<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

ก่อนลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง

Audio Version
ก่อนลงทุนใน Startup ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง
10:00

การลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจ Startup ที่บางทีมมีเพียงไอเดียและแผนธุรกิจที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังไม่ได้เริ่มต้นทำจริง ๆ และไม่รู้ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ อาจจะทำให้เราไม่มั่นใจว่าจะนำเงินส่วนหนึ่งในชีวิตมาลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ดีหรือไม่ Startup อาจเป็นธุรกิจที่สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ภายใต้เงื่อนไขของความไม่แน่นอนว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว หรืออาจเป็นบริษัทที่มุ่งแก้ปัญหาที่มีแนวทางไม่ชัดเจนและไม่รับประกันความสำเร็จ

 

ทำไมถึงลงทุนกับ Startup

การลงทุนกับ Startup จะช่วยให้เราพบทางออกสำหรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ หรือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะ Startup ส่วนใหญ่มักจะก่อตั้งขึ้นมาด้วยแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น เราไปดู 4 เหตุผลที่อาจจูงใจให้เราอยากลงทุนกับ Startup

 

มีศักยภาพในการเติบโต

การลงทุนกับบริษัทที่ก่อตั้งมานานและมีพื้นฐานมั่นคงมีความเสี่ยงน้อยกว่าบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินการ แต่จะแทบไม่มีโอกาสเติบโตแบบกราฟพุ่งขึ้นทวีคูณ หากเราเลือกลงทุนกับ Startup ที่คิดว่าจะประสบความสำเร็จ เราอาจจะมีโอกาสที่จะทำกำไรอย่างก้าวกระโดด

 

มีความเชื่อในแนวคิดใหม่

บางครั้งการลงทุนกับ Startup อาจดึงดูดเราเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการที่ใฝ่หาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อมาเปลี่ยนโลก ผู้คนมักจะลงทุนกับสิ่งที่พวกเขาต้องการเห็นว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืนหรือเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือสังคมได้ หากเราได้รู้จักแผนธุรกิจที่ตัวเองชื่นชอบและคิดว่าน่าลงทุน คือโอกาสดีที่จะได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการสนับสนุน Startup เหล่านั้น

 

ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล (Personal connections)

บางทีคนรู้จักของเราอาจเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยอดเยี่ยม หรือบางทีอาจเป็นเพื่อนบ้านของเราที่ดูเหมือนกำลังมีความคิดริเริ่มก่อตั้งธุรกิจที่มีอนาคตไกล และเราต้องการช่วยเหลือด้านการเงินของโครงการของเพื่อนหรือคนใกล้ชิด มีผู้คนจำนวนมากลงทุนใน Startup เพราะพวกเขาอยู่ในเครือข่ายและสนับสนุนโครงการของคนที่พวกเขารู้จัก

 

ความรู้สึกของการอยากสนับสนุนด้วยใจ

สำหรับนักลงทุนบางคน การลงทุนใน Startup คือสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อความรู้สึกที่อยากช่วยให้ใครบางคนสร้างธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หรือเพื่อสนับสนุนการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ส่วนมากการเติบโตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ มักจะได้รับการช่วยเหลือจากนักลงทุนที่เห็นคุณค่า (ถ้าธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่ใครบางคนมุ่งมั่นที่จะทำ) เป็นเรื่องน่ายินดีที่จะสนับสนุนพวกเขาให้ประสบความสำเร็จ

 

มีเหตุผลใดบ้างที่ทำให้เราไม่อยากลงทุนใน Startup

ในโลกของการลงทุนมีทางเลือกให้เราลงทุนหลายแบบและไม่ใช่สำหรับทุกคนที่สนใจใน Startup เราเชื่อว่านักลงทุนทุกคนต้องการความเสี่ยงต่ำและต้องการที่มาของรายได้ที่เชื่อถือได้ ในแวดวง Startup มีเหตุผลมากมายที่จูงใจให้อยากลงทุน แต่ก็มีเรื่องที่เราควรตระหนักและต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

Startups are super risky

Startup มีความเสี่ยงสูงที่จะล้มเหลว จากสถิติประมาณ 90% ของ Startup มักจะล้มเหลว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงปัญหาด้านการจัดการการตลาด ปัญหาของทีม หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการสูญเสียเงินทุนไปทั้งหมด หากมองในแง่ดี Startup ที่มีแผนธุรกิจที่ดีก็คือการลงทุนที่ดีหากเราพร้อมที่จะสูญเสียเงินทุนทั้งหมด 100% ไปกับสิ่งที่เราเดิมพัน อย่างไรก็ตามเงินลงทุนส่วนใหญ่ของเราควรกระจายความเสี่ยงโดยจัดพอร์ตการลงทุนกระจายไว้หลาย ๆ ที่

Startups are illiquid investments

Startup ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นด้วยการไม่มีสภาพคล่อง หากเราซื้อหุ้นวันนี้และเปลี่ยนใจเกี่ยวกับสิ่งที่เราเลือกลงทุนในวันพรุ่งนี้ เราสามารถขายหุ้นได้อย่างง่ายดายบนเว็บไซต์สำหรับซื้อขายหุ้น แต่ในทางกลับกัน เมื่อ Startup เริ่มมีสภาพคล่องสูงจากเงินลงทุน เราควรคาดหวังว่าเงินของเราจะอยู่กับ Startup ให้ถึงอย่างน้อย 3-5 ปี แม้ว่าจะมีโอกาสเลิกกิจการหรือล้มเหลวก็ตาม ความสำเร็จหรือความล้มเหลวเป็นสิ่งที่รับประกันไม่ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนใน Startup หนึ่งเรื่องที่เราต้องทำใจ คือการลงทุนของเราอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าเงินทุนจะเติบโตและกว่าธุรกิจจะเป็นรูปเป็นร่าง

