<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

ธุรกิจ Startup มีกี่ประเภท

Startup คือธุรกิจที่เริ่มต้นโดยใช้กำลังคนไม่มากนัก ภาพรวมอาจจะไม่ต่างจากธุรกิจ SMEs ที่เริ่มต้นจากการก่อตั้งบริษัทเล็ก ๆ ขึ้นมา แต่ Startup ส่วนใหญ่มักจะเป็นธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถพัฒนาให้ธุรกิจให้ก้าวกระโดดไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าวันนี้เราเป็นคนหนึ่งที่อยากทำ Startup เป็นของตัวเองจากไอเดียที่ผุดขึ้นมา หรือกำลังรวมทีมและมุ่งหน้าสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมาในเร็ว ๆ นี้ เราไปทำความรู้จักกับ Startup 6 ประเภท กันก่อน และสำรวจว่าเราเป็น Startup ประเภทไหน

 

Big Business Startups

เป็น Startup ที่มีเงินทุนมากและอยู่ในตลาดที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนสําหรับสิ่งที่พวกเขาได้นำเสนอแผนธุรกิจหรือสินค้ามานานหลายปี อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีผลกําไรมากขึ้นและสร้างรายได้ได้จริง Startup ที่มีเงินสนับสนุนจากนักลงทุนกลุ่มใหญ่ จะต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่ช่วยเร่งให้ธุรกิจเติบโตเร็วและบรรลุเป้าหมายของตัวเอง ส่วนมาก Startup ที่ประสบความสำเร็จได้เร็ว มักจะเกิดจากการลองผิดลองถูกและวิจัยตลาดมานานพอที่จะรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง เมื่อมีทีมนักพัฒนาหรือ Developer ที่พร้อมและบวกกับสินค้าไปเตะตากลุ่มนักลงทุนหรือเป็นที่ยอมรับของตลาด โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตแบบก้าวกระโดดก็มีความเป็นไปได้สูง อย่างเช่น Bitkub เป็น Startup ในวงการ Cryptocurrency สัญชาติไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะมีวิสัยทัศน์และแนวทางในการทำธุรกิจที่นักลงทุนมองเห็นว่าจะเป็นธุรกิจที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการเงินการลงทุนของประเทศไทย

 

Social Entrepreneurship Startups

ในโลกนี้มีคนที่กำลังสร้างองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Nonprofit) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์สูงสุดคือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขา เป้าหมายหลักขององค์กรเพื่อสังคมคือการทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น เพราะบริษัทหรือองค์กรของพวกเขาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำกำไรเป็นเป็นหลัก เราถือว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรเป็น Startup เพื่อสังคม พวกเขากำลังเริ่มต้นเส้นทางสู่การสร้างความมั่นคงเพื่อสร้างโลกให้ดีกว่าเดิม

 

Buyable Startups

ความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในยุคปัจจุบันเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นและมีนักพัฒนาเก่ง ๆ หลายคนเกิดขึ้นมาใหม่หลายคน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นแอปพลิเคชันที่เกิดใหม่เพิ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ บางทีคนที่สร้างสรรค์แอปพลิเคชันอาจตั้งเป้าหมายไว้คือการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับโลก แต่สุดท้ายเมื่อแอปพลิเคชันได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่คนทั้งโลกสนใจ สุดท้ายอาจจะถูกซื้อกิจการโดยองค์กรยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น Instagram ที่ถูก Facebook ซื้อไปด้วยมูลค่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น Startup ที่ได้สร้างสรรค์สินค้าออกมาให้ประสบความสำเร็จแล้ว และถูกซื้อกิจการไป เราเรียก Startup ประเภทนี้ว่า Buyable Startups

 

Scalable Startups

Startup ที่สามารถปรับขนาดได้หรือการขยายธุรกิจให้โตขึ้น มีการพัฒนาสินค้าหรือบริการได้อย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เราอาจได้เห็นจาก Tech Startups ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีมีศักยภาพอย่างมากที่จะเติบโตเนื่องจากทุกอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัวเข้าสู่โลกเศรษฐกิจดิจิทัลกันมากขึ้น จึงเป็นแรงส่งให้ Tech Startups สามารถเข้าถึงตลาดโลกได้ การปรับขนาด (Scalable) ได้นั้นไม่ได้เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการปรับขนาดเพียงปัจจัยเดียว แต่ยังรวมถึงศักยภาพของธุรกิจที่วางแนวทางในการวิจัยและพัฒนาสินค้าขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับเงินทุนจากนักลงทุนและเติบโตไปทั่วโลก

 

Small And Medium-Sized Enterprise Startups

Startup สำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางคือธุรกิจ SMEs หรือไม่ หรืออาจจะไม่ได้มีรูปแบบเหมือนกันเสมอไป เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางหรือเล็กสามารถจำแนกตามขนาดขององค์กร บุคลากร หรือตามจำนวนรายได้ที่พวกเขามี สิ่งที่ SMEs กับ Startup มีเหมือนกัน คือธุรกิจเหล่านี้มักจะเริ่มต้นด้วยอุดมคติของผู้ก่อตั้งหรือกลุ่มผู้ก่อตั้งเพื่อแก้ปัญหาความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการขนาดกลางหรือขนาดเล็กในระยะที่กำลังก่อตั้งไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทที่มีความซับซ้อนมากนักจึงถือว่าเป็นบริษัทที่สามารถเริ่มต้นบริหารจัดการได้ดี วิธีการสร้างความมั่งคั่งของธุรกิจแบบดั้งเดิมคือการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยรูปแบบธุรกิจที่เคยมีใครหลายคนเคยใช้แบบแผนนั้น ๆ หรือโมเดลนั้น ๆ มาแล้ว หรือถ้าเป็น Startup ที่ขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัลอาจใช้แผนใหม่ที่ดีกว่าแบบแผนธุรกิจทั่วไป

 

Lifestyle Startups

สำหรับคนรักงานอดิเรกที่ทำงานด้วยความรักที่แท้จริงอาจอยู่ในกลุ่ม Startup ประเภท Lifestyle Startups พวกเขามักจะเป็นคนที่ต้องการตอบสนองความต้องการของพวกเขาด้วยการอยู่ในกิจกรรมที่พวกเขาชอบทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น คนรักดนตรีที่ตัดสินใจเปิดโรงเรียนสอนดนตรีเพื่อใช้เวลากับสภาพแวดล้อมที่ตนเองชอบมากขึ้น หรือการทำ Startup จากแนวคิดเพื่อเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น

Replay Webinar Marketing Plan 2021

เราเชื่อว่ามีใครหลายคนที่ชอบจินตนาการถึงภาพที่ตัวเองได้สร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เช่น จินตนาการว่าได้ขึ้นไปนำเสนอไอเดียธุรกิจบนเวทีระดับโลก จินตนาการว่า Startup ของเราสามารถเปลี่ยนโลกได้จริง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามีไอเดียธุรกิจที่ดีก็ต้องมีทีมงานที่ดีด้วยเช่นกัน Startup ไม่จำเป็นต้องมีทีมที่ใหญ่โต เพียงมีคนที่มีคุณภาพและพร้อมใจฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน เชื่อมั่นในแนวทางของตัวเองก็สามารถประสบความสำเร็จได้

 

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts