เทคโนโลยี Blockchain จะมาเปลี่ยนโลกได้อย่างไร

Blockchain เป็นคำที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2 ถึง 3 ปี ที่ผ่านมา สำหรับคนในแวดวงเทคโนโลยีหรือ Startup อาจจะคุ้นเคยและเข้าใจกันดีอยู่แล้ว ส่วนคนนอกวงการที่กำลังสนใจหรือกำลังสงสัยกันอยู่นั้นอาจจะยังไม่เข้าใจ Concept และความสามารถของเทคโนโลยี Blockchain ที่มีทั้ง Smart Contract ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายธุรกรรม หลากหลายธุรกิจ และหลากหลายอุตสาหกรรม วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องเทคโนโลยี Blockchian ให้เห็นภาพกันชัด ๆ ว่าจะสามารถนำไปใช้ในโลกความเป็นจริงได้อย่างไร

Blockchain เริ่มต้นคิดค้นขึ้นมาเมื่อปี 1991 โดยมีวัตถุประสงค์ คือต้องการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สาสามารถคัดลอกหรือเปลี่ยนแปลงได้ และ Blockchain ยังเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหลายธุรกิจได้ โดยส่วนมากธุรกิจที่นำ Blockchain ไปใช้จะคาดหวังในเรื่องของความโปร่งใส่ และคุณภาพของสินค้าที่จัดการด้วย Blockchain เพื่อน ๆ คงอยากรู้กันกันแล้วใช่ไหมครับ ว่าเทคโนโลยี Blockchain มีความน่าสนใจอย่างไร ไปดูกันเลยครับ

 

มีความเร็วในการทำธุรกรรม

Blockchain เริ่มนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในแวดวงการเงินการลงทุนก่อน หรือน่าจะเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่ได้นำ Blockchain เข้ามาใช้กันอย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีจุดเด่นที่การทำธุรกรรมได้รวดเร็ว เรียกได้ว่าจะนับเป็นวินาทีหรือนาทีก็ยังได้ เช่น การโอนเงินข้ามประเทศจะโอนเร็วกว่าธุรกรรมที่ทำกับธนาคาร โดย Blockchain สามารถโอนเงินจากบุคคลที่ 1 ไปหาบุคคลที่ 2 ได้โดยที่ไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร ซึ่งธุรกรรมจะถูกระบุออกเป็น Code ที่บันทึกไว้ใน Blockchain นอกจากจะมีความเร็วในการทำธุรกรรมแล้ว ยังมีความถูกต้องแม่นยำอีกด้วย

 

Hack ระบบยาก

ถ้าถามว่า Blockchain โดนแฮ็กได้หรือไม่ ในทางทฤษฎีสามารถแฮ็กได้ แต่ในทางปฎิบัติสามารถทำได้ยาก เพราะ Blockchain ใช้ระบบ Peer to Peer Network ซึ่งเป็นการโอนข้อมูลผ่าน Block แต่ละ Block กระจายไปหากันเป็นเครือข่าย เช่น ข้อมูลธุรกรรมหรือ Hash ที่เปรียบเหมือนลายนิ้วมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเฉพาะธุรกรรนั้น ๆ จะถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบของ Code บันทึกไว้ใน Blockchain เมื่อใดก็ตามเมื่อเกิดธุรกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกใน Blockchian ข้อมูลธุรกรรมก็จะถูกบันทึกไว้ใน Blockchian ในรูปแบบของ Hash หรือสร้างลายนิ้วมือใหม่ขึ้นมา และความพิเศษของ Blockchain คือไม่ได้มีแค่ Block เดียวในโลก ซึ่งสามารถกระจายข้อมูล หรือ Copy Hash ไปเก็บไว้ที่ Block อื่น ๆ ได้อีก

สามารถดูตัวอย่างการกระจายข้อมูลได้ดังนี้ครับ 

Block A

ข้อมูลธุรกรรมจาก Block A คือ Aaa123 (Hash) ถูกกระจายไปเก็บที่ Block B

 

Block B

Bbb123 (Hash)

Aaa123 (Previous hash) ที่โอนมาจาก Block A

 

Block C

Ccc123 (Hash)

Bbb123  (Previous hash) ที่โอนมาจาก Block B

 

สรุปให้เห็นภาพกนชัด ๆ

Block A กระจายข้อมูลไป Block B = A+B และกระจายข้อมูลต่อไปที่ Block C = A+B+C (หมายความว่า Hacker จะต้อง Hack ให้ได้ 50% ของ Blockchain ทั้งหมด ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมีใครทำแบบนั้นได้)

 

ไม่ต้องอาศัยความเชื่อใจ

Smart Contract คือการสร้างเงื่อนไขที่ถูกนำมาใช้แทนสัญญาในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร โดยข้อตกลงหรือสัญญาต่าง ๆ จะถูกบันทึกให้อยู่ในรูปแบบของ Code บน Blockchain ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้ โดย Blockchain ที่บุกเบิกนำ Smart Conract มาใช้ คือ Ethereum Chain ซึ่งธุรกรรมต่าง ๆ ที่ทำบน Blockchain ของ Ethereum จะถูกบันทึกและตรวจสอบผ่าน Smart Contract ที่ไม่มีใครที่สามารถคดโกงหรือปรับเปลี่ยนสัญญานั้นได้

ยกตังอย่างธุรกรรมที่ใช้ Smart Contract

ตัวอย่างที่ 1

นาย A กับนาย B ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ซึ่งนาย A ต้องการซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านนาย B มูลค่า 1 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อนาย A โอนเงินให้นาย B แล้ว ทันทีที่นาย B กดยืนยันการโอนสันทรัพย์ดิจิทัลไปให้นาย A นาย A จะได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นทันที และ Smart Contract จะบันทึกกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลให้นาย A ทันที ซึ่งความเป็นเจ้าของนั้นได้บันทึกไว้บน Blockchain โดยนาย B ไม่สามารถทวงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรือคดโกงสินทรัพย์ที่นาย A ได้ครอบครองไปแล้ว

 

ตัวอย่างที่ 2 

นาย A กับนาย B พนันกันไว้ว่า เมื่อผลการแข่งขันฟุตบอลออกมาแล้ว ฝ่ายแพ้จะต้องโอนเงินไปให้ฝ่ายที่ชนะ โดยก่อนเกมการแข่งขันจะเริ่ม ทั้งนาย A และนาย B ได้วางเงินกันไว้แล้ว และได้วางเงื่อนไขกันไว้แล้วว่าทันทีที่ผลการแข่งขันจบลง เงินจะถูกโอนไปให้ฝ่ายชนะทันทีโดยฝ่ายแพ้ไม่สามารถเลื่อนกำหนดโอน หรือเบี้ยวการโอนเงินได้

 

ตัวอย่างที่ 3

เมื่อแพลตฟอร์มเงินดิจิทัลที่สร้างบน Smart Contract ของเราปิดโดยไม่แจ้งเราล่วงหน้า เราสามารถกู้เงินดิจิทัลคืนมาได้ เช่น เมื่อคุณนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปฝากไว้ในแพลตฟอร์มการเงินบน Blockchain แล้ววันหนึ่งแพลตฟอร์นั้นถูกปิดไปแบบกะทันหัน คำถามคือ ในเมื่อแพลตฟอร์มนั้นปิดไปแล้ว แต่เงินดิจิทัลของเรายังอยู่ในนั้น แสดงว่าเงินเราหายไปเลยหรือเปล่า คำตอบคือ เงินเราไม่ได้หายไปใหน ถ้าธุรกรรมถูกระบุในรูปแบบของ Smart Contract แล้ว เราสามารถกู้เงินเรากลับมาได้ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart Contract เขียน Code ของ Smart Contract ขึ้นมา แล้วเราก็จะได้เงินกลับคืนมา 

จากตัวอย่างของการทำธุรกรรมโดยใช้ Smart Contract เราสามารถออกแบบเงื่อนไขได้เอง โดยการเขียน Code และนำความเชื่อใจ ความไว้ใจ เอาไปไว้ในรูปแบบของ Smart Contract บน Blockchain ซึ่งป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชัน

 

ตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย

ในอดีตการนำข้อมูลมาใช้งานร่วมกันคือข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูล ถ้าเราสามารถนำข้อมูลมาเก็บไว้ที่ศูนย์กลางให้หลายหน่วยงานสามารถดึงไปใช้ได้ก็คงจะดีมาก ๆ เช่น ข้อมูลบัตรประจำตัวประชนที่เราเริ่มเห็นกันได้ชัดว่าหน่วยงานใหญ่ ๆ สามารถค้นหาข้อมูลบัตรประจำตัวประชนเพื่อยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ Blockchain สามารถจัดเก็บข้อมูลสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เอาไว้ได้ เช่น การบันทึกข้อมูลผู้ป่วย การบันทึกข้อมูลการรักษา เมื่อผู้ป่วยคนหนึ่ง ย้ายไปรักษาอีกโรงพยาบาลอีกที่หนึ่ง ทุก ๆ โรงพยาบาลสามารถดึงข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละคนมาใช้ร่วมกันได้ หรือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยผ่านการลงคะแนนบน Blockchain ทุก ๆ คะแนนเสียงจะถูกบันทึกโดย Code ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ ต่อมาอีกหนึ่งตัวอย่าง คือการตรวจสอบข้อมูลสินค้าว่าสินค้าชิ้นนั้นผลิตจากอะไร ผลิตที่ไหน และเป็นของแท้หรือของปลอม โดยเทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า และการกระจายข้อมูลมาใช้ร่วมกันระหว่างองค์กร

 

ทำธุรกรรมการเงินโดยไร้ตัวกลาง

Decentralized Finanace (DeFi) คือโลกของการเงินที่ไร้ตัวกลางในการควบคุม ซึ่งธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกใน Blockchain โดยส่วนมากจะใช้ Smart Contract เข้ามาสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดานเทรด การแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัล หรือการฝากสภาพคล่อง และยังให้ผลตอบแทนสูงอีกด้วย โดยแพลตฟอร์มที่เติบโตขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่เข้ามาใช้งาน หมายความว่าเมื่อไม่มีตัวกลางในการควบคุมส่งผลให้แพลตฟอร์มด้านสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ได้ด้วยตัวมันเองบน Blockchain ซึ่งขับเคลื่อนด้วยจำนวนผู้เข้าใช้ (Demand) และความเร็วของ Blockchain นั้น สามารถทำการโอนได้ในระดับวินาที ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เริ่มนำ Blockchain เข้ามามีส่วนในแผนการทำงานแล้ว เช่น ทำสินเชื่อ อีกทั้งบุคคลทั่วไปยังสามารถโอนเงินให้กันและกันอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย

 

สนับสนุนการทำ Startup และพัฒนา Application

เมื่อเรามีไอเดียที่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจและอยากให้ธุรกิจเสร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้เร็ว โดยใช้ทีมงานเพียงไม่กี่คนก็สามารถทำได้ ยกตัวอย่าง Band Protocol เป็น Startup ไทยที่สร้างอยู่พื้นฐานการทำงานของ Blockchain ซึ่งเป็น Decentalized Oracle ที่สามารถดึงข้อมูลจากโลกออนไลน์เข้ามาที่เครือข่ายของ Blockchain ผ่านการตรวจสอบของ Smart Contract ที่ใช้ทีมงานเพียงไม่กี่คน และได้รับการยอมรับให้เป็น Decentalized Oracle อันดับสองของโลกรองลงมาจาก Chainlink ถ้าพูดถึงการพัฒนา Application บน Blockchain หรือ DApps (Decentralized Application) นักพัฒนาสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงมีไอเดียก็สร้าง Application ในจินตนาการได้แล้ว และยังจัดการกับข้อมูล หรือ Database ได้ง่าย ๆ

สรุป Blockchain สามารถทำหน้าที่แทนกรรมการ ผู้ตัดสิน ตัวกลางที่คอยควบคุม มีความเป็น Decentralized มีความโปร่งใส ตรวจสอบข้อมูลได้ รองรับการสร้างธุรกิจ Startup และพัฒนา Application ใหม่ ๆ ขึ้นมา ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้หลากหลายประเภท และในอนาคตเราเชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามาอยู่ในทุก ๆ กิจกรรมบนโลกออนไลน์ อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล และ ทักษะด้านดิจิทัล ก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น

ถ้าคุณอยากพัฒนาธุรกิจให้ก้าวกระโดดเข้ามาสู่โลกของนวัตกรรม แนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ เรียนรู้การใช้ Innovative Thinking ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts