เทคนิคประเมิน Skills ตนเองให้เหมาะสมกับอาชีพ

Audio Version
เทคนิคประเมิน Skills ตนเองให้เหมาะสมกับอาชีพ
7:53

เทคนิคประเมิน Skills ให้เหมาะสมกับอาชีพของตนเอง มีอยู่หลากหลายวิธีให้ผู้บริหารหรือพนักงานเลือกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบว่าเราต้องปรับปรุงตัวเองอย่างไรบ้าง และควรเรียนรู้เพิ่มเติมทักษะไหนเป็นพิเศษ องค์กรสามารถทำการประเมินทักษะพนักงานเป็นประจำทุก ๆ ปี หรือตัวพนักงานเองก็สามารถหาเทคนิคการประเมินต่าง ๆ มาประเมินความรู้ความสามารถของตัวเองได้ เพื่อดูว่าทักษะเดิมที่เรามีอยู่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ทำในปัจจุบันหรือไม่ หรือถ้าเรากำลังมองหางานใหม่ตำแหน่งงานอะไรบ้างที่เหมาะสมกับทักษะของเรามากที่สุด ในปัจจุบันมีลักษณะงานหรือวิธีการทำงานที่เปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงเกิดคำถามที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าเราควร Re-skill และ Upskill อย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ตัวเองมีทักษะสดใหม่ตามเทรนด์อุตสาหกรรมที่โลกกำลังต้องการ

 

การประเมินทักษะตนเอง แบ่งเป็นการประเมินบุคคล 2 ประเภท ได้แก่

  • นักศึกษาจบใหม่
  • คนที่มีตำแหน่งงานประจำอยู่แล้ว และอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

 

การประเมินทักษะสำหรับนักศึกษาจบใหม่

สำหรับคนที่กำลังจะเรียนจบและเริ่มมองหางานประจำ มี 2 เรื่องที่ต้องประเมินตนเองก่อนที่จะยื่นใบสมัครงานไปที่ไหน ได้แก่ Hard Skills (ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในสายงานหรือตำแหน่งงานที่สนใจ) และ Soft Skills (ทักษะด้านสังคม)

Hard Skills จะเป็นทักษะด้านความรู้และเทคนิคที่ชูจุดเด่นของเราจากเรซูเม่ให้ถูกคัดเลือกไปสัมภาษณ์งาน ส่วน Soft Skills จะเป็นทักษะที่เพิ่มโอกาสให้เราประสบความสำเร็จในการหางาน เพราะ Soft Skills เป็นทักษะด้านบุคลิกภาพที่สร้างเสน่ห์ให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การแสดงออกทางภาษากาย และการเข้าสังคม หลายคนตกม้าตายตอนสัมภาษณ์เพราะไม่มีทักษะด้านสังคม หรือ Soft Skills ดังนั้น เพื่อให้การหางานเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับนักศึกษาจบใหม่ เราควรเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ

shutterstock_1187460652

การประเมินทักษะสำหรับคนวัยทำงาน

ในฐานะผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือเจ้าของธุรกิจ เราจะประเมินทักษะและความสามารถของพนักงานในองค์กรได้อย่างไร เรามาดูเทคนิคการประเมินทักษะ (Skills Assessment) ให้เหมาะสมกับอาชีพ ด้วย 5 เทคนิคที่มีวิธีการประเมินที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

ประเมินระหว่างทักษะด้านเทคนิคและทักษะด้านสังคม

ทักษะด้านเทคนิคก็คือ Hard Skills เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานว่าตอนนี้ทักษะที่ติดตัวเราควรจะพัฒนาต่อยอดเรื่องอะไรบ้าง หรือที่เราเรียกว่า Upskill ส่วนทักษะเรื่องอะไรที่เรายังไม่รู้ก็ควรเรียนรู้ติดตัวเอาไว้ เช่น ถ้าเราเป็นนักเขียนโฆษณา เราอาจจะเรียนรู้เรื่องการซื้อมีเดียโฆษณาเพิ่มเติมเพื่อจะได้เข้าใจมุมมองของการทำคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น

ทักษะด้านสังคมก็คือ Soft Skills เป็นทักษะด้านบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน เช่น ทักษะการเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงาน ทักษะการสื่อสาร และทักษะทางอารมณ์ เป็นต้น หากเราเป็นพนักงานขายที่ขาดความมั่นใจในการสื่อสารกับคน เราต้องกลับมาดูว่าตัวเองควรปรับปรุงทักษะด้านไหน และสาเหตุที่ทำให้เราขาดความมั่นใจในการสื่อสารเกิดจากอะไร โดยทักษะด้านสังคมจะเป็นตัวผลักดันทักษะด้านเทคนิค (Hard Skills) ให้เราก้าวหน้าในอาชีพ การประเมินทักษะตนเองด้วยเทคนิคนี้จะทำให้เราเห็นภาพรวมระหว่าง Hard Skills และ Soft Skills ได้ชัดเจนขึ้น

