<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

WEBINAR vs Live Streaming vs Online Meetings แตกต่างกันอย่างไร?

ในช่วงที่ยังมีโรคระบาดแบบนี้ ซ้ำยังไม่รู้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ การปรับทุกอย่างรอบตัวให้เป็นเรื่องของออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ทั้งการทำงาน การชอปปิง รวมไปถึงการจัดประชุม จัดสัมมนา การเรียนการสอน หลาย ๆ ท่านจำเป็นต้องหาช่องทางหรือแพลตฟอร์มที่จะทำให้งานเหล่านี้เกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่ต้องมาเจอกัน และแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารนั้นมีมากมายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งในบทความนี้ จะมาพูดถึงแพลตฟอร์มที่กำลังได้รับความนิยมและมีผู้ใช้งานมากในขณะนี้ ก็คือ Webinar, Live Streaming และ Online Meetings

 

WEBINAR

shutterstock_392113519

สัมมนาหรือประชุมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ที่กำลังได้รับความนิยม การสัมมนารูปแบบนี้จัดว่าเป็นการสัมมนาที่มีความเป็นส่วนตัว เพราะผู้ที่ต้องการเข้าร่วมจำเป็นต้องลงทะเบียนเพื่อรับลิงก์และรหัสเพื่อเข้าร่วมการสัมมนานั้น และในการสัมมนาแต่ละครั้งสามารถมีผู้รับชมจำนวนมากได้ บางสัมมนาอาจมีมากถึง 1,000 คนหรือมากกว่านั้น โฮสต์สามารถแชร์หน้าจอคอมพิวเตอร์ของตัวเองให้กับผู้เข้าร่วมดูไปพร้อมกันได้ แต่จะไม่สามารถทำอะไรกับการสัมมนาได้ นอกจากโบกมือทักทาย สื่อสารกันผ่าน Q&A ตอบคำถามผ่านแบบสำรวจ โดยโฮสต์จะเป็นผู้ควบคุมเปิด/ปิดไมค์ของผู้เข้าร่วม โฮสต์สามารถเพิ่มแขกรับเชิญเข้ามาช่วยในการจัดสัมมนาครั้งนี้ได้ด้วยเช่นกัน

Webinar ไม่เพียงแต่จัดสัมมนาได้เท่านั้น แต่สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้ด้วย และสามารถดึงคนเข้ามาและทำให้สัมมนาของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้นได้ ด้วยการเสิร์ฟความรู้ เนื้อหาที่หลายคนต้องการผ่านการโปรโมทการสัมมนาที่จัดขึ้นหรือสอดแทรกเนื้อหาที่มีความน่าสนใจผ่านการสัมมนา หลังจากนั้นค่อยเข้าสู่กระบวนการของการขาย ถ้าคุณมีเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถทำงานร่วมกับ Webinar ได้ ก็จะสามารถเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมทุกคนได้เช่นกัน

ไม่ได้ออกไปสัมมนาข้างนอก ก็สัมมนาออนไลน์ได้ด้วย WEBINAR

Live Streaming

shutterstock_557205787

Live Streaming หรือที่รู้จักกันในนามของไลฟ์สด เป็นการไลฟ์และเปิดให้สามารถเข้ามาชมได้แบบสาธารณะ ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มสำหรับการไลฟ์สตรีมมิ่งมากมายหลายแพลตฟอร์ม หลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดเลยคือ Youtube Live และ Facebook Live แต่ก็มีหลายแอปพลิเคชันที่สามารถไลฟ์ผ่านแอปพลิเคชันของตัวเองได้ ซึ่งไลฟ์สตรีมมิ่งส่วนใหญ่ถูกออกแบบเพื่อให้สร้างความบันเทิงให้กับผู้รับชมมากกว่าการจัดสัมมนาออนไลน์ทั่ว ๆ ไป แต่ก็ยังเหมาะสมกับการเรียนออนไลน์เหมือนกัน ไลฟ์สตรีมมิ่งเป็นช่องทางที่ทำได้ง่า เพียงแค่ผู้ใช้มีอุปกรณ์และช่องทางสำหรับการไลฟ์เท่านั้นก็เพียงพอ แถมบางแพลตฟอร์มไม่ต้องเสียเงินเพื่อเริ่มไลฟ์เลยสักบาท Influencer, Youtuber และ Gamer ต่าง ๆ ก็เติบโตจากการไลฟ์สตรีมมิ่งมาเช่นกัน

Online Meetings

shutterstock_1707297181

การประชุมออนไลน์เล็ก ๆ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการประชุมทีมหรือประชุมแผนกด้วยจำนวนคนไม่เกิน 50 คน ด้วยข้อจำกัดที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้ไม่มาก ทำให้การออนไลน์มิตติ้งนั้นมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าการประชุมโดยใช้ Webinar หรือ Live Streaming ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถซักถามหรือพูดคุยได้อย่างอิสระและทุกคนจะสามารถเห็นหน้าผู้เข้าร่วมประชุมได้เหมือนกันหมด แชร์ไฟล์หากันได้ภายในกาารประชุม นัดประชุมโดยลงวันในปฏิทินของผู้ใช้งานได้ทันที

ความแตกต่างของ 3 เครื่องมือนี้คืออะไร?

ถ้าให้พูดถึงความแตกต่างของทั้ง 3 แพลตฟอร์มนี้ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเลยคือการนำไปใช้งาน 
ส่วนใหญ่แล้วในการทำงาน การประชุมทีมหรือนัดบรีฟสรุปงานกันภายในองค์กร จะเลือกใช้ Online Meetings เข้ามาใช้ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ยุ่งยาก แค่ทุกคนมีอุปกรณ์ส่วนตัว เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต เป็นต้น และมีอินเทอร์เน็ตที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารกัน เพียงเท่านั้นก็สามารถประชุมกันได้ ด้วยความที่แพลตฟอร์มรูปแบบนี้ เปิดให้ใช้งานได้อย่างอิสระ ผู้ใช้งานสามารถซักถามตอบกันได้เหมือน Video call ทั่ว ๆ ไป จึงทำให้เหมาะสำหรับการประชุมที่มีคนจำนวนน้อย ๆ และไม่เกิดความวุ่นวายในการประชุม

ในขณะที่ Live Streaming กลับเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้เข้าชมได้แบบสาธารณะ (แม้ในบางกรณีจะมีการเก็บเงินเพื่อเข้าชม) และยังสามารถเห็นได้ทั่วไปตามแพลตฟอร์ม Social Media ต่าง ๆ และเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ และไลฟ์สตรีมมิ่งก็สามารถทำรายได้ให้กับผู้ทำการไลฟ์ด้วย จากการสนับสนุนของผู้เข้าชม ด้วยการส่งสติกเกอร์หรือซื้อ coin เพื่อส่งให้กับผู้ไลฟ์ด้วย 

แต่ Webinar เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างมาเพื่อการจัดประชุมออนไลน์หรือจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยเฉพาะ และผู้เข้าร่วมจำเป็นต้องให้โฮสต์เจ้าของการประชุมส่งรหัสสำหรับการเข้าร่วมประชุมให้ ซึ่งตรงนี้แหละคือจุดแตกต่าง เพราะ Webinar สามารถสร้าง Email Automation และส่งอีเมลไปยังผู้ที่ลงทะเบียนได้ในทันที สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางการตลาดได้หลายเครื่องมือ เช่น HubSpot เป็นต้น 

สรุปแล้ว Video Conference ทั้งหลายเหล่านี้ จะเลือกใช้งานอย่างไรก็ต้องอยู่ที่การนำไปใช้งานของแต่ละคน เพราะบางที คุณอาจจะเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เสียเงินโดยไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่แพลตฟอร์มที่ให้บริการฟรีก็ทำงานได้เท่ากัน

 

Supattra Ammaranon x Ourgreenfish

New Marketing Plan MarTech Plan

บริการสัมมนาออนไลน์ Webinar

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts