<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

Hyper Personalization เทรนด์การตลาดที่สำคัญสำหรับปี 2020

Audio Version
Hyper Personalization เทรนด์การตลาดที่สำคัญสำหรับปี 2020
4:43

จะเห็นได้ว่าการตลาดในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็ว จนมาถึงตอนนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการให้ธุรกิจปรับการทำการตลาดให้เข้าถึงตัวบุคคลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์สินค้าที่ตรงใจมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายสินค้าที่เหมาะสำหรับลูกค้า โปรโมชันดีๆ ในแต่ละช่วงหรือแม้แต่ของแถมของฟรี แต่ใช่ว่าโปรโมชันและข้อเสนอเหล่านั้น เมื่อออกมาแล้วตอบโจทย์ลูกค้าเป็นคนๆ ไป บางทีคุณอาจเสนอโปรโมชันซื้อชาเขียว 1 แก้วแถมนมสดอีก 1 แก้วในร้านกาแฟของคุณ แต่ลูกค้าท่านนั้นอาจมาคนเดียวหรืออาจไม่ได้ชอบกินนมสด โปรโมชันนี้ก็อาจไม่ตอบโจทย์ลูกค้าและลูกค้าก็ไม่สามารถใช้โปรโมชันนี้ได้ การทำ Hyper Personalization อาจจะมาตอบโจทย์ในส่วนนี้ได้มากกว่าการทำPersonalizationแบบธรรมดาทั่วไป

หลักสำคัญของ Hyper Personalization คืออะไร?

Hyper Personalization

ข้อมูล คือสิ่งที่เป็นหัวใจหลักสำคัญในการทำ Hyper Personalization เนื่องด้วยจำเป็นต้องใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล แต่เดิมนั้นข้อมูลส่วนบุคคลจะมีเพียงแค่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เพศ อายุ เพียงไม่กี่อย่าง แต่เมื่อมีการทำ Hyper Personalization จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ มาประกอบเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงกลุ่มเป้าหมายและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งข้อมูลอื่นๆ ที่นำมาประกอบนั้นเป็นข้อมูลที่มีหลายประเภทและเป็นข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ ก็ต้องมาคิดกันต่ออีกกว่า จะมีการจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นอย่างไรไม่ให้เกิดความสับสนและสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ไม่ใช่เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วแต่ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นอาจจะต้องมีการวิเคราะห์และคัดเลือกข้อมูลให้ดีและเป็นระบบกว่าเดิม

เมื่อก่อนการใช้ Personalization เป็นการดึงเอาข้อมูลจากที่มีเพียงด้านเดียวมาใช้วิเคราะห์เพื่อทำการตลาด แต่ Hyper Personalization จะเป็นการดึงเอาข้อมูลจากหลายๆ ส่วนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบุคคลที่คุณมี ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้า ข้อมูลพฤติกรรมการกิน บางทีอาจดึงข้อมูลที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันมาใช้ก็ทำได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ละเอียดมากขึ้นและทำการตลาดได้ตรงใจลูกค้ามากกว่าที่เคยเป็นด้วย ทั้งนี้ยังมีเคล็ดลับที่ช่วยให้สามารถใช้งานHyper Personalizationได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

Hyper Personalization

ยืมเทคนิคจาก Netflix - Netflix มีเครื่องมือที่สามารถเสิร์ฟคอนเทนต์หรือสิ่งที่สนองความต้องการของลูกค้าในรูปแบบที่เหมาะสมและเวลาที่เหมาะสม เช่น ในหน้าแรกจะนำเสนอภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาหรือเป็นประเภทเดียวกับที่คุณดูในก่อนหน้านั้น แสดงว่า Netflix สังเกตพฤติกรรมการดูภาพยนตร์ของผู้ใช้งานและนำมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจออกไป เป็นต้น

มี Engagement มากขึ้น - การมีส่วนร่วมระหว่างตัวลูกค้ากับธุรกิจ จะช่วยให้ประสบการณ์ระหว่างกันนั้นดีมากยิ่งขึ้น ลูกค้าจะประทับใจมากขึ้นเมื่อธุรกิจเริ่มทำการตลาดที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนบุคคลมากขึ้น กุญแจสำคัญอยู่ที่การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและทำความเข้าใจลูกค้าแบบลงลึกกว่าเดิม

ความน่าเชื่อถือ - ด้วยการแข่งขันที่มีมากขึ้น ความน่าเชื่อถือนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต่อให้คุณทำการตลาดไปดีแค่ไหน แต่คุณยังไม่มีความน่าเชื่อถือ ลูกค้าก็จะยังไม่เลือกคุณ 

จะเห็นได้ว่าการทำ Hyper Personalization นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ด้วยข้อมูลที่มีจำนวนมากและบางทีอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันหรือซ้ำกันได้ อาจจะทำให้ยุ่งยากกว่าการทำ Personalization แบบปกติทั่วไป เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ข้อมูลก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ดี แต่หากสามารถหาระบบที่มารองรับการทำงานตรงนี้ได้ อาจทำให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีและแม่นยำขึ้นแน่นอน 

 

ที่มา : [1], [2]

Supattra Ammaranon x Ourgeenfish

New call-to-action

New call-to-action

อ่านบทความเพิ่มเติม : ทำการตลาดแบบรู้ใจกลุ่มเป้าหมายด้วย PERSONALIZATION MARKETING

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts

OGF Podcast