<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

10 คำถามสำหรับผู้ประกอบการ สู่แนวทางในการข้ามพ้นวิกฤต COVID-19

Audio Version

บางคนบอกว่าเราจะรู้สึกว่าบริษัทมีคุณค่าก็ต่อเมื่อบริษัทอยู่ท่ามกลางวิกฤต เพราะวิกฤตจะทำให้ทีมผู้บริหารและพนักงานทุกระดับมีความสามัคคีกันมากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทีมงานได้เปิดใจคุยกันเกี่ยวกับปัญหาการทำงาน วิกฤตที่เกิดจากไวรัส COVID-19 ถือว่าเป็นวิกฤตที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคนทั้งโลกไปตลอดกาล และด้วยเหตุผลด้านสุขภาพจึงทำให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปด้วย เริ่มตั้งแต่การจับจ่ายใช้สอยไปจนถึงการดำเนินงานสำหรับองค์กรทั้งภายในและภายนอกก็เปลี่ยนไปตามมาตรการของรัฐ หรือบางองค์กรได้ออกนโยบายใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ วันนี้เรามี 10 คำถามสำหรับผู้ประกอบการ สำหรับเป็นแนวทางในการข้ามพ้นวิกฤต COVID-19 นี้ไปได้

shutterstock_1022439985

 

New call-to-action

 

1. เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้พนักงานมีความมั่นใจในด้านความปลอดภัยและสุขภาพ
ไม่ว่าธุรกิจของเราจะเป็นธุรกิจประเภทไหนก็ตามเมื่อเกิดการระบาดของโรค ทีมบริหารจะต้องรีบปรึกษากันเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดในองค์กร ในกรณีที่องค์กรของเราเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีจำนวนบุคลากรหลายคน เรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษคือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่ถูกต้องกับพนักงาน และหาวิธีการรักษาระยะห่างของบุคลากร หรือทำประกันสุขภาพเพื่อความปลอดภัยของพนักงานและครอบครัว แต่ถ้าองค์กรของเราเป็นองค์กรขนาดเล็กที่มีบุคลากรไม่เกิด 30 คน อาจจะไม่ต้องใช่มาตรการเข้มงวดมากจนเกินไป เพียงแบ่งโต๊ะทำงานของแต่ละแผนกให้มีสัดส่วนที่ไม่แออัดเกินไปก็เพียงพอต่อการควบคุมการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้แล้ว

2. แผนการสืบทอดของผู้บริหารเป็นอย่างไร
หากองค์กรของเราเป็นองค์กรใหญ่มีโครงสร้างการบริหารจัดการหลายชั้น เราควรวางแผนไว้ ว่าใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบทอดในยามฉุกเฉินที่ต้องเจ็บป่วยระหว่างการดำรงตำแหน่ง แต่ในกรณีที่องค์กรของเราเป็นองค์กรขนาดเล็กบุคลากรทุกคนต้องเรียนรู้วิธีการทำงานของทีมงานที่ใกล้ชิดกันเผื่อใครคนใดคนหนึ่งในทีมมีอาการป่วยและต้องลางานเป็นระยะเวลานาน เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ก็จะสามารถมารับช่วงต่อได้ ดังนั้น การวางแผนสรรหาคนมาแทนตำแหน่งหรือทำหน้าที่แทนกันและกัน ถือว่าเป็นการเตรียมการที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม

3. องค์กรสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในยามวิกฤตระยะสั้นได้อย่างไร
ค่าใช้จ่ายคือเรื่องที่องค์กรธุรกิจมีความกังวลมากที่สุด เพราะหัวใจของการขับเคลื่อนธุรกิจคือการมีกระแสเงินสดหมุนเวียนมากพอที่จะจ่ายค่าจ้างและค่าดำเนินงานต่าง ๆ ได้ แต่ในเมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอยอย่างรวดเร็วองค์กรธุรกิจและประชากรทั่วประเทศต่างตั้งตัวกันไม่ทัน จนทำให้บางองค์กรต้องสูญเสียคู่ค้าและลูกค้าส่งผลให้ขาดรายได้และไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เรื่องที่ผู้บริหารจะต้องนำไปคิดทบทวนคือเราจะมีวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นก็พยายามตัดออกไปให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายผันแปรที่ต้องมีการควบคุมตั้งแต่วิธีการดำเนินงานขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนทั้งหมดของการดำเนินงาน ถ้าเรามีวิธีการจัดการกับค่าใช้จ่ายที่รัดกุม หวังว่าองค์กรที่มีภาระหนี้จำนวนมากจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี ส่วนองค์กรที่มีงบการเงินที่แข็งแกร่งอยู่แล้วก็ต้องใช้ประโยชน์ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

4. ความคุ้มค่าที่องค์กรจะได้รับถ้าเทียบกับเงินเดือนพนักงานที่จ่ายไปในช่วงวิกฤต
เรื่องที่ยากที่สุดที่องค์กรไม่อยากทำ คือการเลิกจ้างพนักงานของตนทั้งที่พนักงานคนนั้นไม่ได้กระทำผิดต่อบริษัทเลย องค์กรต้องชั่งน้ำหนักดูว่าค่าจ้างพนักงานที่จ่ายไปคุ้มค่ากับรายรับที่เข้ามาหรือไม่ ก่อนจะทำการปลดพนักงานเราต้องทบทวนกลยุทธ์ของเราก่อน ว่าองค์กรสามารถยืนหยัดต่อไปได้หรือไม่ และถ้าปลดพนักงานหรือสั่งพักงานชั่วคราวชีวิตของพวกเขาจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวที่จำเป็นต้องปิดสถานบริการตามนโยบายของรัฐ จึงต้องสั่งพักงานพนักงานของตน เนื่องจากไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเลย สิ่งที่กระทบกับพนักงานเต็ม ๆ คือรายได้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น ผู้บริหารต้องคิดอย่างรอบคอบว่าความคุ้มค่าที่องค์กรจะได้รับเมื่อเทียบกับค่าจ้างพนักงานจะมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไรบ้าง

5. เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน Supply Chains หรือไม่
Supply Chains หรือห่วงโซ่อุปทาน คือหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก เมื่อพรมแดนถูกสั่งให้ปิดและห้ามเดินทางเข้าออกประเทศ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก ทั้งการค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว ต่างต้องประสบกับปัญหาด้วยกันทั้งนั้น เช่น กลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ต้องเจอกับปัญหานักท่องเที่ยวซบเซา เพราะต้นเหตุของห่วงโซ่อุปทานได้ส่งผลกระทบมาจากการปิดสนามบิน และถูกห้ามไม่ให้ประชาชนรวมตัวกัน จึงทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบโดยตรง 75% ของธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ก็ประสบปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเนื่องจาก Covid-19 เช่นกัน ดังนั้น ผู้บริหารต้องพิจารณาเรื่องการสรรหาพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

shutterstock_705020668

6. เราพร้อมปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นแบบ Work from home หรือไม่
การหวาดระแวงเรื่องเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายบริษัทได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล คือการให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ Work from home เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ผู้บริหารต้องพิจารณาดูว่าองค์กรของท่านพร้อมที่จะให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านหรือไม่ ถ้าองค์กรของเราใช้ระบบการทำงานแบบพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องปรับตัวมาก แต่ถ้าองค์กรของเราเป็นองค์กรที่ยังใช้ระบบการทำงานแบบดั้งเดิมอยู่ อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักพัก เพื่อให้บุคลากร Re-skill เรียนรู้เครื่องมือการทำงานรูปแบบใหม่ สิ่งที่ผู้บริหารต้องพิจารณาคือความพร้อมด้านเครื่องมือที่นำมาใช้ในช่วงที่มีการทำงานแบบ Work from home

7. เราจะรักษาวัฒนธรรมขององค์กรได้หรือไม่
วัฒนธรรมเป็นส่วนที่ทำให้องค์กรยืนหยัดอยู่ได้ ทั้งการทำงานภายใน และการมีภาพลักษณ์ต่อสายตาผู้บริโภค ในความเป็นจริงวัฒนธรรมคือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ทำให้การดำเนินชีวิตของคนเปลี่ยนไป เราต้องดูว่าพนักงานแต่ละคนได้นำพฤติกรรมใหม่ หรือ New Normal เข้ามาในองค์กรจนทำให้องค์กรสูญเสียวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิมไปหรือไม่ อย่างไรก็ตามคนที่สามารถควบคุมการดำเนินธุรกิจได้ดีที่สุดคือผู้บริหาร ถ้ามีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและยืนหยัดกับสิ่งที่องค์กรเป็น ต่อให้ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from home) และต้องเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่ทั้งหมด ความแข็งแกร่งขององค์กรยังคงมีวัฒนธรรมและเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจนเหมือนเดิม

 

New call-to-action

 

8. เรามีปฏิสัมพันธ์กับตลาดการเงินและตลาดทุนอย่างไร
หากองค์กรของเราไม่ได้นำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนกับองค์กรอื่นในตลาดหลักทรัพย์คงจะหมดกังวลกับเรื่องการลงทุนไปได้เลย เพราะต่อให้มูลค่าตลาดทุนตกต่ำลงก็ไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจของเรา แต่เราควรเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดเงินไว้ให้ดี ต้องคอยดูว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินถูกปรับขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด กำหนดการชำระหนี้ถูกเลื่อนหรือไม่ และดูว่าสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรามีนโยบายที่เอื้อต่อสถานการณ์ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจนี้อย่างไร

9. โมเดลธุรกิจของเรามีความแข็งแกร่งเพียงใด
ประเมินแนวโน้มของอุตสาหกรรมและโอกาสระยะยาวสำหรับธุรกิจของเราว่ากลยุทธ์เดิมสามารถใช้ได้กับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนี้ได้หรือไม่ และหลังจากที่การแพร่ระบาดได้ลดระดับลง เรายังสามารถใช้กลยุทธ์หรือโมเดลธุรกิจเดิมนี้ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ หรือต้องปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจใหม่ทั้งหมด เมื่อธุรกิจกับลูกค้ามีความสัมพันธ์กันโดยตรง เราต้องสำรวจดูพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนเพื่อนำมาพิจารณาโมเดลธุรกิจของเราว่าพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมธุรกิจของตนได้หรือไม่

10. องค์กรมีแผนรับผิดชอบต่อสังคมหรือไม่
การนำองค์กรให้รับใช้สังคมถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องดูที่ทรัพยากรขององค์กรว่าเรามีศักยภาพเพียงพอต่อการตอบแทนสังคมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร หรือสถานที่ เช่น ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี ได้เปลี่ยนจากโรงแรมที่ปิดให้บริการมาเป็นโรงพยาบาลชั่วคราวเพื่อรองรับผู้ป่วย บางครั้งวิกฤตสามารถมอบโอกาสในการนำองค์กรให้มีส่วนร่วมกับสังคมได้มากขึ้น

ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นอีกกี่ครั้ง ก็ควรตั้งคำถามพิจารณาธุรกิจของตัวเองจาก 10 คำถามในบทความนี้ อย่างน้อยการตั้งคำถามให้กับตัวเอง อาจจะทำให้เราได้พบกับคำตอบที่นำมาเพื่อการพิจารณาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

 

HubSpot CRM Sales Management Webinar

New call-to-action

JETSADA TATONGJAI x Ourgreenfish

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts

OGF Podcast