5 ระดับ ภาวะผู้นำ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้

Audio Version
5 ระดับ ภาวะผู้นำ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้
4:06

ภาวะผู้นำ คือภาวะหนึ่งที่แอบแฝงอยู่ในตัวและทุกคนสามารถแสดงความเป็นผู้นำได้ทุกเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือตำแหน่งทางสังคม โดยภาวะความเป็นผู้นำจะมีหลายระดับ ซึ่งในแต่ละระดับจะมีความสอดคล้องกับความสามารถและการประพฤติตนของบุคคลนั้น รวมถึงการยอมรับจากคนรอบข้าง โดย Dr. John C. Maxwell ได้มีแนวคิดถึงความเป็นผู้นำทั้ง 5 ระดับดังนี้

 

Position Level

ภาวะผู้นำ

คือผู้นำที่ถูกแต่งตั้งโดยตำแหน่ง ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับฟังคำสั่งและต้องทำตาม เช่น โครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการกำหนดระดับตำแหน่งงานต่างๆ ตั้งแต่ระดับล่างสุดขึ้นไปจนถึงระดับบนสุด แล้วบริหารงานโดยใช้ผู้นำตามตำแหน่งงานนั้นๆ ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเชื่อฟังเพราะเป็นผู้นำตามโครงสร้างที่องค์กรกำหนด ไม่ใช่เชื่อฟังเพราะเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้นำ

Permission Level

shutterstock_524360428

คือผู้นำที่ถูกแต่งตั้งโดยได้รับความนิยมและชื่นชอบจากผู้ใต้บังคับบัญชา สาเหตุมาจากการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้นำระดับนี้จะมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความต้องการที่จะปฏิบัติตามและกล้าเข้าหาโดยไม่เคอะเขิน ส่วนใหญ่เราจะเห็นความสัมพันธ์ในระดับนี้กับองค์กรขนาดเล็กที่ทำงานกันแบบครอบครัว

Production Level

shutterstock_1354261826

คือผู้นำที่ได้แสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นแล้วว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ และคุณสมบัติเด่นของหัวหน้าที่กระตือรือร้นคือเป็นคนที่บริหารการทำงานแบบ Productive ในทุก ๆ วัน โดยผู้นำประเภทนี้จะแสดงอิทธิพลเชิงบวกให้กับคนในองค์กร เช่น ในสายตาของคนในองค์กรจะมองว่าผู้นำคนนี้มีความสามารถแก้ไขปัญหาได้เสมอ จนคนในองค์กรเริ่มเกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำคนนั้น เป็นแรงขับเคลื่อนให้คนในทีมขยันทำงานตาม

People Development Level

shutterstock_1043108527

เป็นผู้นำที่ชอบส่งเสริมคนในองค์กรให้มีทักษะและความสามารถเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาการเกิดความรู้สึกรักองค์กรที่ช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีและทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น ผู้นำที่ชอบแบ่งปันความรู้และชอบพัฒนาคน นอกจากจะมีคนศรัทธาในตัวเขาแล้ว ยังทำให้องค์กรมีกลิ่นอายแห่งการเรียนรู้และมีแต่คนเก่งๆ อยากทำงานด้วยในระยะยาว

Personhood Level

shutterstock_547734928

เป็นผู้นำที่ได้รับความเคารพนับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชาการ นับว่าเป็นระดับสูงสุดจากระดับผู้นำที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งผู้นำในระดับนี้ไม่ได้ได้รับความเคารพนับถือจากการมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ได้รับความเคารพจากการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่นมามากมายจนเป็นที่ยอมรับของทุกคน เป็นผู้ที่ให้แรงบันดาลใจให้ผู้อื่นทำงานประสบความสำเร็จ และยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นทั้งในเรื่องของศีลธรรมและการทำงาน


"แท้จริงแล้ว ผู้นำที่ดี คือผู้ที่ยึดถือเอาธรรมะมาปรับใช้กับตนเองและองค์กร"

 

การเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แค่เป็นต้นแบบในการทำงานเท่านั้น แต่ต้องประพฤติตนให้เป็นที่น่าเคารพในสายตาของผู้อื่นด้วย หากเราได้รู้ระดับความเป็นผู้นำทั้ง 5 ระดับแล้ว ลองพิจารณาตัวเองดูว่าตอนนี้เราเป็นผู้นำที่อยู่ในระดับไหน และนำแนวคิดผู้นำทั้ง 5 ระดับไปปรับใช้กับตัวเอง เพื่อที่จะได้พัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ใคร ๆ ก็รักและอยากร่วมงานด้วย ถ้าเราอยากเรียนรู้วิธีการสร้างภาวะความเป็นผู้นำให้กับตัวเอง สามารถเรียนได้ที่ คอร์ส Leader and Coach

 

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts