<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

8 หลุมพรางที่ทำให้โปรเจ็ค Digital Transformation ล้มเหลว (ภาคจบ)

Digital Transformation ล้มเหลว (ภาคแรก) มาต่อกันที่ ภาคจบ กับอีก 4 ข้อที่เหลือของ 8 หลุมพรางที่ทำให้ล้มเหลว...ไม่เป็นท่า

Digital Transformation ล้มเหลว

8 หลุมพรางที่ทำให้โปรเจ็ค Digital Transformation ล้มเหลว (ภาคจบ)

5.  ไม่มีผู้นำที่เหมาะสม

ในองค์กรของควรมีใครสักคนที่สามารถเป็นผู้นำได้ ในที่นี้คือคนที่มีอำนาจในการสั่งการและความน่าเชื่อถือมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในหลายครั้งความล้มเหลวที่เกิดขึ้นก็มาจากการที่องค์กรโยนโปรเจ็คไปที่แผนกใดแผนกหนึ่งให้รับผิดชอบเพียงแผนกเดียว อย่างเช่น การให้แผนกไอทีรับผิดชอบโปรเจ็คการทำ Data Transformation เพียงแผนกเดียวแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็ค ซึ่งผลที่ตามมาคือ แม้หัวหน้าแผนกจะเป็นคนมีความสามารถแต่ก็อาจจะขาดสกิลในการเป็นผู้นำ จนทำให้โปรเจ็คไม่ประสบความสำเร็จหรืิไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

Digital Disruption คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ

ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการจัดส่วนความรับผิดชอบให้ชัดเจนและมีคนดูแลโปรเจ็คหรือผู้นำที่มีสกิลในการจัดการบุคลากร และสกิลในการดูแลโปรเจ็ค ส่วนความรู้เฉพาะทางนั้นสามารถเรียนรู้จากแผนกที่เกี่ยวข้องได้

6. ใช้คนไม่ถูกงาน

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว กับคำถามที่ว่าหัวหน้าแผนกไอทีอาจเก่งในด้านการทำงานระบบดิจิตอล แต่อาจไม่ได้หมายความเขาจะถนัดในเรื่องการจัดการ สิ่งสำคัญของการทำ Data Transformation ก็คือ คุณควรแน่ใจว่ามีคนที่ใช่อยู่ในตำแหน่งที่ใช่ เพื่อให้ Data Transformation เกิดขึ้นจริงตามที่ตั้งเป้าไว้ ในการประชุมบอร์ดบริหารคำถามที่ควรเกิดขึ้นคือ ทีมงานมีสกิลดิจิตอลเพียงพอหรือไม่ หรือ ผู้จัดการโครงการสามารถสนับสนุนทีมงานในการทำงานได้ในระดับที่พอใจแล้วหรือยัง เป็นต้น

นอกจากนี้การใช้คนให้ถูกกับงานยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คุณมีทีมงานที่แข็งแกร่งอีกด้วย ซึ่งทีมงานที่ดีย่อมนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีของการทำงาน

7. อย่าให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงมากเกินไป

ลองนึกภาพว่าปีนี้องค์กรของคุณมีการเปลี่ยนการทำงานมาเป็นแบบ Data Transformation อีกหนึ่งปีถัดไปคุณคิดว่าพฤติกรรมการทำงานของพนักงานจะเปลี่ยนไปจากปีที่ผ่านมาสักขนาดไหนกัน? คำตอบคืออาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรโฟกัสจึงไม่ใช่การใส่ใจกับวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งอาจไม่มีผลต่อออฟฟิศของคุณเลย) แต่เป็นการหาบุคลากรที่เป็นศูนย์รวมของบุคลากรคนอื่นๆในออฟฟิศ เพื่อสร้างให้เป็น Influencer ในการค่อยๆปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำงานและรูปแบบการทำงานของเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ

เพราะการใส่ใจและให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมมากจนเกินไปอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับธุรกิจของคุณเลยนอกจากเสียเวลาไปเปล่าๆ

8. ควรมีทีมงานสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

ในการทำ Digital transformation สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การจัดการความเปลี่ยนแปลงแบบฮาร์ดคอร์ที่จะนำมาใช้กับบุคลากรของคุณให้ทำงานกับระบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมสื่อสารภายในองค์กรของคุณจึงต้องทำงานอย่างหนักในแคมเปญที่เกี่ยวกับการกระตุ้นผู้คน การชมเชยความสำเร็จ และการให้กำลังใจเมื่อไหร่ก็ตามที่บุคลากรของคุณรู้สึกว่า Digital transformation เป็นเรื่องยากและมีอุปสรรคมากมายเมื่อต้องใช้งาน

การทำแบบนี้ก็เพื่อให้ทีมสื่อสารภายในองค์กรเป็นเหมือนกับทีมที่คอยกระตุ้นให้คนในองค์กรสามารถปรับตัวและทำงานในองค์กรแบบ Digital transformation ได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ

และนี่ก็คือ Tips เพื่อหลบหลุมพรางในการทำ Data Transformation ซึ่งเราหวังว่าจะสามารถช่วยให้คุณเป็นหนึ่งในองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ในการเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจมาเป็นการทำงานแบบ Data Transformation เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดที่นับวันจะเปลี่ยนไปเป็นตลาดแบบดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ

New call-to-action 

New Marketing Plan MarTech Plan

สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter

Cr. smartinsights.com, startupist.com, hrhero.com. axerosolutions.com, brainpills.info

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts