<img src="//trc.taboola.com/1081267/log/3/unip?en=page_view" width="0" height="0" style="display:none">
 

Digital Transformation 3 ขั้นตอนปรับตัวสู่โลกแห่งการทำงานแบบดิจิทัล

Audio Version
Digital Transformation 3 ขั้นตอนปรับตัวสู่โลกแห่งการทำงานแบบดิจิทัล
5:20

Digital Transformation ตัวเองอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับตัวให้เข้ากับยุค Digital Transformation ต้องเข้าใจก่อนว่า Digital Transformation ไม่ได้มีผลเพียงแค่ในระดับองค์กรเท่านั้น แต่ยังมีผลถึงระดับคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง ฟรีแลนซ์ ผู้บริหาร มนุษย์เงินเดือน ฯลฯ ซึ่งต้องมีความเตรียมพร้อมทักษะต่าง ๆ ให้ทันยุค Digital Transformation เพราะในอนาคต ทักษะทางด้านเทคโนโลยีมีผลมากขึ้นต่อการทำงาน คนที่ปฏิเสธเทคโนโลยี อาจไม่ทันต่อการปรับตัวในครั้งนี้ ลองมาดูกันว่า 4 ขั้นตอนสำหรับการรับมือ Digital Transformation ในระดับคนทำงานมีอะไรบ้าง

Digital Transformation ตัวเอง ด้วยการหมั่นศึกษาหาความรู้ด้านดิจิทัล เพิ่มคุณค่า

แน่นอนว่าทักษะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ไม่ว่าคุณจะอยู่ในตำแหน่งไหน ซึ่งแต่ก่อนทักษะที่ไม่ใช่เชิงดิจิทัล อย่างทักษะทางด้านภาษา ทักษะการเขียน ทักษาะการพูด ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยสำหรับคนทำงานที่ต้องการจะเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันนั้นนอกเหนือจากทักษะที่กล่าวมาแล้ว ยังมีทักษะทางด้านดิจิทัลต่าง ๆ เช่นทักษะการเขียนโค้ดเบื้องต้น, ทักษะการใช้งานเครื่องมือเกี่ยวกับ Digital Marketing, การใช้เครื่องมือกราฟิกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Photoshop หรือ illustrator ถึงแม้คุณจะไม่ได้อยู่ในสายอาชีพนั้นก็ตาม แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นโปรแกรมเมอร์ อย่างน้อยคุณก็ดูโค้ดออก ดีกว่าทำไม่ได้เลย

ทำไมถึงอยากให้คุณรู้เอาไว้ เนื่องจากงานในปัจจุบันนี้ มีหลายตำแหน่งที่ทำงานใช้ทักษะหลายอย่างเพื่อทำงานคาบเกี่ยวกัน อย่างตัวผู้เขียนเองก็มีทักษะในการเขียน พูด รวมไปถึงทักษะการทำงาน Digital Marketing และ SEO ทำให้ตัวผู้เขียนเองสามารถเล่าเรื่องราวและสอน Digital Marketing ได้  ทักษะเหล่านี้เองจะเริ่มแสดงคุณค่าเมื่อคุณนำมาประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์

Digital Transformation คืออะไร…ใช้ทำอะไรได้บ้างในโลกธุรกิจ

หมดยุคการทำงานแบบ Routine เพิ่มทักษะความคิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้มากขึ้น

Digital Transformation ตัวเอง 002

งานที่ทำงานแบบรูทีน (Routine) คืองานที่ทำงานลักษณะเดิม ๆ มีกิจวัตรประจำวันตายตัว ทำให้ขาดทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนงานที่ใช้แรงนั้นจะตรงข้ามกับงานที่ใช้ความคิดเป็นหลัก

คุณรู้หรือไม่ว่างานที่มีลักษณะเป็นแบบรูทีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้แรง มีอัตราการเพิ่มเงินเดือนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ต่ำกว่าเงินเฟ้อเสียอีก ยิ่งอายุมากขึ้นแนวโน้มที่จะเงินเดือนลดลง แต่กลับกันงานที่ต้องใช้ความคิด และไม่เป็นรูทีนนั้น มีอัตราเงินเดือนโดยเฉลี่ยที่สูง รวมไปถึงอัตราขึ้นเงินเดือนก็สูงตาม ยิ่งอายุมากขึ้นเงินเดือนก็ยิ่งโตเป็นเงาตามตัว โดยสรุปแล้วทักษะการทำงานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และใช้ความคิด มักจะได้ระดับเงินเดือนที่สูงกว่างานที่ต้องใช้แรงและเป็นรูทีนนั่นเอง

นั่นหมายถึงอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำเป็นที่จะต้องเลือกงานให้เหมาะกับตัวเอง ตามที่ตัวเองต้องการ ส่วนคนที่ทำงานอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนสายงาน จำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับการทำงานให้มากขึ้น

เปิดรับทัศนคติใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เราทำได้ ไม่เกินความสามารถ

หลายคนอาจมองว่า งานเดิมที่ทำอยู่นั้นดีอยู่แล้ว การถูกโยกย้ายงานไปยังตำแหน่งใหม่ หรือการเปลี่ยนงานใหม่ เป็นสายงานที่เราขาดความชำนาญ ในช่วงแรกอาจมองว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัว และเป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะเราต้องปรับตัวใหม่ทั้งหมด แต่สำหรับผู้ที่มีทัศนคติที่ดี ควรเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ให้เป็นมุมมองแห่งโอกาส ทำให้เราเรียนรู้งานที่ไม่ถนัด เพิ่มพูนทักษะที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อย่างน้อยขอให้ได้ลงมือทำ อาจจะดีกว่าที่เราคาดหวังไว้ก็ได้ ถ้าได้ทำแล้วผลออกมาไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้ ก็นำไปปรับปรุง ถึงแม้ว่าเราจะลองทำแล้วเกิดไม่ถนัดจริง ๆ แต่อย่างน้อยก็ขึ้นขื่อว่าได้ลงมือทำอย่างสุดความสามารถแล้ว ดีกว่าถอดใจที่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย

จะเห็นได้ว่าทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะทางด้านดิจิทัล เป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมไปถึงการทำงานแบบ Non-Routine สุดท้ายคือเรื่องของทัศนคติ ที่ต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้การ Digital Transformation ตัวเองประสบความสำเร็จ

ที่มาบางส่วนจาก [1]

Thanakarn Lertsudwichai x Ourgreenfish

New call-to-action

New Marketing Plan MarTech Plan

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

 

Recent Posts

OGF Podcast