 

มุ่งเน้นประเมินทักษะเฉพาะด้านของบุคคล

การทดสอบทักษะเพียงรูปแบบเดียวกับพนักงานทั้งหมดขององค์กรอาจจะไม่ได้ทำให้พวกเขาได้แก้ไขทักษะที่เป็นจุดด้อยของตัวเองได้ตรงจุด เราควรมุ่งเน้นประเมินทักษะเฉพาะด้านของพนักงานแต่ละคน ซึ่งจะทำให้เราได้ค้นพบปัญหาส่วนตัวที่เป็นจุดด้อยของเราจริง ๆ เช่น พนักงานตำแหน่ง Digital Marketing ที่ต้องถูกทดสอบโดยใช้เครื่องมือการตลาดต่าง ๆ หรือพนักงานตำแหน่ง Content Writer อาจจะถูกทดสอบด้านการเขียนเพื่อแก้ไขปัญหาการสะกดคำผิด เป็นต้น

Image result for digicup logo

ติดตามสาระน่ารู้จาก Digicup คลิก!

shutterstock_444341371

ประเมินทักษะจากการปฏิบัติงานจริง

ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการปฏิบัติงานจริง เพราะการฝึกฝนคือการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือที่เราเรียกกว่าการจับมือทำ คงไม่มีผู้บริหารคนไหนที่อยากเห็นพนักงานปฏิบัติงานล้มเหลว เพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานของเราจะปฏิบัติงานได้ถูกต้อง จะต้องมีการประเมินทักษะจากการลงมือทำจริง ๆ เช่น การทดสอบวิธีการ Setting Ads โฆษณาของเหล่าพนักงานฝ่ายการตลาด เพื่อเช็กว่าพนักงานแต่ละคนมีวิธีคิดวิเคราะห์อย่างไร วิธีนี้จะเป็นวิธีการที่ทำให้พนักงานที่ปฏิบัติงานผิดมาตลอดได้ Upskill ปรับปรุงวิธีการทำงานของตัวเองให้ดีขึ้น

 

รับคำติชมจากเพื่อนร่วมงาน

การฟังคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงานในทีมเดียวกันหรือจากหัวหน้าทีมถึงผลการปฏิบัติงานของเรา คือการรับฟังการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองโดยไม่ต้องใช้เวลาในการทดสอบมาก เพียงขอให้เพื่อนร่วมงานทุกคนในทีมแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของเราและที่สำคัญต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลการประเมินจากพนักงานในทีมเดียวกันไม่ได้มาจากเรื่องส่วนตัว

 

สอบถามความคิดเห็นจากลูกค้า

การสอบถามความพึงพอใจของผลการปฏิบัติงานจากลูกค้า คือการได้รับรู้ถึงผลการทำงานของพนักงานในมุมมองของลูกค้าที่เรามองไม่เห็นจุดบกพร่องของตัวเอง และที่พิเศษไปกว่านั้นคือเราจะได้รับรู้ถึงความต้องการของลูกค้าว่าต้องการให้เราปรับปรุงการทำงานอย่างไร และนำผลประเมินจากลูกค้ากลับมาพิจารณาตัวเอง ว่าควรเรียนรู้ทักษะอะไรเพิ่มเติมเพื่อนำทักษะนั้นมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของตน

"มนุษย์ส่วนใหญ่จะรู้จุดอ่อนของตัวเองดีที่สุด ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะแก้ไข หรือปล่อยไว้แบบเดิม"

ทักษะเป็นสินทรัพย์ที่พนักงานทุกคนต้องมีเปรียบเหมือนพลังขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต เมื่อไรก็ตามที่องค์กรไม่มีการประเมินทักษะความรู้ความสามารถของพนักงานเลย เท่ากับว่าองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรของตน และตัวพนักงานเองก็ต้องกระตุ้นให้ตัวเองมีพัฒนาการที่ดีขึ้นด้วย เทคนิคการประเมินทักษะทั้ง 5 เทคนิคนี้ คือแนวทางการประเมินทักษะตนเองเพื่อสำรวจว่าเราเหมาะสมกับอาชีพที่ทำหรือไม่ อย่างไรก็ตามการประเมินขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรและแต่ละคนว่าจะเลือกใช้เทคนิคไหนมาประเมินทักษะ

เรียนรู้ทักษะภาวะผู้นำที่บทความ: 5 ระดับ ภาวะผู้นำ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้

Source : [1] [2]

Image result for digicup logo

ติดตามสาระน่ารู้จาก Digicup คลิก!

Facebook LinkedIn Twitter Instagram YouTube

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts