<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

หุ่นยนต์ ASIMO นวัตกรรมเคลื่อนที่อันล้ำสมัยจาก HONDA

หุ่นยนต์ ASIMO ย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย เป็น หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนี โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้สามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ASIMOมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต

คุณลักษณะที่โดดเด่นของ หุ่นยนต์ ASIMO 

หุ่นยนต์ ASIMO

การจดจำและตรวจจับวัตถุเคลื่อนไหว
สามารถตรวจพบวัตถุหรือบุคคลที่อยู่บริเวณด้านหน้า ด้วยกล้องจำนวน 2 ตัวที่ติดตั้งอยู่ภายในศีรษะ เมื่อตรวจพบและล็อกวัตถุแล้ว ถ้าวัตถุหรือบุคคลมีการเคลื่อนไหว กล้องที่ติดตั้งอยู่ภายในจะหันและติดตามโดยตลอด กล้องภายในจะซูมภาพวัตถุหรือบุคคลที่เคลื่อนไหวให้เข้ามาใกล้ เซนเซอร์ภายในจะตรวจสอบและประมวลผลการคำนวณ หลังจากกลไกภายในประมวลผลเสร็จสิ้น สามารถกล่าวคำทักทายหรืออวยพรให้แก่บุคคลที่พบเห็น

ประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ และ AI กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

ASIMO สามารถรับฟังคำสั่งและตอบสนองต่อผู้ควบคุม
คำสั่งที่ได้รับจะถูกประมวลผลและแสดงออกในด้านของการรับฟังคำสั่ง สามารถสนทนาโต้ตอบและตอบรับคำสั่งให้ปฏิบัติงานจากผู้ควบคุม และสนทนาโต้ตอบอีกครั้งถึงผลของการปฏิบัติงานเมื่อปฏิบัติงานที่ได้รับคำสั่งเสร็จสิ้น สามารถรับฟังคำสั่งให้ปฏิบัติงานได้อย่างแม่นยำ

การรับรู้สภาพแวดล้อมและการหลบเลี่ยงวัตถุ ASIMO
มีความสามารถในการหลบเลี่ยงวัตถุจากการมองเห็น ด้วยกล้องจากดวงตาทั้งสอง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมที่มีสิ่งของกีดขวาง เซนเซอร์จับวัตถุตรงหน้าจะประมวลผลในการจับล็อกวัตถุทำให้รับรู้ได้ว่า บริเวณด้านหน้ามีสิ่งกีดขวางอยู่

การจดจำลักษณะท่าทางและการตอบสนองต่อสัญญาณ
กล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ภายในศีรษะของ ASIMO ทำให้สามารถมองเห็นคู่สนทนาที่อยู่ตรงหน้าได้และสามารถตอบสนองต่อการให้สัญญาณของคู่สนทนาได้

ความสามารถหลักๆ ของหุ่นยนต์

shutterstock_29064673

การเคลื่อนไหว ASIMO
สามารถเคลื่อนไหวขาให้เดินบนพื้นเรียบ ขึ้นลงบันได วิ่งเป็นวงกลม เต้นรำตามจังหวะดนตรี กระโดด วิ่งในทางตรงด้วยอัตราเร็วถึง 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเล่นฟุตบอลได้ ส่วนแขนสามารถขยับแขนทั้งสองข้างโบกไปมา ยกไหว้ จับมือ ยกน้ำมาเสิร์ฟ และสามารถใช้ภาษามือได้ ซึ่งการที่ ASIMO สามารถขยับแขนขา นิ้วมือได้อย่างเป็นธรรมชาติเพราะถูกสร้างให้มีข้อต่อคล้ายกับมนุษย์ และมีน้ำหนักที่สมดุล

ระบบเซนเซอร์ ASIMO
มีระบบเซนเซอร์ที่สามารถตรวจสอบวัตถุและวิเคราะห์การเดินของคนล่วงหน้า เพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงการชนและกล่าวทักทายกับคนตรงหน้าได้

การสนทนา ASIMO
สามารถคุยโต้ตอบกับคู่สนทนาอย่างเป็นมิตรด้วยเทคโนโลยีAI นอกจากนี้ ASIMO มีระบบที่ทำให้วิเคราะห์เสียงและจะหันไปหาเมื่อถูกเรียกชื่อ และสามารถจดจำคู่สนทนาได้จากน้ำเสียง และลักษณะหน้าตา

shutterstock_692641537

สรุปลำดับเหตุการณ์สำคัญของ ASIMO จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

  • 1980 
    • ฮอนด้าเริ่มพัฒนา Humanoid robot หรือหุ่นยนต์ที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์ มีเป้าหมายคือสร้างหุ่นยนต์ที่เดินสองเท้าตัวแรก
  • 2000 
    • เปิดตัว ASIMO รุ่นแรก
  • 2001 
    • บริษัทฮอนด้าพัฒนา ASIMO รุ่น 2 ให้เดินยืดหยุ่นขึ้น พร้อมเปิดให้เช่าหุ่นยนต์
  • 2002 
    • ฮอนด้าพัฒนา ASIMO รุ่น 3 ที่สามารถโต้ตอบและทำท่าทางเหมือนมนุษย์มากขึ้น
    • เปิดตัวในต่างประเทศครั้งแรกที่อเมริกา โดย ASIMO ได้สั่นระฆังเปิดงานครบรอบ 25 ปีการเข้าร่วม NYSC ของฮอนด้า
  • 2003 
    • เริ่มโครงการ ASIMO's North American Educational Tour การทัวร์ครั้งนี้ ASIMO จะเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์และโรงเรียนในทวีปอเมริกาเหนือรวม 14 แห่ง ภายใน 15 เดือน 
    • ร่วมเดินทางไปสาธารณรัฐเช็กกับนายกรัฐมนตรี Junichiro Koizumi เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • 2004
    • ต้อนรับสมเด็จพระราชาธิบดี Juan Carlos ที่ 1 ที่งาน Madrid Motor Show ประเทศสเปน 
    • เข้าร่วมงาน ASIMO: Future Dreams ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาประเทศไทย
    • ต้อนรับนักกีฬาโอลิมปิกผู้นำเหรียญทองและเงินกลับไทยทั้ง 8 คน 
    • ได้รับการบันทึกในหอเกียรติยศ Carnegie Science Center ในฐานะหุ่นยนต์ตัวแรกที่สามารถเดินได้แบบมนุษย์ 
    • ฮอนด้าประกาศพัฒนา ASIMO รุ่น 4 พัฒนาการเคลื่อนไหวและระบบประมวลให้ดีขึ้น
  • 2005 
    • เดินพรมแดงในงานฉายภาพยนตร์ Robots รอบปฐมทัศน์ 
    • เข้าร่วมงานครบรอบ 50 ปี สวนสนุกดิสนีย์แลนด์ และโชว์การพูด “Hello” เป็นครั้งแรก 
    • เปิดตัว ASIMO รุ่น 5 เพิ่มฟังก์ชันใหม่เช่น การเข็นรถเข็น และการเดินจับมือ
  • 2007 
    • เปิดตัว ASIMO รุ่น 6 ในงาน Consumer Electronics Show (CES) ที่ลาสเวกัส 
    • ได้รับรางวัล Advertiser of the Year รางวัลสำหรับแบรนด์ที่สร้างผลงานโดดเด่น 
    • แสดงความสามารถในการวิ่งเป็นครั้งแรกบนเวทีของดิสนีย์แลนด์ 
    • ฮอนด้าเริ่มทดลองใช้งาน ASIMO ในบริษัท
  • 2011 
    • เปิดตัว ASIMO รุ่น 7 ที่สามารถคิดและตัดสินใจเองโดยไม่ต้องมีคนควบคุม
  • 2013 
    • ฮอนด้านำ ASIMO มาเป็นวิทยากรอธิบายข้อมูลของตัวเองในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติของญี่ปุ่น 
  • 2014 
    • ต้อนรับประธานาธิบดี Barack Obama ที่ศูนย์นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งชาติโตเกียว
  • 2018 
    • ฮอนด้าประกาศเลิกผลิตหุ่น ASIMO

ถึงแม้ บริษัท ฮอนด้า ประกาศยกเลิกการผลิตหุ่น ASIMO ไปตั้งแต่ปี 2018 ไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าต้องการมุ่งเน้นพัฒนาหุ่นยนต์เชิงปฎิบัติการมากกว่า แต่การพัฒนาเทคโนโลยีที่ผ่านมากว่า 18 ปีของ ASIMO มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีหลักของบริษัทซึ่งก็คือระบบขับเคลื่อนต่างๆของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในอนาคต วิศวกรได้นำเทคโนโลยี AI และระบบเซนเซอมาใช้สำหรับระบบขับขี่อัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อฟื้นฟูสำหรับกายภาพบำบัดจากระบบ i-WALK ของ ASIMO อีกด้วย แผนการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีของ บริษัทฮอนด้ายังมีต่อไป ไม่ได้หยุดอยู่เพียงระบบขับขี่ แต่จะรวมไปถึง พลังงานและหุ่นยนต์ ในอนาคต นอกจากนี้ในแวดวงหุ่นยนต์ยังมีหุ่นยนต์ที่ได้รับการพัฒนาได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างมาก Boston Dynamics เป็นลำคับต้นๆ แห่งวงการหุ่นยนต์ 

 

 

ที่มา : [1], [2], [3], [4], [5], [6]

New call-to-action

New Marketing Plan MarTech Plan

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts