<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

8 หลุมพรางที่ทำให้โปรเจ็ค Digital Transformation ล้มเหลว (ภาคแรก)

การทำโปรเจ็คเป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงข้อผิดพลาด และนี่คือ 8 หลุมพรางที่มักจะทำให้ Digital Transformation ล้มเหลว

Digital Transformation8 หลุมพรางที่มักจะทำให้ Digital Transformation ล้มเหลว

1. ไม่กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวหรือกังวล

ทุกโปรเจ็คมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในขณะดำเนินงานได้เสมอ ทีมงานบางคนอาจรับรู้ได้ถึงสัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้น แต่ก็รู้สึกประหม่าเกินกว่าจะพูดออกมาเพราะกลัวจะถูกมองว่าโง่ คำแนะนำของเราก็คือ รันเซสชั่นแบบ stand-alone ด้วย key internal stakeholders ในส่วนที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดความผิดพลาด และทำระบบสำรองข้อมูลที่จะใช้แบ็คอัพในส่วนนั้นได้ตลอดเวลา

Digital Disruption คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ

จากนั้นเปิดโอกาสให้ทีมงานได้แสดงความคิดเห็นหรือเล่าถึงประสบการณ์ในตอนที่โปรเจ็คล้มเหลว เพื่อนำมาศึกษาหาจุดผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับทีมงานในการออกความคิดเห็นที่พวกเขากังวลเกี่ยวกับโปรเจ็ค

2. ไม่เข้าใจถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีบทความเกี่ยวกับ Digital Transformation มากมาย แต่มีน้อยมากที่ให้ความหมายของการทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ได้อย่างชัดเจน และมากกว่าครึ่งของผู้บริหารที่ยังคงสับสนกับเรื่องนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ หากผู้บริหารยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ทำอยู่ก็คงจะไม่สามารถนำบุคลากรคนอื่นๆภายในองค์กรได้ ทั้งนี้เราจึงได้ให้คำจำกัดความของ ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น ดังนี้ “เป็นการผสมผสานระบบดิจิตอลภายในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านวิสัยทัศน์ การสร้างคุณค่า การให้ประสบการณ์และการบริการที่ยอดเยี่ยมแก่ลูกค้า รวมถึงการพัฒนาโอกาสทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ”

เมื่อคุณได้คำจำกัดความที่ชัดเจนแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการนำคำจำกัดความนั้นมาเป็นตัวตั้งต้นในการวางเป้าหมายและกำหนดทิศทางของธุรกิจในการทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น

 

3. ไม่มีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

หลุมพลางหลุมใหญ่ที่เป็นกับดักในการทำให้โปรเจ็คล้มเหลวก็คือ การไม่มีกลยุทธ์ใดๆในการทำงาน หลายครั้งที่องค์กรเลือกจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบให้หวือหวาและทันสมัย โดยลืมไปว่าการมีเครื่องมือที่ดีนั้นหากปราศจากกลยุทธ์ที่ดีในการกำหนดทิศทางในการใช้งาน เครื่องมือนั้นก็ไม่มีความหมาย เหมือนกับการเตรียมตัวเดินทางโดยที่ไม่รู้ว่าจะต้องเดินไปทางไหนและเดินไปเพื่ออะไร

ที่แย่ไปกว่านั้นคือหลายองค์กรใช้งบประมาณเกินงบไปกับการพัฒนาระบบและเครื่องมือไปโดยไม่ได้อะไร นอกจากเสียเงินและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

 

4. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากพอ

การทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ที่ดีเริ่มต้นด้วยความเข้าใจว่าลูกค้าของคุณต้องการอะไร มีวิธิการใช้งานช่องทางดิจิตอลอย่างไร ช่องโหว่คืออะไร หรือมีโอกาสหรือไม่ที่คุณจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆผ่านทางดิจิตอล การลิสต์ความต้องการของลูกค้าแล้วนำมาจับคู่เข้ากับการดำเนินงาน จะช่วยให้การทำงานคุณประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

เพราะหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการทำ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น นั้น คือการทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การใช้งานหรือการรับบริการที่ดียิ่งขึ้น นั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

ผ่านไปแล้วกับ 4 หลุมพรางที่มักจะทำให้การปรับเปลี่ยนองค์กรเข้าสู่รูปแบบ ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ล้มเหลว ในบทความหน้า Ourgreenfish จะมาเฉลยอีก 4 ข้อที่เหลือใน ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ล้มเหลว (ภาคจบ) อย่าลืมติดตามกันให้ได้นะคะ

New call-to-action

New Marketing Plan MarTech Plan

สามารถติดตามข่าวสารจาก Ourgreenfish ได้ที่ Facebook และ Twitter

Cr. smartinsights.com, scopidea.com, betanews.com, localcontent.zenfs.com

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts