ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจด้าน Healthcare ได้รับความนิยม และเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน และเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจด้าน Healthcare ก็จำเป็นต้องวางแผนการตลาดอย่างมีกลยุทธ์ และตามเทรนด์ต่าง ๆ ให้ทัน เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
ลองมาดู 7 เทรนด์การตลาดสำหรับธุรกิจด้าน Healthcare ที่น่าสนใจในปีนี้ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้คุณนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดของคุณได้
1. แบรนด์ที่มีหลายสาขาต้องมี Web Platforms ที่สามารถปรับ หรือขยาย เพื่อรองรับการเติบโตได้
Web Platform หรือแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ ก็คือ แพลตฟอร์มที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ และการเขียนโค้ดต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกเทมเพลตที่มีให้ได้เลย
เนื่องจากธุรกิจ Healthcare เป็นธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุนในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา จะเห็นได้จากสถิติของปริมาณการลงทุนในหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ด้าน Healthcare ในปี 2022 ของสหรัฐอเมริกา โดยยังคงรักษาปริมาณจาก 126 ดีลในปี 2021 ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เปิดเผยที่ 38.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนที่มั่นคง
โดยมีองค์กร หรือแพลตฟอร์มที่ให้บริการด้านการบริหารจัดการ (MSOs) ที่เปิดตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในปี 2022 และเทรนด์นี้ก็ดูเหมือนจะดำเนินต่อไปในปีนี้ และด้วยมูลค่าของ MSOs นี้ นั้น ทำให้บริษัทเอกชน และกลุ่มแพทย์อิสระต่างก็มองหาการฝึกปฏิบัติ, ขยายบริการต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ ต้องการเว็บไซต์ที่ปรับ หรือขยายขนาดได้ รวมถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเป้าหมายการเติบโต และเป้าหมายด้านรายได้ โดยเว็บไซต์ที่แยกส่วนกัน, MarTech Stack ที่ไม่เชื่อมต่อกัน และกลยุทธ์ทางการตลาดที่ล้าสมัย จะทำให้การเติบโตนั้นหยุดชะงักได้ และผลตอบแทนก็ลดลง ซึ่งกลยุทธ์ดิจิทัลแบบรวมศูนย์ที่เชื่อมโยงทั้งแบรนด์ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในปี 2023 คาดว่า จะเห็นบริษัทเอกชนนอกตลาด และกลุ่มธุรกิจด้าน Healthcare จำนวนมากขึ้น สร้างแพลตฟอร์ม และกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลแบบรวมศูนย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้บริการ
2. สร้างคอนเทนต์โดยโฟกัสผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centric)
Google เปิดตัวการอัปเดตคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2022 ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อหลายอุตสาหกรรม รวมถึง อุตสาหกรรม Healthcare แม้ว่าการอัปเดตก่อนหน้านี้ จะโฟกัสไปที่คอนเทนต์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับของที่ไม่มีประโยชน์, อันตรายต่าง ๆ หรือสแปม แต่การอัปเดตล่าสุดนี้ ได้กำหนดข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นในด้านคุณภาพ และความถูกต้องของคอนเทนต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้คอนเทนต์ดิจิทัลมีความเกี่ยวข้อง หรือตอบสนองอย่างตรงจุด และเป็นประโยชน์กับมนุษย์มากขึ้น ซึ่งนี่เป็นการอัปเดตทั่วทั้งเว็บไซต์ หมายความว่า หากหน้าหนึ่งเป็นสแปม ก็อาจส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์โดยรวมของคุณได้
โดยกลุ่ม Healthcare จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากการอัปเดตนี้ หากทำตามคำแนะนำของ Google
ผู้ให้บริการด้าน Healthcare ต้องมีกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์แบบครบขั้นตอน (Full Funnel) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบคำถามของผู้บริโภคที่ช่วงบนของ Funnel (Top of Funnel) และช่วงกลางของ Funnel (Middle of the Funnel) โดยในการเพิ่มประสิทธิภาพแนวทางของกลุ่มธุรกิจด้าน Healthcare ก็สามารถทำตามสิ่งเหล่านี้ได้
1) พัฒนาคอนเทนต์ที่ตอบคำถามหลักที่ผู้ป่วยถามโดยตรงในแต่ละขั้นตอนของการเดินทางของผู้ป่วย
2) สร้าง UI (User Interface) ที่ใช้งานสะดวกสบาย และจัดลำดับความสำคัญของประสบการณ์ผู้ใช้งานบนมือถือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสแกน และค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็ว
3) สร้างคอนเทนต์อย่างละเอียดและตอบคำถามที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุดในชิ้นงานคอนเทนต์เพียงชิ้นเดียว
4) โฟกัสไปที่ Evergreen Content (คอนเทนต์ที่สดใหม่อยู่เสมอ และมีคุณค่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน) ซึ่งเป็นไปตามพื้นฐานของ SEO โดยกลยุทธ์นี้ มีแนวโน้มที่จะพิสูจน์ได้ด้วยอัลกอรึทึม และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน
โดยสรุปแล้ว การสร้างคอนเทนต์โดยมุ่งเน้นการโฟกัสผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางนั้นจะช่วยส่งผลดี และมีประโยชน์อย่างมากในระยะยาว
3. ประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ยังคงเป็นที่สิ่งสำคัญ
UX (User Experience) ของเว็บไซต์ ควรอยู่ในอันดับต้น ๆ ของลิสต์ลำดับความสำคัญของคุณในปี 2023 โดยข้อกำหนดของ Google ต้องการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานเช่นเดียวกันคนไข้ของคุณ เนื่องจากพวกเขาต้องการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว และส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือ 1) วางโครงสร้างของเว็บไซต์ของคุณถูกต้อง และ 2) เช็กให้แน่ใจว่า เว็บไซต์ของคุณมีคอนเทนต์เชิงลึกที่มีประสิทธิภาพ สามารถตอบคำถามของผู้ป่วยโดยตรงได้
ให้คุณปฏิบัติตามสิ่งที่ Google บอกเสมอสำหรับการทำคอนเทนต์ คือ E-A-T หรือ ความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญ (Expertise), ความเป็นเจ้าของผลงาน (Authoritativeness) และ ความน่าเชื่อถือ (Trustworthiness)
ซึ่งก็คือ การสร้างคอนเทนต์ที่เป็นต้นฉบับ, มีความทันสมัย และมีความเกี่ยวข้อง หรือตรงใจกลุ่มเป้าหมายให้จำไว้ว่า การมีปฏิสัมพันธ์ในความเป็นจริงของคุณ ก็มีผลกระทบต่อการให้คะแนนของเว็บไซต์ของ Third-party ให้คุณแสดงความโปร่งใสในคอนเทนต์ของคุณเสมอ และตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณได้สร้างคอนเทนต์อย่างไร และเอาข้อมูลมาจากแหล่งใด
การทำตาม E.A.T ของ Google ไม่เพียงช่วยให้คุณพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการจัดอันดับหน้าของคุณในการค้นหาแบบ Organic search อีกด้วย
ลองมาดูคำแนะนำที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติตามในการทำ UX ของเว็บไซต์ของคุณได้
โดยในปีนี้ องค์กรต่าง ๆ ควรพิจารณาการปรับ หรือพัฒนาเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อโฟกัสไปที่ความต้องการของคนไข้
4. การทำ Personalization เป็นมาตรฐานสูงสุด
เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงในปี 2023 โดยการทำ Personalization ยังคงเป็นมาตรฐานสูงสุด ดังที่ Salesforce ได้เน้นย้ำในรายงานล่าสุด นั่นคือ 92% ของนักการตลาด เชื่อว่า ลูกค้า และผู้มีโอกาสมาเป็นลูกค้าคาดหวังประสบการณ์แบบ Personalization และด้วยความคาดหวังที่สูง จึงไม่ยากที่จะคิดได้ว่า ผู้ป่วยอาจจะไปที่อื่นหากพวกเขาไม่ได้รับประสบการณ์ตามที่ต้องการแบบนั้น
ในการทำ Personalization ที่อาจจะมีข้อจำกัดด้านกฎหมายเรื่องความเป็นส่วนตัว ก็ยังมี 2 วิธีที่คุณสามารถทำได้ :
1) ใช้ Geo-Personalization
Geo-Personalization เป็นวิธีง่าย ๆ ในการปรับแต่งหน้า Landing Page เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้ใช้เห็นนั้น สัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้ง (Location) ที่ใกล้เคียงที่สุดของพวกเขา โดยผู้คนที่กำลังมองหาแพทย์คนใหม่ มักจะมีแรงจูงใจจากสิ่งเดียว นั่นคือ ความสะดวกสบาย เมื่อคุณจัดทำหน้าเพจที่มีการปรับตามตำแหน่งที่ตั้ง (Location) ของผู้ป่วย พวกเขาจะสามารถเข้าถึงทุกอย่างที่จะใช้ในการ Convert พวกเขาได้ ซึ่งรวมถึง
และข้อดีของ การทำ Geo-Personalization นั้น ก็ไม่ละเมิด HIPAA หรือกฎความเป็นส่วนตัวเพื่อปกป้องข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการทำการตลาดด้าน Healthcare นอกจากนี้ ยังลดจำนวนขั้นตอนในการทำ Conversion ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลทั้งหมดที่พวกเขาต้องการตั้งแต่เนิ่น ๆ ในการเดินทางของลูกค้า โดยการทำ Geo-Personalization นี้ คุณจะเห็นการได้มาซึ่งของคนไข้รายใหม่เพิ่มขึ้น และท้ายที่สุดแล้ว คุณก็จะได้กำจัดอุปสรรคบางอย่างในการทำ Conversion
2) เปิดใช้ และปรับ Portal ผู้ป่วย หรือ Mobile App ของคุณให้ดียิ่งขึ้น
การสร้างลิสต์รายชื่ออีเมลตามข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อมีคนเข้าสู่ระบบ Portal หรือ Mobile App ตัวเลือกของคุณจะกว้างขึ้นมาก โดยภายในหน้า Interface เหล่านั้น คุณสามารถแสดงคอนเทนต์เฉพาะเงื่อนไข หรือการรักษา หรือแนะนำบริการ หรือการนัดหมายบางอย่างได้ โดยคุณยังสามารถให้คนไข้เข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ และแพทย์ได้โดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่คนไข้ใช้ Portal ของคนไข้มากขึ้นกว่าเดิม
ให้คนไข้ได้เลือก Customer Journey ของตนเอง
คุณไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อปรับเส้นทางการมาของคนไข้จากคอนเทนต์ให้เหมาะกับคนไข้แต่ละราย ยกตัวอย่างเช่น หากคุณทราบว่า 1 ในหน้าเว็บของคุณมีปริมาณของ Organic Search จำนวนมาก จาก Keyword ใด คุณก็สามารถปรับให้เหมาะกับเส้นทางเฉพาะนั้น ๆ ได้ ลองดูว่า คนที่ใช้ Keyword ค้นหานั้น และคลิกไปยังเว็บไซต์ ของคุณนั้นต้องการข้อมูลประเภทใด? คุณจะปรับหน้าเพจให้เหมาะกับการเดินทางที่เฉพาะนี้ได้อย่างไร?
5. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การตลาด และการลงทุน
ในสิ้นปี 2022 ภาวะเศรษฐกิจที่ปั่นป่วน เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการด้าน Healthcare เอกชนบางราย ซึ่งสัญญาณเหล่านี้บ่งชี้ว่า สิ่งนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปี 2023
และผลกระทบที่มีต่อองค์กรด้าน Healthcare ก็คือ ค่าเสียหายส่วนแรก (Deducibles) ที่สูงขึ้น จะยังคงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยเมื่อได้รับการดูแล และหากเราเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จำนวนการจ้างงานที่ลดลงจะนำไปสู่ผู้ป่วยที่ไม่มีประกันมากขึ้น ทั้งหมดนี้หมายความว่า ความอ่อนไหวของผู้บริโภคต่อค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยจำนวนมากเริ่มชะลอการเข้ารับบริการ
ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจด้าน Healthcare บางกลุ่มใช้งบประมาณด้านการตลาดมากขึ้น โดยจากข้อมูลของ Cardinal Digital Marketing พบว่า หลายองค์กรต่างก็ระวังในเรื่องของการใช้จ่าย ในปี 2023 ในขณะที่หลาย ๆ คนยังคงลงทุนในการเติบโต ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ต้องจับตาดูงบประมาณ และประสิทธิภาพทางการตลาดอย่างใกล้ชิดในช่วงต้น ๆ ปีนี้
6. การตลาดเพื่อการสรรหาบุคลากร (Recruitment Marketing) ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งงบประมาณ
จากข้อมูลของสหรัฐอเมริกา พบว่า การขาดแคลนพนักงานในประเทศ ยังคงส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรม Healthcare และจากข้อมูลของสำนักงานแรงงานสหรัฐ พบว่า 1.5 ล้านตำแหน่งงานด้าน Healthcare หายไปในช่วงเดือนแรกของการแพร่ของโรคระบาด แม้ว่าตัวเลขดังกล่าว จะฟื้นตัวบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดลดลง 176,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020
ในสถานการณ์แบบนี้ กลุ่ม Healthcare ไม่สามารถขยายขีดความสามารถ หรือเติบโตได้หากไม่มีช่องทางการสรรหาบุคลากรที่ดี
โดยประสบการณ์ของผู้ป่วย และคุณภาพในการดูแล จะลดลงหากคุณไม่สร้างวัฒนธรรมการดูแลแบบร่วมกัน โดยแบรนด์ด้าน Healthcare ต้องบริหารจัดการชื่อเสียงของแบรนด์ และพัฒนาวัฒนธรรมพนักงานที่มุ่งการสนับสนุน หากพวกเขาต้องการให้แคมเปญการรับสมัครทำงานนั้นได้ผลดี ให้จำไว้ว่า ผู้ให้บริการ และพันธมิตรของแบรนด์มีความสำคัญเท่า ๆ กับผู้ป่วยของคุณ
งานของการตลาดได้เพิ่มขึ้นในส่วนของการสนับสนุนความพยายามในการสรรหาบุคลากร โดยความคิดริเริ่มด้านการตลาดสามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างแท้จริงในการสนับสนุนการสร้างแบรนด์ของคุณ และการสื่อสารวัฒนธรรม และการจ้างงานของบริษัทของคุณ
วิธีหนึ่งที่การตลาดสามารถทำได้ในการสรรหาบุคลากร ก็คือ การประชาสัมพันธ์แบบดิจิทัล โดยการประชาสัมพันธ์ที่ดีในพื้นที่ดิจิทัล เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการแชร์แง่มุมที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมพนักงานของคุณ, การกระจายข่าวว่า คุณให้ความสำคัญกับความสำเร็จของพนักงานมากแค่ไหน, การจ้างงานใหม่ และโปรแกรมที่สนับสนุนพนักงานของคุณ รวมถึง การส่งเสริมการบริจาค และกิจกรรมเพื่อการกุศลของคุณ จะเพิ่มระดับให้กับวัฒนธรรมองค์กรของคุณ และทำให้ดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น Smile Doctors ที่ใช้ LinkedIn เพื่อแสดงความสำคัญของพนักงาน และส่งเสริมความสำเร็จของพวกเขา
องค์กรด้าน Healthcare ในปี 2023 ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์แบบดิจิทัล เพื่อสนับสนุนความพยายามในการสรรหาบุคลากรได้ โดยการตลาดสามารถช่วยในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้
7. การทำ Digital Transformation ของ Healthcare ยังคงดำเนินต่อไป
หากเปรียบเทียบการทำ Digital Transformation ของธุรกิจด้านต่าง ๆ ธุรกิจด้าน Healthcare อาจจะดูมีความล้าหลังกว่าในแง่ของความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัล
“ 47% ยังคงไม่ใช้โซลูชัน CRM เช่นเดียวกับปีที่แล้ว (46% ไม่ได้ใช้ CRM) โดยความซับซ้อนของการผสานรวมระบบ CRM กับ ระบบ EHR (Electronic Health Records) ในหลายสาขา อาจเป็นเรื่องที่น่ากลัว และดูเหมือนว่าหลายองค์กรยังไม่พร้อมสำหรับความท้าทายนี้”
การเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบปีต่อปี สามารถอธิบายได้ว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่ไปอย่างเชื่องช้า โดยเรื่องดิจิทัลไม่ได้เป็นเพียงกุญแจสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน และสร้างผลตอบแทนที่เกินตัวสำหรับนักลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย และการเข้าถึงอีกด้วย
การลงทุนใน Private Equity และการควบรวมบริษัท กำลังกระตุ้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยในการพัฒนาประสิทธิภาพ และลดความซ้ำซ้อน กลุ่มบริษัทด้าน Healthcare กำลังลงทุนในด้านการตลาด และประสบการณ์ของผู้ป่วย/เทคโนโลยีการเข้าถึง รวมไปถึง ด้าน Call Center แบบรวมศูนย์, การจองนัดหมายออนไลน์, การใช้ระบบ CRM แบบรวมศูนย์, การใช้ Live chat และ Chatbot, การติดตามการโทร ฯลฯ
เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลต่อการดำเนินงานเป็นอย่างมาก โดยการนัดหมายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ใหญ่ที่สุดที่คุณสามารถพัฒนาการดำเนินงานได้ พนักงานจะไม่ต้องรับสายโทรศัพท์ในครั้งแรก ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถโฟกัสไปที่เป้าหมาย และงานที่สำคัญมากขึ้นได้
สำหรับแบรนด์ที่มีหลายสาขาในแต่ละพื้นที่นั้น การมี Call Center แบบรวมศูนย์ช่วยให้ตอบคำถามประจำของผู้ป่วยเกี่ยวกับการประกัน, ชั่วโมงการทำงาน ฯลฯ ได้ง่ายมากขึ้น และ CRM ที่กล่าวไปแล้วนั้น สามารถดำเนินการได้หลายอย่าง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลของคนไข้ หรือการส่งข้อมูลเตือนตามนัดหมายนั้น ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น CRM ที่เหมาะสม ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยให้ทีมการตลาดสามารถปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ป่วยให้เป็นแบบ Personalization เพื่อรักษาคนไข้เก่าไว้ได้
เมื่อพูดถึงในแง่มุมของผู้ป่วย ผู้บริโภคด้าน Healthcare คาดหวังประสบการณ์แบบดิจิทัลต่อไปในปี 2023 โดยพวกเขากำลังมองหาการสื่อสารเชิงรุกที่โปร่งใส ซึ่งช่วยให้พวกเขาทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และทำได้อย่างรวดเร็ว จากรายงาน Patient Access Journey Report ในปี 2019 จาก Kyruus พบว่า 40% ของผู้รับบริการเปลี่ยนผู้ให้บริการเพียงเพื่อให้ได้รับการนัดหมายเร็วขึ้น ในขณะที่ 46% ของคนไข้ที่ได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน กล่าวว่า “ความรวดเร็วในการเข้าถึง” เป็นปัจจัยกระตุ้นในการเลือกการรับบริการ และด้วยตัวเลขเหล่านี้ เห็นได้ชัดว่า การทำ Digital Transformation จะยังคงมีความสำคัญต่อไปในปี 2023
จะเห็นได้ว่า เทรนด์ต่าง ๆ นั้น จะมีการพึ่งพาเทคโนโลยี และระบบดิจิทัลเข้ามาร่วมใช้งาน ซึ่งคุณสามารถนำมาปรับใช้กับทุกจุด Touchpoint ที่กลุ่มผู้บริโภคของคุณเข้ามาได้ และสิ่งที่สำคัญคือ งานด้านการตลาดของคุณจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร, ด้านเวลา และด้านงบประมาณ ส่งผลให้ธุรกิจด้าน Healthcare ของคุณเติบโตไปได้อย่างมั่นคง
Source : Cardinal Digital Marketing