เราเคยอธิบายเกี่ยวกับ Digital Disruption คืออะไรไว้แล้ว เรามาดูต่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น ทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจหรือนวัตกรรมใหม่ๆ แล้วรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินค้าหรือบริการเดิมที่มีอยู่อย่างไร ต่อไปนี้คือ 7 รูปแบบธุรกิจที่เกิดการ Disruption มากที่สุดในประเทศไทย
7 รูปแบบธุรกิจที่เกิด Digital Disruption ในประเทศไทย
1. รูปแบบการสมัครสมาชิก Subscription Model
Subscription Model เดิมมีหลายสินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการขายขาด เช่น หนัง เพลง หรือแม้แต่กระทั่งซอฟต์แวร์ ปัจจุบันการขายขาดไม่ใช่วิธีที่ได้รับความนิยมเท่ากับรูปแบบการเป็นสมาชิก สามารถดูฟรีฟังฟรีใช้งานฟรีแต่จำกัดการใช้งาน แต่ถ้าอยากใช้งานที่มากขึ้น จะต้องเสียเงินแบบรายเดือนเพื่อใช้บริการได้ไม่อั้น หรือจ่ายเงินตามการใช้งาน เช่น Netflix
2. รูปแบบการขายสินค้าหรือบริการ Freemium Model
Freemium Model มาจากคำว่า Free กับ Premium เป็นการให้บริการฟรีแต่จำกัด จะเก็บเงินก็ต่อเมื่อต้องการใช้งานที่มากขึ้น ซึ่งการใช้บริการฟรี ข้อดีคือได้เรียนรู้ประสิทธิภาพ ได้ใช้งานจริง(เหมือนทดลองใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) ส่วนข้อเสียคือจะมีโฆษณามาคอยกวนใจ และคุณภาพจะไม่ดีเท่ากับการเสียเงิน ถ้าอยากใช้งานที่มีคุณภาพหรือไม่มีโฆษณามากวนใจ คุณก็ต้องจ่ายเงิน เช่น Spotify, Joox
3. รูปแบบสถานที่ขายของ Marketplace Model
Marketplace Model สถานที่ขายของซึ่งทำให้การซื้อขายสินค้าและบริการนั้นไม่ยากเหมือนแต่ก่อน แค่จัดตั้งตลาดออนไลน์ขึ้นมา เพื่อเป็นจุดที่สามารถทำให้คนซื้อและคนขายมาเจอกัน เกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากเพราะสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการจับจ่าย ไม่ต้องเดินหาให้เมื่อย เช่น eBay, Amazon, lazada
4. รูปแบบการเข้าถึงผู้ให้บริการ The Access-over-Ownership Model
เป็นรูปแบบธุรกิจที่จะเป็นตัวกลางนำพาผู้บริโภคเข้าถึง สินค้าและบริการของแบรนด์ต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ AirBnB, FavStay จัดหาที่พักให้แล้วส่งถึงมือผู้ใช้บริการโดยตรง โดยเก็บรายได้จากค่าบริการ (commission)
5. รูปแบบอำนาจทางการตลาดขนาดใหญ่ Hypermarket Model
ไม่ได้หมายถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น Tesco Lotus, Big C แต่มีลักษณะคล้ายกัน แต่แค่อยู่ในรูปแบบของตลาดออนไลน์ โดยใช้อำนาจทางการตลาดขนาดใหญ่ ทำให้มีสินค้าให้เลือกหลากหลายและมีความน่าสนใจ สามารถซื้อของทุกอย่างที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้ในที่เดียว (one-stop shop) ที่สำคัญทำให้สามารถขายต่ำกว่าทุนได้ ทำให้บางครั้งซื้อของใน Amazon, lazada จึงมีราคาถูกกว่าตลาดทั่วไป เพียงเพื่อให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อจากเขา
6. รูปแบบบริการตามความต้องการ The On-Demand Model
การให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการแบบต่างๆตามความต้องการ โดยที่ไม่มีเวลาแต่มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ โดยให้ผู้ที่มีเวลาไปทำแทน การบริการนั้นจะกินส่วนต่างจากค่าบริการ เป็นรูปแบบที่จับคู่คนที่อยากได้เงินมาบริการคนที่มีเงินแต่ไม่มีเวลา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือ Uber, Line Man
7. รูปแบบความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน Ecosystem Model
ในหลายบริษัทส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์ Ecosystem Model ในการขายสินค้าและบริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Google และ Apple ที่ขายสินค้าและบริการที่มีเชื่อมโยงกันทั้งระบบ เช่น สมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่น หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ ซึ่งเป็นของเฉพาะหรือใช้ควบคู่กัน เพื่อให้ผู้บริโภคจำเป็นต้องซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จึงเป็นระบบบังคับที่ปฏิเสธไม่ได้
สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter
No Comments