<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

Boston dynamics กับความสามารถในการออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์

Boston dynamics เป็นบริษัททางด้านวิศวกรรมและออกแบบหุ่นยนต์ สัญชาติอเมริกัน ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1992 โดย Marc Raibert อาจารย์ในมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon และ MIT โดยเป็นบริษัทที่แยกตัวออกมาจากห้องทดลองใน Massachusetts Institute of Technology (MIT) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมือง Waltham รัฐ Massachusetts

Boston dyanamics กับการออกแบบหุ่นยนต์

Boston dyanamics

Boston dynamics เป็นบริษัทที่ทุกคนต่างทราบเป็นอย่างดีถึงความสามารถและมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวและหุ่นยนต์ที่จำลองการทำงานของมนุษย์ หุ่นยนต์ของบริษัทสามารถวิ่งและเคลื่อนตัวได้เหมือนสัตว์ ในพื้นที่ที่ขรุขระ ไม่เสมอกัน พื้นที่ต่างระดับ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาจาก Defence Advanced Research Projects Agency (DARPA) ซึ่งลูกค้าส่วนมากจะเป็นหน่วยงานด้านการทหารของ U.S.A

ประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ และ AI กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

ในวันที่ 13 ธันวาคม 2013 Boston dynamics ได้ถูกบริษัท Google X เข้าซื้อกิจการ ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย (Google X เป็นบริษัทในเครือของ Alphabet Inc.) แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน 2017 Alphabet Inc. ได้ประกาศขาย Boston dynamics ให้กับ Softbank Group บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยเช่นกัน และในเดือนเมษายน 2019 Boston dynamics ได้เข้าซื้อกิจการ start up Silicon Valley, Kinema systems ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาที่สร้างชื่อในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของ Boston dynamics ได้แก่

Bigdog ผลงานหุ่นยนต์ตัวแรก เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ 4 ขา มีลักษณะคล้ายสุนัขตัวโต ถูกออกแบบให้ซึมซับแรงกระแทกและมีการหมุนเวียนพลังงานมาใช้ในบางส่วนได้ด้วย ถูกสร้างขึ้นในปี 2005 ด้วยความร่วมมือจาก Foster-Miller, theJet Propulsion Laboratory และ Harvard University Concord Field Station โดยได้รับทุนวิจัยจาก DARPA เป้าหมายเพื่อใช้เป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยทหารในการบรรทุกสิ่งของในสภาพพื้นที่ต่างๆ คุณสมบัติเด่นของ Bigdog ได้แก่

    • Bigdog เคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • ปีนขึ้นในพื้นที่ที่มีความชันถึง 35 องศา
    • เคลื่อนที่ได้ในพื้นที่ขรุขระ, โคลน, หิมะ, น้ำ, เส้นทางเดินป่า
    • บรรทุกน้ำหนักได้ถึง 150 กิโลกรัม
    • มีระบบควบคุมความสมดุล เป็นต้น

Wildcat หุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยขาที่เร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 32 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยที่ยังคงรักษาสมดุลได้ในขณะเลี้ยว, หลบหลีก โดยใช้พลังงาน Methanol ใช้เครื่องยนต์เผาผลาญแบบ Methanol ขับเคลื่อนโดยใช้ระบบควบคุมแบบ hydraulics (ซึ่งทำให้เกิดเสียงดัง) ซึ่งพัฒนามากจากหุ่นยนต์ Cheetah ในห้องทดลองของ Boston dynamics โดย Cheetah ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 48 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เป็นการวิ่งบนลู่วิ่งและมีการต่อสายควบคุมในห้องทดลอง แต่ Wildcat ถึงแม้จะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าแต่เป็นการเคลื่อนที่โดยไม่ต้องใช้สายควบคุม คุณสมบัติทางกายภาพของWildcat ได้แก่

    • ส่วนสูง 117 เซนติเมตร, น้ำหนัก 154 กิโลกรัม
    • Methanol เป็นเชื้อเพลิง
    • ระบบควบคุมแบบ Hydraulic
    • ข้อต่อ 14 จุด
    • ระบบ Terrain Scanning Laser

Atlas เปิดตัวรุ่นแรกในปี 2013 เป็นหุ่นยนต์ Humanoid คือมีลักษณะคล้ายมนุษย์ โดยจุดเด่นของ Atlas คือการเคลื่อนไหวที่ยืดหยุ่นเช่น ตีลังกาหน้า-หลัง เป็นต้น เคลื่อนที่ในทางที่ขรุขระ มีการพัฒนามือของหุ่นยนต์ให้สามารถจัดการสิ่งของในสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น หยิบ, จับ เป็นต้น เป้าหมายในอนาคตจะสร้างให้เป็นหุ่นยนต์กู้ภัยและค้นหาผู้สูญหาย ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติของ Atlas ได้แก่

  • ส่วนสูง 150 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 75 กิโลกรัม
  • สามารถยกของหนักได้ 11 กิโลกรัม
  • ใช้พลังงาน แบตเตอรี่ 
  • มีข้อต่อ 28 จุด
  • ใช้ระบบ hydraulic, มีระบบ LiDAR, Stereo Vision
  • ระบบการทรงตัวควบคุมสมดุล เป็นต้น

maxresdefault
LS3
ย่อมาจาก Legged Squad Support Systems เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ถึง 181 กิโลกรัม (ในการทดลองครั้งหนึ่งได้ทดลองให้บรรทุกน้ำหนักกว่า 500 กิโลกรัม เดินทางบนพื้นราบ) การปฏิบัติงานหนึ่งครั้งสามารถอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง (เดินระยะ 32 กิโลเมตร) สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ โดยกำหนดคนหรือตัวที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม แล้วตัวอื่นๆ จะเดินตาม คุณสมบัติทางกายภาพของ LS3 ได้แก่

    • ส่วนสูง 170 เซนติเมตร และน้ำหนัก 590 กิโลกรัม
    • บรรทุกของหนักได้ถึง 181 กิโลกรัม
    • ใช้พลังงานจาก Gas/Diesel 
    • มีข้อต่อ 12 จุด
    • ใช้ระบบ Hydraulic และมีระบบ LiDAR , Stereo Vision เป็นต้น

Handle หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายพัสดุสำหรับ Logistics มีความสามารถในการยก จัดเรียงกล่องในคลังสินค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2017 เคลื่อนที่ด้วยสองล้อ มาพร้อมระบบช่วยรักษาการทรงตัวเวลาที่ยกของขึ้นลง เวอร์ชันใหม่นี้จะไม่มีแขนกลสำหรับยกของ แต่เปลี่ยนมาใช้ดีไซน์คล้ายนกกระจอกเทศ โดยส่วนหัวนั้นจะเป็นตัวดูดสูญญากาศช่วยให้การเคลื่อนย้ายสิ่งของในโกดังเก็บของเร็วและคล่องตัวขึ้น คุณสมบัติทางกายภาพของ Handle ได้แก่

    • ส่วนสูง 2 เซนติเมตร และน้ำหนัก 105 กิโลกรัม
    • ยกของหนัก 15 กิโลกรัม
    • ใช้พลังงานจาก แบตเตอรี่
    • มีข้อต่อ 10 จุด
    • ใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนและมีระบบ Depth Cameras

SpotMini เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่จะใช้ในออฟฟิศ ใช้งานในเชิงธุรกิจ และใช้ในบ้าน เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมี 4 ขาในการเคลื่อนที่ ใช้งานได้ 90 นาทีต่อการชาร์ต 1 ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไรบ้าง SpotMimi สามารถยกถือสิ่งของ, ขึ้นลงบันได เปิดประตู เป็นต้น คุณสมบัติทางกายภาพของ SpotMini ได้แก่

    • ส่วนสูง 84 เซนติเมตร และน้ำหนัก 30 กิโลกรัม
    • ยกของหนัก 14 กิโลกรัม
    • ใช้พลังงานจาก แบตเตอรี่
    • มีข้อต่อ 17 จุด
    • ใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนและมีระบบ 3D Vision System เป็นต้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการพัฒนาหุ่นยนต์ของบริษัท Boston dynamics ยังมีหุ่นยนต์อีกหลายประเภทที่กำลังอยู่ในการพัฒนาและมีแผนเตรียมจัดจำหน่าย รวมถึงนำไปใช้งานในปัจจุบัน เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานของหุ่นยนต์มีมากขึ้น การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในตอนหน้า การประยุกต์การใช้งานหุ่นยนต์ในปัจจุบันและการปรับตัวของมนุษย์ต่อหุ่นยนต์และเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มอย่างไร โปรดติดตาม

 

ที่มา : [1], [2], [3], [4], [5]

New call-to-action

New Marketing Plan MarTech Plan

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts