แนวคิดเรื่อง งบประมาณในการทำการตลาด สำหรับผู้เริ่มจะทำการตลาดออนไลน์ จากประสบการณ์ในการให้บริการด้านการตลาดมามากกว่า 10 ปีของเรา หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่มักได้รับเมื่อมีผู้ติดต่อเข้ามาคือ “ผมเพิ่ง เริ่มธุรกิจ เป็นธุรกิจใหม่ที่ทำเกี่ยวกับ…….ขอทราบราคาค่าบริการในทำการตลาดหน่อยว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร จะได้ ตั้งงบการตลาด” กรณีแบบนี้เรามักจะตอบคำถามให้กับลูกค้าออกเป็น 2 แนวทางคือ..
แนวทางในการ ตั้งงบการตลาด สำหรับผู้ เริ่มธุรกิจ ใหม่ที่ควรรู้
แนวทางในการ ตั้งงบการตลาด แบบที่ 1
งบประมาณขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และสิ่งที่ต้องการคุณต้องการ เช่น อยากได้คนมาลงทะเบียน อยากให้คนเข้าเว็บไซต์ หรืออยากให้คนมา Engagement กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับสภาพตลาดและการแข่งขันในตลาดของแต่ละธุรกิจในช่วงเวลานั้นๆ อีกด้วย และอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คุณเคยทำการตลาดออนไลน์มาหรือเปล่า เคยมีการเก็บข้อมูลไว้หรือไม่ เช่น จำนวนรายชื่อที่เป็นลูกค้า คนที่เข้าเว็บไซต์ คนที่ดูวิดีโอ คนที่ Engagement ในช่องทางต่างๆ ถ้าหากว่าเคยทำ ควรจะมีข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการเอามาดำเนินการวางแผนทางการตลาดเบื้องต้น แล้วจะได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการตามแผนนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
แนวทางในการ ตั้งงบการตลาด แบบที่ 2
ส่วนต่อมาจะเป็นอีกแนวทางที่สามารถนำเอาไปใช้คำนวณ เพื่อให้ได้งบประมาณที่จะใช้ในการทำการตลาด ในโอกาสนี้ขออธิบายขยายความอย่างละเอียด เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจอาจนำไปลองวางแผนเรื่องงบประมาณได้ด้วยตัวท่านเอง
สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการคือ คุณต้องประมาณการว่าลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าหรือรับบริการของคุณ โดยเฉลี่ยแล้วต่อวันหรือต่อเดือนจะมีประมาณกี่คน และคุณยังต้องประมาณการอีกด้วยว่าลูกค้าแต่ละคนที่เข้ามา เขาจะซื้อสินค้าหรือบริการโดยเฉลี่ยแล้วกี่บาทต่อคน
ตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งเป็นธุรกิจให้บริการสปา ประมาณการลูกค้าต่อวันจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 20 ครั้ง (ราย) ต่อวัน ดังนั้นภายใน 1 เดือน (30 วัน) จะมีผู้เข้ามาใช้บริการทั้งสิ้นประมาณ 600 ครั้ง (ราย) โดยเฉลี่ยค่าบริการต่อครั้งจะอยู่ที่ 2,000 บาท โดย 1 เดือนจะมีรายได้ประมาณ 1,200,000 บาท ถ้าต้องการประมาณการรายได้ต่อปี เราก็จะคูณจำนวนเดือนเข้าไปก็จะได้ประมาณ 14,400,000 บาทใน 1 ปี
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องตั้งงบในการทำการตลาดเท่าไร ?
โดยการตั้งงบในการทำตลาดของเราจะคำนวณจากการประมาณการรายได้ต่อเดือน หรือต่อปีที่คาดว่าจะได้รับ โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์ เช่น 10 20 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในการกำหนดงบประมาณทางการตลาด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับธุรกิจ Marketing stage ว่าธุรกิจของคุณอยู่ในจุดไหน มีวัตถุประสงค์ทางการตลาด และกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นอย่างไร โดยเราจะขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มง่ายๆ ดังนี้
กลุ่มแรก 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เหมาะสำหรับ
-
ธุรกิจสินค้าอุประโภคบริโภค
-
ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายไม่มากนัก
-
ธุรกิจที่ดำเนินการตลาดมาแล้วอย่างต่อเนื่อง
-
ธุรกิจในเฟสเริ่มต้น เริ่มธุรกิจ
-
ช่วงทดลองตลาดก่อนทำการตลาดอย่างจริงจัง
ตัวอย่าง บริการสปาที่กล่าวไว้ข้างต้น ที่มียอดขายรายเดือนประมาณ 1,200,000 บาท ดังนั้น ถ้าเราตั้งงบ 10% เราจะมีงบในการทำการตลาดประมาณ 120,000 บาท
กลุ่มที่สอง 20 - 30 เปอร์เซ็นของยอดขาย เหมาะสำหรับ
-
ธุรกิจบริการ ธุรกิจบริการเฉพาะ
-
ธุรกิจแบบ B2B ที่มียอดขายต่อครั้งเป็นจำนวนมาก
-
ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายพอสมควร
-
ธุรกิจที่ต้องการสร้างการรับรู้ ทำให้คนรู้จักสินค้าหรือแบรนด์สินค้า ซึ่งอาจจะต้องใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งในช่วงเริ่มต้นนี้
นอกจากนั้นอาจใช้กับธุรกิจในกลุ่มแรกที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่ต้องการเข้าสู่ตลาดในช่วงแรกก็อาจกำหนดงบไว้ที่ 20-30 ปอร์เซ็นของยอดขาย ในช่วงแรกได้เหมือนกัน
กลุ่มที่สาม 30 - 40 เปอร์เซ็นของยอดขาย เหมาะสำหรับ
-
ธุรกิจที่ว่างเป้าหมายในระดับ Mass
-
ธุรกิจต้องการสร้างการรับรู้ในระดับ Mass
-
ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูง และต้องการเข้าสู่ตลาด
-
ธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว ให้แบรนด์ติดตลาดเป็นที่รู้จัก
สรุป
อย่างไรก็ตามการตั้งงบทางการตลาดข้างต้นเป็นเพียงแนวคิด เพื่อใช้ในการประมาณการเบื้องต้นเท่านั้น และเมื่อเราได้ดำเนินการไปแล้วระดับหนึ่งได้ลูกค้าเข้ามาจริงๆ แล้ว เราจะมีข้อมูลมากขึ้น โดยสิ่งที่เราควรจะทราบอย่างแน่นอนหลังจากที่ได้ทำไปแล้วคือ
-
จำนวนลูกค้าที่เราได้มาจริงๆ อาจน้อยกว่าหรือมากกว่าที่ประมาณการไว้อย่างไร
-
ต้นทุนในการได้ลูกค้ามาแต่ละช่องทางเป็นอย่างไร หรือที่เรียกว่า Customer Acquisition Cost ของแต่ละช่องทางเป็นอย่างไร ช่องทางไหนที่มีต้นทุนต่ำสุดและส่งผลดีที่สุด
โดยข้อมูลทั้งสองส่วนนี้มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเราจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์ ปรับงบประมาณทางการตลาด รวมถึงแผนการตลาดซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงจะเรียกว่าเป็นการทำการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) อย่างจริงจังและถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายลง หรือมีต้นทุนต่อการหาลูกค้าแต่ละรายลดลง และมีมูลค่าของลูกค้าที่อยู่กับเรามากขึ้นเรื่อยๆ คือ Customer’s Lifetime Value เพิ่มขึ้นนั้นเอง
No Comments