<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

ธุรกิจต้องรับมืออย่างไร เมื่อ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง

อย่างที่หลายท่านทราบกันดี ว่าไวรัส COVID-19 นั้น เป็นไวรัสที่ติดกันง่ายและระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซ้ำยังเป็นโรคใหม่ ทำให้การรักษานั้นเป็นไปได้ยาก และเนื่องจากการระบาดอย่างรวดเร็วนี่แหละ ส่งผลให้การใช้ชีวิต พฤติกรรมของผู้บริโภคต่าง ๆ เช่น การใช้จ่าย การท่องเที่ยว การเดินทางต่าง ๆ ได้ปรับเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้หลายธุรกิจปิดตัวลง และก็มีอีกหลายธุรกิจที่ได้โอกาสจากสถานการณ์นี้ในการขยายช่องทางการตลาดด้วยเช่นกัน ซึ่งการรับมือกับสถานการณ์ในรอบแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว มีกลยุทธ์ด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้

shutterstock_446643151

กลยุทธ์การรับมือสถานการณ์โดยทันทีหรือในช่วงสั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่จะระบาดจากคนสู่คนไปอย่างรวดเร็วในองค์กรของตัวเอง ต้องตะหนักถึงความสำคัญในการทำงานและความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อได้ง่าย หากต้องทำงานร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัส หรืออาจมีการพิจารณาในการปิดกิจการหรือหยุดงานชั่วคราว เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อและเซฟพนักงานและตัวเจ้าของธุรกิจเอง

กลยุทธ์การฟื้นฟูหลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เป็นกลยุทธ์ที่จะทำหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลงจนเกือบอยู่ในภาวะปกติ มองการตลาด ณ ตอนนั้นให้ออก เมื่อสถานการณ์คลี่คลายนั้นเป็นอย่างไร ต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำการตลาดในรูปแบบใหม่เพื่อให้เข้าถึงการตลาดมากกว่าเดิมหรือเปล่า รวมถึงฟื้นฟูยอดขายให้กระเตื้องขึ้นและกลับไปสร้างรายได้ให้มากกว่าตอนที่สถานการณ์ COVID-19 กำลังระบาด

กลยุทธ์การปรับตัวสู่ภาวะปกติสืบเนื่องไปในระยะยาว กุญแจสำคัญหลังจากที่กลับมาสู่ภาวะปกติแล้วคือจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเราไปต่อได้ในระยะยาว การให้ความมั่นใจกับพนักงานได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาจนต้องเชิญพนักงานออกอีก ดูตลาดใหม่หลังไวรัสที่กำลังระบาดอยู่สิ้นสุดลงและวางแผนให้สามารถดำเนินกิจการไปได้ในระยะยาว แม้จะเกิดการระบาดอีกครั้งก็จะสามารถรับมือได้เหมือนเดิม

ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ได้มีมาตรการที่เหมือนกันคือการล็อกดาวน์ประเทศ เพื่อไม่ให้คนในออกไปและไม่ให้คนนอกเข้าประเทศมาเพื่อแพร่เชื้อ พร้อมทั้งสั่งกำชับให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านเรือนและอาคารที่พักของตัวเอง เพื่อป้องกันการระบาดมากขึ้น จนสถานการณ์ทั้งหมดดีขึ้น รัฐบาลในหลายต่างประเทศต่างประกาศคลายล็อกดาวน์และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ก็ยังมีบางประเทศ ที่เมื่อประกาศคลายล็อกดาวน์แล้ว กลับเกิดการระบาดของไวรัสอีกครั้ง

อย่างเช่น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้มีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกครั้ง ไม่ใช่ผลมาจากการเปิดประเทศ แต่เป็นประชาชนในเมืองที่แพร่เชื้อกันเอง หลังจากที่ปราศจากเชื้อไวรัสมาแล้วกว่า 50 วัน โดยทางการจีน คาดว่าเชื้อไวรัสมาจากเขียงปลาแซลมอนนำเข้า หลังจากพบเชื้อก็ได้ทำการสั่งปิดตลาดแห่งนั้นและระแวกใกล้เคียงในทันที

shutterstock_1641857584

นอกจากนั้นในประเทศเกาหลี ก็ได้มีการยืนยันออกมาแล้วว่าได้เกิดการระบาดอีกครั้งและเป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ โดยเชื้อได้มีการแพร่ระบาดจากสถานบันเทิงแห่งหนึ่งในกรุงโซล ซึ่งการกลับมาระบาดครั้งนี้นั้น พบเชื้อทีเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ ๆ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของกรุงโซล ได้ประกาศให้ใช้มาตรการ Social Distancing อย่างเข้มงวดอีกครั้ง 

ซึ่งเมื่อเดือนก่อนในประเทศไทย ก็เกิดเหตุการณ์ที่เหมือนว่าไวรัส COVID-19 จะกลับมาระบาดในประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ไม่มีการระบาดของไวรัสภายในประเทศติดต่อกันหลายสัปดาห์ ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจที่วางใจไปแล้วว่าไวรัสจะไม่กลับมาอีกครั้งและธุรกิจที่พึ่งฟื้นตัวได้ ได้หาวิธีที่จะรับมือกับการระบาดในรอบที่สอง ซึ่งวิธีที่แนะนำสำหรับการรับมือกับไวรัสที่จะกลับมาระบาดครั้ง 2 มีดังนี้

ลดออฟไลน์ หันมาใช้ออนไลน์มากขึ้น
จะเห็นได้ว่าธุรกิจที่ทำออฟไลน์ส่วนใหญ่มักได้รับผลกระทบมากและรุนแรงกว่าธุรกิจที่ทำออนไลน์ เพราะไม่สามารถออกไปทำการตลาดหรือขายสินค้าภายนอกได้ ดังนั้น การปรับและหันมาใช้ออนไลน์มากขึ้น อาจส่งผลดีให้กับธุรกิจ ทั้งยังอาจได้เห็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ให้กับธุรกิจด้วย 

พัฒนาสกิล วางแผนกลยุทธ์รับมือ
ธุรกิจบางแห่งมีความเชื่อมั่นว่าตนเองจะสามารถรอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ดังนั้นก่อนหน้านี้ที่เกิดไวรัสแพร่ระบาด อาจมีการพัฒนาสกิลในการทำงานและวางแผนกลยุทธ์ในการรับมือไว้เรียบร้อยแล้ว ว่าถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้อีกครั้ง ธุรกิจจะผ่านพ้นไปได้เหมือนครั้งแรก 

ให้ความสำคัญกับพนักงานเท่าเดิม
ก่อนหน้านี้ หลายธุรกิจได้มีการปรับลดพนักงานเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ แต่อย่าลืมว่าพนักงานที่ยังอยู่ ก็ตั้งความหวังกับธุรกิจไว้เหมือนกันว่าพวกเขาจะไปรอดพร้อม ๆ กับธุรกิจเช่นกัน ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเท่ากัน ทั้งในเรื่องของเงินเดือน สุขภาพ สวัสดิการทุกอย่าง ควรดูแลให้เหมือนเดิม ยิ่งถ้าเกิดสถานการณ์ COVID-19 อีกครั้ง ก็ต้องให้ความสำคัญกับพวกเขาเหล่านั้นให้เท่าเดิม

วิเคราะห์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สถานการณ์เกี่ยวกับไวรัสที่ระบาดในครั้งนี้ ไม่สามารถคาดเดาได้แน่นอนว่า จะไปดีสุดหรือร้ายที่สุด อาจต้องวิเคราะห์และคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ทำการวางแผนเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาว เผื่อสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ

 

ที่มา : [1], [2]

New Marketing Plan MarTech Plan

New call-to-action

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts