุ่นยนต์ ของมนุษย์
- ก่อนคริสต์ศักราช 400 ปี (พ.ศ. 143) Archytas of Tarentum นักคณิตศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวกรีกได้ประดิษฐ์นกพิราบกลที่สามารถขยับปีกขึ้นลงได้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนจากไอน้ำ
- ในปีคริสต์ศักราช 1737 (พ.ศ.2280) Jacques de Vzucanson นักประดิษฐ์และศิลปินชาวฝรั่งเศสผู้ออกแบบเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ (Automatic loom) และเป็นผู้สร้างเครื่องกลึงโลหะคนแรกของโลก ได้สร้างหุ่นยนต์เป่าฟลุต (Flute Player) ที่เป่าฟลุตออกมาเป็นเพลงอย่างไพเราะได้ถึง 12 เพลง โดยมีการขยับนิ้วมือที่ทำด้วยไม้และมีปอดเทียม ในการขับลมมาเป็นฟลุต และในอีก 2 ปีถัดมา ชากส์ เดอ ฟูคอนซอน ได้สร้างหุ่นยนต์เล่นแทมบูรีน (Tambourine Player) และหุ่นยนต์เป็ด (Digesting Duck) ที่มีกลไกเคลื่อนไหวกว่า 400 ชิ้น สามารถที่จะขยับปีก แสดงท่าทางการกิน การย่อย (บดเมล็ดพันธุ์พืช) และการขับถ่ายได้ ซึ่งถือว่า เป็นหุ่นยนต์ยุคใหม่ที่สามารถทำงานได้จริงเป็นตัวแรกของโลก
- ในช่วงปี คริสต์ศักราช 1939-1945 (พ.ศ.2482-2488) มีการพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตัวแรกชองโลกในรูปแบบระเบิดบิน (Flying Bomb) ที่มีเซนเซอร์เป็นตัวจุดระเบิด
- ในช่วงปี คริสต์ศักราช 1948-1949 (พ.ศ.2491-2492) William Grey Walter ชาวอเมริกา ประดิษฐ์หุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีรูปร่างคล้ายเต่าชื่อ Elmer และ Elsie จากมอเตอร์ไฟฟ้ามี 3 ล้อและอุปกรณ์ตรวจรับแสง สามารถหลบสิ่งกีดขวางได้
- ในปีคริสต์ศักราช 1961 (พ.ศ.2504) George Devol และ Joseph Engelberger วิศวกรชาวอเมริกาได้ประดิษฐ์แขนกลหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรมชื่อ Unimate และได้ก่อตั้งบริษัทผลิตหุ่นยนต์แห่งแรกของโลกที่ชื่อว่า Unimation ต่อมา Joseph Engelberger ได้รับสมญานามว่า ”บิดาแห่งหุ่นยนต์ด้านอุตสาหกรรม”
- ในปีคริสต์ศักราช 1997 Garrry Kasparov แชมป์หมากรุกโลกชาวรัสเซียแข่งหมากรุกกับสมองกลที่ชื่อ Deep Blue ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Carnegie Mellon University และบริษัท IBM ผลการแข่งขันฝ่าย Deep blue ได้ชัยชนะ 3-2 เกมส์ Deep Blue เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเอาชนะแชมป์หมากรุกของโลก ได้ภายในเวลาตามกติกามาตรฐานสากล
- ในปีคริสต์ศักราช 1999 หุ่นยนต์สุนัข (Aibo) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทโซนี่ (SONY) ประเทศญี่ปุ่น ได้ถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะเหมือนสัตว์เลี้ยง มีความรู้สึกตอบสนองและสื่อสารบางอย่างกับมนุษย์ได้
- ในปี 2000 (พ.ศ.2543) บริษัท Honda ได้พัฒนาหุ่นยนต์เดินสองขาคล้ายมนุษย์ (Humaniod) มาหลายๆ รุ่นจนถึงรุ่น 11 โดยใช้เวลาค้นคว้าวิจัยนานถึง 14 ปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า ”ASIMO” ซึ่งถูกวางให้เป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานรับใช้มนุษย์
- ในปีค.ศ.2003-2004 (พ.ศ.2546-พ.ศ.2547) สำนักพัฒนาวิจัยภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (Defense Advanced Research Projects Agency: DARPA) ได้นำเสนอให้จัดการแข่งขันรถยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้เองโดยไม่มีคนขับ โดยกำหนดให้รถขับผ่านทะเลทรายเป็นระยะทาง 131 ไมล์ ภายในรถจะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจรู้ต่างๆ ซึ่งสามารถรับรู้ถึงสภาพถนน และสภาพการจราจร รวมถึงอุปสรรคกีดขวางต่างๆ บนถนนและรอบๆ ตัวรถได้เป็นอย่างดี โดยมีสมองกลคอมพิวเตอร์ไว้ประมวลผลจากอุปกรณ์ตรวจรู้ต่างๆ ที่ส่งเข้ามาอย่างชาญฉลาด ทำให้รถสามารถวิ่งถึงจุดหมายได้
ประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ และ AI กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เมื่อไล่เรียงการพัฒนาหุ่นยนต์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่า ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์มีส่วนร่วมกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ตั้งแต่การทำงานร่วมกับมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม, การค้นคว้าวิจัยสำรวจในอวกาศ, การแข่งขันเกมส์หรือแข่งขันการวินิจฉัยโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการสร้างหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง สามารถเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์ เป็นต้น และในตอนต่อไปจะกล่าวถึง หุ่นยนต์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง AIBO หุ่นยนต์บำบัดผู้ป่วย PARO และหุ่นยนต์ ASIMO โปรดติดตามตอนต่อไป
ที่มา : [1]