ต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผล แม้ว่า Startup จะประสบความสำเร็จในอนาคตก็ตาม แต่ก็อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนของเรา

เราต้องมีความอดทนจากการถือครองหุ้นเพื่อให้พอร์ตของเรามีเวลาเติบโต

 

ดูอย่างไรว่า Startup น่าลงทุนหรือไม่

การจะดูว่า Startup เป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่ แนะนำให้ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จของ Startup ที่เราคิดจะลงทุน โดยทำวิจัยมาก่อนที่จะนำเงินของเราไปลงทุน โดยนักลงทุนควรตอบคำถามต่อไปนี้ก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

What do you know about a startup?

คุณรู้อะไรเกี่ยวกับ Startup บ้าง ว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมไหน หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยกันหรือไม่ แนะนำให้ลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจเท่านั้น

Startup ทีมนั้นมีแรงผลักดันในธุรกิจของพวกเขาหรือไม่ เชื่อหรือไม่ว่าทีม Startup ที่มีความชอบหรือความหลงใหลในสิ่งที่ทำจะทำให้ธุรกิจฝ่าฟันวิกฤติไปได้และต้องการเป็นผู้นำในตลาดของตัวเอง เราเคยเห็นบริษัทจำนวนมากที่มีศักยภาพที่จะเติบโต แต่พวกเขากลับพึงพอใจที่มีคู่แข่งรายอื่น ๆ เข้ามาในตลาด นั่นคือสิ่งที่นักลงทุนกังวลที่สุดเกี่ยวกับศักยภาพของทีม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับลูกค้า การว่าจ้างนักพัฒนา หรือการพัฒนากลยุทธ์ ซึ่งแรงผลักดันนี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

สมาชิกในทีมมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจจริงหรือไม่ สมาชิกในทีม Startup ควรทราบรายละเอียดหรือแก่นแท้ของธุรกิจที่พวกเขากำลังดำเนินการอยู่ เพราะความเชี่ยวชาญจะเป็นตัวเสริมความมั่นใจให้กับนักลงทุน เราเคยเห็นผู้ก่อตั้ง Startup หลายคนที่ทำธุรกิจที่มีพื้นฐานเดียวกันกับธุรกิจทั่ว ๆ ไปทำ และพยายามทำซ้ำกับโมเดลธุรกิจอื่น ๆ ที่เลียนแบบได้ง่าย และในที่สุดก็ล้มเหลวเพราะผู้ก่อตั้งพยายามเรียนรู้แต่พื้นฐานการดำเนินธุรกิจของคนอื่น แต่ไม่ได้คิดค้นอะไรที่แปลกใหม่ หรือสร้างธุรกิจที่มีอิทธิพลทางสังคม ในขณะที่คู่แข่งสามารถคิดค้นและพัฒนาได้เร็วกว่า

How big is the market?

ตลาดผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ใหญ่แค่ไหน การมีตลาดที่ใหญ่และเติบโตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Startup บางครั้งบริษัทก็ตั้งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เน้นย้ำจุดยืนที่ชัดเจนเพื่อที่จะมีชัยเหนือคู่แข่ง แลเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้ในช่วงเวลาไม่กี่เดือน ดังนั้น นักลงทุนควรพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์และ Market Size หรือ Community ให้ดีก่อนลงทุนกับ Startup

ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับธุรกิจที่จะลงทุนให้มาก ว่าแนวคิดของธุรกิจเคยถูกทดลองใช้มาก่อนหรือไม่ ถ้ายังไม่เคยมีใครทำแล้วทำไมถึงอยากทำ หรือถ้ามีธุรกิจอื่นที่เคยทำมาแล้วทำไมถึงล้มเหลว อะไรที่ทำให้ Startup ทีมนี้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ แผนธุรกิจที่จะทำเป็นความเชี่ยวชาญของตัวเองหรือไม่ เทคโนโลยีนี้น่าสนใจแค่ไหน และทำไมก่อนหน้านี้ถึงยังไม่มีผลิตภัณฑ์แบบนี้ออกมาสู่ตลาด การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่เราจะลงทุนจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนว่าพวกเขาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว

เราเข้าใจดีว่านักลงทุนต่างต้องการทั้งความมั่งคั่งและเครือข่าย (Connections) ที่ดีเพื่อการลงทุน อย่างไรก็ตามนักลงทุนทั่วไปสามารถคว้าโอกาสในการเริ่มต้นทำกำไรที่น่าตื่นเต้นกับ Startup แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าการลงทุนมีความเสี่ยงสูง และ ก็มี Startup จำนวนไม่น้อยที่ล้มเหลว ถึงแม้ว่าจะทำวิจัยหรือศึกษาแผนธุรกิจมาอย่างดีแล้วก็ตาม แต่สุดท้ายก็อาจลงเอยด้วยการขาดทุนหรือพบกับพอร์ตการลงทุนที่ว่างเปล่า ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนใน Startup ไม่ใช่การใช้อารมณ์เป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ แต่เราต้องเรียนรู้แก่นแท้ของธุรกิจที่ตัวเองกำลังสนใจอยู่

อ่านบทความเพิ่มเติม : กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่สำหรับ TECH STARTUP

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.medium.com 

 

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts

OGF Podcast