<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

ธุรกิจประเภท Ecosystem Businesses มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างไร

Ecosystem Businesses เป็นระบบนิเวศของธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกันเหมือนระบบนิเวศของสัตว์ป่า ซึ่งต้องอาศัยประโยชน์ของกันและกันในการดำรงอยู่ โดยระบบนิเวศธุรกิจก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ ซึ่งระบบนิเวศเศรษฐกิจจะประกอบไปด้วย ระบบนิเวศธุรกิจ ระบบนิเวศเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค และระบบนิเวศของหน่วยงานรัฐที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับระบบนิเวศของธุรกิจของเราดำเนินการไปได้ด้วยดี

ในอดีต การทำธุรกิจส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ One-Sided Business โดยเริ่มตั้งแต่จัดการเรื่องเงินทุนด้วยตนเอง จัดหาวัตถุดิบด้วยตนเอง ตั้งโรงงานด้วยตนเอง ไปจนถึงการหาทางเข้าถึงลูกค้าด้วยตนเอง แบบนี้เรียกว่าการทำธุรกิจแบบทิศทางเดียว ในปัจจุบันหากเราต้องการที่จะแข่งขันกับธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจอยู่ในยามวิกฤต เราต้องหันไปพึ่งพาพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพมากพอที่จะช่วยเราฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ เช่น การทำธุรกิจแบบระบบนิเวศ เป็นต้น เรามาดูกันว่าธุรกิจประเภท Ecosystem Businesses จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างไรบ้าง

 

New call-to-action

shutterstock_149924576

สร้างเครือข่ายเชื่อมต่อกับคู่ค้าที่มีศักยภาพ

การเปิดธุรกิจต้อนรับคู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์รายอื่นที่มีศักยภาพดีพอที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจของเราเติบโตขึ้นได้ คือแนวคิดหลักในการทำ Ecosystem Businesses แต่ในทางกลับกันหากธุรกิจของเราเป็นธุรกิจแบบดำเนินการไปในทิศทางเดียว หรือ One-Sided Business ที่ไม่พึ่งพาพาร์ทเนอร์รายใดเลย โดยจะดำเนินการเองตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงส่งมอบสินค้าและบริการให้ลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องใช้ต้นทุนและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เราต้องกระจายความเสี่ยงจากกระบวนการทำงานต่าง ๆ ด้วยการหันไปสร้างเครือข่ายธุรกิจแบบ Ecosystem Businesses เช่น Netflix ที่มีผู้ลงทุนเข้ามาสนับสนุน และยังได้สิทธิ์นำภาพยนตร์และซีรีส์มาเป็นผลิตภัณฑ์หลักของตัวเอง วิธีนี้คือการกระจายความเสี่ยงจากการกู้เงินมาลงทุนเองและผลิตภาพยนตร์หรือซีรีส์เอง

shutterstock_697660129

Ecosystem Businesses จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ขยายระบบการเรียนรู้เครื่องมือดิจิทัลให้กว้างและสร้างวิธีการทำงานให้ง่ายที่สุด

วันนี้ธุรกิจทุกอุตสาหกรรมต่างตระหนักกันดีว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะเดินหน้าทำธุรกิจเพียงลำพังได้ ดังนั้น การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันย่อมสร้างโอกาสการเติบโตได้ดีกว่า โดยในยุคปัจจุบันระบบดิจิทัลสามารถลดค่าใช้จ่ายให้เราได้มาก ถ้าองค์กรพยายามจัดการระบบการทำงานให้หันไปใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น องค์กรของเราก็จะมีวิธีการทำงานที่ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลดีทั้งพนักงานและพาร์ทเนอร์ของเรา จนกลายเป็นระบบการทำงานเฉพาะทางของพาร์ทเนอร์ทั้งสอง โดยส่วนใหญ่ธุรกิจประเภท Ecosystem Businesses จะเลือกพันธมิตรที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมทำสัญญากันในระยะยาว เช่น 5-10 ปีขึ้นไป การที่ทั้งสองฝ่ายต่างนำเทคโนโลยีเข้ามาเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน ถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนให้มีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น Hungry Hub เป็น Startup ในวงการบุฟเฟต์ที่เป็นตัวกลางในการจองโต๊ะอาหาร โดยมี Supply Chain เป็นร้านอาหาร ซึ่ง Hungry Hub ได้เข้ามาทำให้ร้านอาหารมีลูกค้าเข้ามา และยังสั่งจองโต๊ะอาหารได้ตลอด 24 ชม. และร้านอาหารก็สามารถลดต้นทุนด้านการตลาด เช่น การโปรโมทเมนู เมื่อทั้งสององค์กรได้เป็นพาร์ทเนอร์กันจึงทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน

 

New call-to-action

shutterstock_367286888

Ecosystem Business แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

  • Ecosystem Partnerships คือ การหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจที่ตอบโจทย์การดำเนินงานของเราได้ เช่น ธุรกิจ E-Commerce มีพาร์ทเนอร์เป็นธุรกิจโลจิสติกส์ที่เอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้า หรือการเป็นพาร์ทเนอร์กับบัตรเครดิต เป็นต้น
  • Ecosystem Corporate Sustainability คือ การสร้างทรัพยากรทางธุรกิจขึ้นมาเอง โดยให้ลูกค้าเข้ามาใช้เครือข่ายบริการที่เราสร้างขึ้นมาทั้งหมด เช่น Facebook ที่มีทั้ง live streaming , messenger, marketplace หรือ Facebook page เป็นต้น

 

ตัวอย่าง Ecosystem Partnerships

Startup Ecosystem เป็นตัวอย่างของกลุ่มธุรกิจที่มีแผนการทำงานแบบ Ecosystem Businesses ที่เห็นภาพได้ชัดเจนในอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยระบบนิเวศของธุรกิจประเภท Startup มักจะประกอบไปด้วย Stakeholder ทั้ง 7 ส่วน ดังนี้

  • Startup ผู้ที่มีความรู้ความสามารถคิดริเริ่มไอเดียธุรกิจ หรือคนที่อยากทำธุรกิจเอง (Founder)
  • Investor นักลงทุนที่เห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจ Startup โดยเงินทุนมักจะมาจาก 3 ด้าน ได้แก่ 
    • นักลงทุนอิสระที่ระดุมเงินทุนเป็นกองทุนรวมแล้วนำมาสนับสนุน 
    • เงินทุนจากบริษัทใหญ่ที่ต้องการมีรายได้จากการสนับสนุนธุรกิจ Startup 
    • เงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ
  • Media สื่อที่กระจายข่าวเกี่ยวกับ Startup โดยสื่อจะเป็นกระบอกเสียงที่ทำข่าวสนับสนุนธุรกิจ Startup ให้คนในประเทศและนักลงทุนได้รับรู้ว่าในโลกนี้มีธุรกิจแบบนี้หรือบริการแบบนี้อยู่
  • Co-Working Space เป็นเหมือนพื้นที่ทำงานที่สนับสนุนเหล่าบรรดา Startup ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่และยังไม่มีออฟฟิศเป็นสถานที่ทำงานของตัวเอง
  • Incubator เป็นเหมือนองค์กรใหญ่ชั้นนำ เช่น ค่ายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือสถาบันการเงินที่นำ Startup รุ่นใหม่ไฟแรงเข้ามาปลุกปั้น หรือจัดการประกวด Startup เพื่อดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาแข่งขันกัน โดย Incubator เหล่านั้นอาจเข้ามามีหุ้นส่วนในการผลักดันธุรกิจให้เติบโต
  • Academy โรงเรียนสอนทำ Startup ที่เข้ามามีส่วนช่วยให้คนรุ่นใหม่ทำธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น คอร์สสัมมนา หรือคอร์สออนไลน์ เป็นต้น โดยอาจจะสอนในบางเรื่อง เช่น Digital Marketing หรือการบริหารธุรกิจทั่วไป
  • Government การสนับสนุนจากภาครัฐที่เป็นแกนนำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หรือเป็นวิสัยทัศน์ที่นำร่องให้ประเทศก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ เช่น ไทยแลนด์ 4.0 เป็นต้น

จากตัวอย่างระบบนิเวศธุรกิจของ Startup Ecosystem เราจะเห็นได้ว่ามี Stakeholder หรือผู้ที่มีส่วนร่วมในระบบนิเวศธุรกิจอยู่หลายฝ่ายที่คอยสนับสนุนเกื้อกูลกันโดยทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน

ตัวอย่าง Ecosystem Corporate Sustainability

Facebook Ecosystem ที่สร้างเครือข่ายบริการของตัวเองขึ้นมาทั้งหมด และสังคมที่ Facebook สร้างขึ้นมานั้น ทำให้ผู้ใช้แพลตฟอร์มไม่หนีไปไหนและวนเวียนอยู่ในแพลตฟอร์มนั้น โดยตัวอย่างบริการที่ Facebook สร้างขึ้นมาเป็นระบบนิเวศของตัวเองนั้นดูตัวอย่างได้ดังนี้

  • Live Streaming ที่แทบจะเข้ามาเป็นบริการที่ทดแทนโทรทัศน์ได้ โดยดึงดูดทั้งคนที่ชอบจัดรายการและคนที่ชอบดูรายการที่ตนเองชอบเข้ามาอยู่รวมกันใน Facebook
  • Facebook Messenger ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการของ Facebook ที่รั้งไม่ให้ผู้ใช้แพลตฟอร์มหนีไปใช้แอปพลิเคชันแชทสนทนาอื่น ๆ และยังเป็นไอเดียที่เอาใจผู้ใช้ Facebook ได้ส่งข้อความถึงกัน
  • Facebook Page ร้านค้าออนไลน์ที่เปิดตลอด 24 ชม.
  • Facebook Group กลุ่มเฉพาะที่รวมคนที่มีความชอบเหมือนกันมารวมตัวกัน
  • Facebook Job บริษัทที่มี Facebook Page สามารถประกาศรับสมัครงานบน Facebook ได้

จากตัวอย่าง เราจะเห็นว่าบริการทุกอย่างของ Facebook จะเป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูลกัน ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้ในหลาย ๆ ด้าน ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว

Ecosystem Businesses จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ขยายระบบการเรียนรู้เครื่องมือดิจิทัลให้กว้างและสร้างวิธีการทำงานให้ง่ายที่สุด

ในยุคปัจจุบันหากเราต้องการทำธุรกิจให้เติบโตในอุตสาหกรรมและประหยัดต้นทุนด้านทรัพยากร การทำธุรกิจแบบ Ecosystem Businesses คืออีกหนึ่งแนวคิดในการทำธุรกิจให้เป็นทางรอดขององค์กรในยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยแพลตฟอร์มและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาแข่งขันกัน การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยคือทางรอดของธุรกิจในยุคปัจจุบัน แล้ววันนี้เราได้พัฒนาธุรกิจให้เข้ากับการเแลี่ยนของเทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคแล้วหรือยัง

“Business opportunities are like buses, there’s always another one coming.” – Richard Branson

New Marketing Plan MarTech Plan

 

JETSADA TATONGJAI x Ourgreenfish

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts