Re-skill เพื่อเป็น Disruptor ในยุค Digital Disruption

Audio Version
Re-skill เพื่อเป็น Disruptor ในยุค Digital Disruption
6:06

ในยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทำให้เหล่าบรรดา Disruptor นำความเปลี่ยนแปลงมาสร้างโอกาสให้ตัวเองประสบความสำเร็จกันอย่างล้นหลาม ส่วนบุคคลทั่วไปที่ชอบตามหาความสำเร็จ จะต้อง Re-skill (เรียนรู้ทักษะใหม่) เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและธุรกิจที่รายล้อมไปด้วยเทคโนโลยีจนโลกได้เข้าสู่อารยธรรมใหม่ที่เรียกว่า Digital Native เรามาดูแนวคิดการ Re-skill ในยุค Digital Disruption กันว่าเรื่องไหนที่ตรงกับชีวิตของเราและสามารถนำไปปรับใช้กับตัวเองได้ดีที่สุด

 

คุณสมบัติ 3 ประเภท

ที่ช่วยให้เรา Re-skill ในยุค Digital Disruption

 

The Disruptor (คนหัวก้าวหน้า)

ในทุกยุคทุกสมัยคนที่มีลักษณะแบบ The Disruptor มักต้องการเอาชนะหรือต้องการยึดครองเพื่อเป็นผู้นำในกลุ่ม ด้วยความทะเยอทะยานของพวกเขาเหล่านั้น จึงทำให้มีองค์กรชั้นนำและเครื่องมือใหม่ ๆ มาเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับคนบนโลกนี้อย่างมากมาย เช่น เครื่องจักร แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เป็นต้น แต่ถ้าให้พูดถึงลักษณะของบุคคลทั่วไปที่ต้องการไล่ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาแบบไม่รอใคร จะต้องเรียนรู้จากการ Re-skill หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง โดยมุมมองของ Disruptor มีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน ดังนี้

  • ด้านการทำงาน ที่พนักงานต้องเรียนรู้เครื่องมือใหม่ ๆ ที่ถูกพัฒนาเพื่อนำมาช่วยให้การทำงานของเราง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่ทำ ยกตัวอย่างเช่น พนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมโฆษณาจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้เครื่องมือการตลาดที่เกี่ยวข้องกับ Martech (Marketing Technology) เป็นต้น อย่าปล่อยให้ทักษะของเราล่าหลัง แต่จงเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับเทรนด์อุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ด้านการใช้ชีวิต ที่เราทุกคนต้องปรับตัวตามให้ทันกับเครื่องมืออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่มีอายุในช่วง 50 - 60 ปี เริ่มหันมา Re-skill การใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น และหันมาเสพข่าวสารผ่านหน้าจอมือถือแทนการดูโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ หรือฝึกใช้แอปพลิเคชันมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับชีวิต เพราะฉะนั้น การปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ย่อมเป็นผลดีกับเราทุกคน

Image result for digicup logo

ติดตามสาระน่ารู้จาก Digicup คลิก!

shutterstock_105499757

The Creative (คนหัวศิลป์)

ความคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะที่ตลาดแรงงานดิจิทัลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคนที่มีลักษณะเป็นนักคิด นักเขียน หรือผู้นำทางความคิด เช่น ฌอน บูรณะหิรัญ และขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร ต่างมีคุณลักษณะของนักประดิษฐ์และนักประยุกต์ที่สามารถหยิบจับเครื่องมือต่าง ๆ มาทำงานให้เกิดความสร้างสรรค์ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ในอุตสาหกรรมครีเอทีฟคนที่ทำงานในตำแหน่ง Creative Art Director หรือ Content Writer ต้องรู้จักการนำข้อมูลทางสถิติ อย่างเช่น Facebook Statistics Report มาวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์สร้างสรรค์ผลงานโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
  • คนในวงการอาหาร เช่น เชฟ ถ้าอยากรังสรรค์อาหารที่แตกต่างไม่ซ้ำใคร ต้องนำเครื่องมือการปรุงอาหารที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้กับการปรุงอาหารให้กลายเป็นเมนูที่น่าสนใจ ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม การมีจิตวิญญาณของความเป็นนักคิดสร้างสรรค์คืออีกหนึ่งคุณสมบัติเด่นที่ทำให้เรารอดพ้นจากการถูก Disrupt ด้านทักษะในยุค Digital Disruption

 

The Outside-The-Box Thinker (คนช่างคิด)

การคิดนอกกรอบเป็นอีกหนึ่งทักษะที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในรายละเอียดของคุณสมบัติประกาศรับสมัครงาน ทุกองค์กรต่างต้องการคนที่คิดนอกกรอบเข้ามาร่วมงาน เพราะผู้บริหารต้องการเห็นผลการดำเนินงานที่สร้างความแตกต่างเสมอ ไม่ใช่เพียงอาชีพในสายงานดิจิทัลหรือครีเอทีฟเท่านั้นที่ต้องการคนช่างคิด แต่ทุกอาชีพต่างต้องการบุคลากรที่คิดนอกกรอบเหมือนกันหมด ยกตัวอย่างการทำงานที่คิดนอกกรอบ ดังนี้

  • หน่วยดับเพลิงที่ใช้รถวิทยุบังคับติดกล้องเข้าไปตรวจค้นอาคารที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปได้
  • อาจารย์ที่ใช้สื่อนอกตำราเรียนมาสอนนักเรียนในห้อง เช่น วิดีโอสารคดี สอนภาษาอังกฤษผ่านการร้องเพลง
  • Interior Designer ที่นำวัสดุเหลือใช้มาตกแต่งภายในอาคาร ซึ่งเป็นทักษะที่ AI ไม่สามารถทำได้

"เกรดเฉลี่ย วัดความรับผิดชอบ ส่วนทักษะใหม่ที่โลกต้องการ วัดพัฒนาการของคน"

การเป็น Disruptor ต้องมีไหวพริบที่สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงก่อนใคร และนำความเปลี่ยนแปลงนั้นมาสร้างโอกาสให้กับตัวเองจนประสบความสำเร็จ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับเรา เพียงรู้จักการ Upskill ให้ถูกทาง เราก็จะกลายเป็นบุคคลที่ตลาดแรงงานต้องการ และยังทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างคล่องตัวด้วยทักษะด้านดิจิทัล

เรียนรู้ระดับของภาวะผู้นำที่บทความ: 5 ระดับ ภาวะผู้นำ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้

 

Image result for digicup logo

ติดตามสาระน่ารู้จาก Digicup คลิก!

Facebook LinkedIn Twitter Instagram YouTube

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts