<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

สูตรทำ Business Transformation ใน 4 ขั้นตอน

Audio Version

Business Transformation อาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในความเป็นจริงทุกอย่างมักจะมีสูตรสำเร็จและเทคนิคเสมอ การทำ Business Transformation ก็เช่นกัน

สูตรทำ Business Transformation ใน 4 ขั้นตอน

Business Transformation

 

Step One: การมีวิสัยทัศน์ด้านกลยุทธ์ที่เข้าท่าคือสิ่งจำเป็น

ข้อนี้หมายความถึง ความสามารถในการคาดการณ์ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการและรู้ว่าวิธีใดที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายนั้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการกำหนดขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมถึงการออกแบบระบบภายในและโครงสร้างองค์กร จากการสำรวจพบว่า บริษัทส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์ในด้านการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากการปรับรูปแบบธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง และส่วนที่เหลือจะแบ่งระหว่างผู้ที่มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนกับการเปลี่ยนจากระบบขายส่งเปลี่ยนไปเป็นการใช้แบบจำลองทางธุรกิจแบบมีแบบแผน และผู้ที่มุมมองแคบกว่าและจำกัดการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นเพียงกระบวนการเฉพาะด้านหรือเฉพาะจุดเท่านั้นก่อนที่จะเริ่มลงมือเปลี่ยนแปลงให้พิจารณาคำถามต่อไปนี้: การเปลี่ยนแปลงนี้สำคัญ จำเป็นหรือจะต้องมีการชำแหละระบบองค์กรมากขึ้น หรือแค่จำกัดตำแหน่งที่จะเกิดการเปลี่ยนก็เพียงพอแล้วหรือไม่? สถานะปัจจุบันขององค์กรของคุณเหมาะสำหรับประเภทของการเปลี่ยนแปลงที่คุณเลือกหรือไม่? หรือคุณต้องการจะเปลี่ยนองค์กรก่อนที่จะเปลี่ยนธุรกิจหรือเปล่า?

4 ปัจจัยชี้เป็นชี้ตายในการทำ BUSINESS TRANSFORMATION SUCCESS นั้นมีอะไรบ้าง

 

 

Step Two: การดำเนินการคือส่วนที่ยากที่สุดของการเปลี่ยนแปลง

บริษัทส่วนใหญ่มักมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องแต่การดำเนินการต่างหากที่เป็นส่วนที่ยาก: มากกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงมักจะต้องล้มเหลวก่อน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ต้องการ ประมาณการณ์โดย Stephen G. Hasty ซึ่งเป็นพันธมิตรของ KPMG ผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับให้คำปรึกษาของสหรัฐอเมริกา

ในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรมักจะประมาทและละเลยกับการให้ความสำคัญในการปรับโมเดลการดำเนินงานที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่าง คน กระบวนการทางเทคโนโลยี การจัดการข้อมูล และส่วนประกอบของการบริหารความเสี่ยง ที่จะส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

อีกประเด็นที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ การรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารจัดการความเสี่ยงและการวางแผนนโยบายและกฏข้อบังคับ ที่ถึงแม้จะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงที่ผ่านมา แต่ยิ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อนโยบายและกฎระเบียบ เมื่อการดำเนินงานดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนถึงขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ อาจส่งผลให้องค์กรได้ข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าเพิ่มเข้ามา โดยไม่ต้องเสียเวลาคาดเดา ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางใหม่ๆขององค์กรได้

 

Step Three: สิ่งท้าทายที่สุดในการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นการที่ผู้นำยึดติดอยู่แต่กับความสำเร็จในอดีตหรือปัจจุบันมากจนเกินไป

ผู้บริหารไม่สามารถหลอกตัวเองให้อยู่แต่กับความพึงพอใจจากความสำเร็จในปัจจุบันเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไว้ด้วย การเปลี่ยนแปลงจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจริงจัง เพียงแค่ 18% ของ บริษัทที่สำรวจโดย Forbes Insights และ KPMG เท่านั้นที่ประกาศว่า การเปลี่ยนแปลงของพวกเขาเป็นแบบเบ็ดเสร็จและมีความหลากหลาย

Business Transformation

 

Step Four: ให้มองความต้องการของลูกค้าในมูมกว้างเมื่อเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

ลูกค้าต้องการโซลูชั่นไม่ใช่เฉพาะแค่กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจจึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือพูดให้ถูกก็คือต้องคาดการณ์สิ่งที่ลูกค้าต้องการให้แก้ไขล่วงหน้าได้ การวิจัยที่ครอบคลุมในหัวข้อนี้จะแสดงให้เห็นถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการหาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่ส่งผลต่อลูกค้ามากที่สุดได้

New call-to-action 

สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter

Cr. forbes.com

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts

OGF Podcast