หุ่นยนต์ AIBO เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Sony ตั้งแต่ปี 1999 และได้ถูกพัฒนาและจัดจำหน่ายมาทุกๆปีจนกระทั่งถึงปี 2006 ซึ่งในปีนี้เอง AIBO ได้ถูกเพิ่มชื่อเข้าไปใน Hall of Fame พร้อมกับคำอธิบาย ”SONY AIBO แสดงสินค้าที่ทันสมัยที่สุดที่เคยเสนอในตลาดหุ่นยนต์ของผู้บริโภค” ของ Carnegie Mellon University แต่ภายในปีเดียวกัน วันที่ 26 มกราคม 2006 บริษัท Sony ได้ประกาศลดและระงับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดกำไรแก่บริษัท เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีส่งผลต่อบริษัทและการเผชิญกับการแข่งขันด้านราคากับผู้พัฒนารายใหม่ รวมถึงการผลิตหุ่นยนต์ AIBOก็ประสบปัญหานี้ด้วยเช่นกัน
ถึงแม้จะมียอดขายรวมกว่า 150,000 ตัวก็ตาม แต่ถึงอย่างไรก็ตามการซ่อมแซมและบริการหลังการขายยังมีอยู่จนกระทั่งปี 2014 ทางบริษัท Sony ได้ประกาศยุติการผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนรวมถึงการซ่อมแซมและบริการหลังการขายไปด้วย สร้างความเสียใจให้กับบรรดาเหล่าเจ้าของหุ่นยนต์ AIBOที่มีความผูกพันธ์เป็นอย่างมากจนถึงขนาดมีการจัดพิธีศพให้กับเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้อีกต่อไป
แต่ถึงอย่างไรก็ตามข่าวดีสำหรับบรรดาสาวกหุ่นยนต์สุนัขAIBOก็เกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2017 บริษัท SONY ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ AIBO รุ่นใหม่และพร้อมวางจำหน่ายในวันที่ 11 มกราคม 2018 ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้ประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ AIBOเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ได้แก่
การพัฒนาหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนที่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ในชีวิตจริงด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดของ AI มีส่วนเป็นอย่างมาก ไม่จำกัดแต่เพียงหุ่นยนต์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงแก้เหงาเป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์เท่านั้น ยังนำไปเป็นหุ่นยนต์ที่นำมารักษาและบำบัดโรครวมถึงเป็นหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ “PARO” เป็นชื่อหุ่นยนต์ที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง
PARO หุ่นยนต์ที่นับเป็นอุปกรณ์การแพทย์เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น หุ่นยนต์ PARO ถูกพัฒนาโดย National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ของประเทศญี่ปุ่น PARO ได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในปี 1993 โดยห้องทดลองของญี่ปุ่น แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะจนถึงปี 2001 หุ่นยนต์มีลักษณะแมวน้ำ
ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักประดิษฐ์ระหว่างการเดินทางในอาร์กติกแคนาดา PARO มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ 32 บิตมอเตอร์และตัวกระตุ้นสำหรับการเคลื่อนไหวเซนเซอร์สัมผัส 12 ตัว ไมโครโฟน 3 ชิ้น ไวนิลที่สัมผัสได้และมีขนอ่อนนุ่มจำลอง โดยการนำรูปแบบแมวน้ำมาสร้าง ก็เพราะตามหลักจิตวิทยาสามารถช่วยให้มนุษย์ประทับใจ เช่น รูปร่างหน้าตาที่น่ารัก ทำให้ผู้คนเห็นแล้วรู้สึกสบายใจ วัตถุประสงค์ในการออกแบบมี 3 ประเภท ได้แก่
พฤติกรรม PARO จะแสดงออกตอบสนองต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และมีรูปแบบอารมณ์ที่แตกต่างกันระหว่างวัน มีการแสดงออกพฤติกรรมคล้ายสิ่งมีชีวิต เช่น ตื่นตอนเช้า นอนตอนกลางคืน นอกจากจะมีความสามารถในการเรียนรู้ เลียนแบบผู้เลี้ยง จดจำเสียง รู้ที่มาของเสียง รวมทั้งจำชื่อเจ้าของ จากการที่เป็นหุ่นยนต์ที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง จึงสามารถแสดงความรุ้สึกต่างๆ ได้เช่น ประหลาดใจ สุขใจและแสดงความดีใจโดยกะพริบตาพร้อมขยับ หัวและขาไปมาพร้อมกัน เป็นต้น
ประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ และ AI กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
การนำหุ่นยนต์มาใช้ร่วมกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มีประโยชน์ในการบำบัดผู้ป่วยและเป็นสันทนาการ เพื่อความบันเทิง ตลอดจนนำไปสู่การสร้างความผูกพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ ไม่เพียงแต่หุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่าง AIBO และ PARO การพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ก็มีเช่นกัน “ASIMO” ก็เป็นที่กล่าวขวัญอย่างมากในยุคปี 2000 ตอนต่อไปเราจะมาทำความรู้จักกับ”ASIMO” หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์จะเป็นอย่างไรโปรดติดตาม
ที่มา : [1], [2], [3], [5], [6]