พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต้องหาทางในการศึกษาหาข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อปรับให้การดำเนินงานทางธุรกิจทั้งด้านการตลาด, การขาย และการให้บริการนั้น ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ซึ่งการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยให้คุณนำไปใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ตลอดทั้งเส้นทางการเดินทางของผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภคคืออะไร?
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) คือ การศึกษาว่า ผู้คนทำการสั่งซื้ออย่างไร และทำไมถึงซื้อ รวมถึงสิ่งใดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของพวกเขา
บางบริษัทก็จะมีการใช้ระบบ หรือซอฟต์แวร์ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษา พฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถรวบรวม และจัดระเบียบ ข้อมูล, สร้าง Dashboard เพื่อแสดงการวิเคราะห์แบบ Real-time, ตรวจสอบ KPI ของธุรกิจ และสร้าง Data Report ได้แบบอัตโนมัติ
ความสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target market) ได้ลึกมากขึ้น ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าของคุณมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ใช้เวลาและเงินของคุณได้อย่างดีที่สุดได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภคมีอยู่ 4 ประเภท โดยแต่ละบุคคลอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งแบบหรือมากกว่านั้น ซึ่งคุณต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาว่า ผู้บริโภคของคุณมีพฤติกรรมแบบใดมากที่สุด
พฤติกรรมการซื้อที่ซับซ้อน (Complex buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคทำการซื้อเฉพาะ (Unique Purchase) ซึ่งอาจเป็นกระบวนการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง หรือสิ่งที่ผู้ซื้อไม่ค่อยคุ้นเคย ในกรณีนี้ ผู้บริโภคจะใช้เวลามากในการค้นคว้าหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อทำให้การตัดสินใจนั้นถูกต้อง
ขั้นตอนการวิจัยผู้บริโภคของพฤติกรรมการซื้อนี้ อาจรวมถึง การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด หรือปรึกษากับเพื่อน, ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญโดยผู้บริโภคใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาไอเดีย เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องในการเริ่มมีความคิดเห็น และในที่สุดความคิดเห็นนี้จะกลายเป็นความชอบ สำหรับผลิตภัณฑ์ บางอย่างที่พวกเขาคิดว่าจะ ตอบสนองความคาดหวังของตนได้และทำการซื้อในที่สุด
พฤติกรรมการซื้อที่ ลดความซับซ้อน (Dissonance-reducing buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่ลดความซับซ้อน คือ เมื่อผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้เวลามากในการตัดสินใจซื้อ โดยการตัดสินใจนี้ อาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเขา เนื่องจากพวกเขาต้องมองหาข้อดี และความแตกต่างระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ อย่างยากลำบาก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเมื่อมีการซื้อใน จำนวนมาก
ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์มากนัก อาจใช้เวลานานในการตัดสินใจ เลือกซื้อ โดยพวกเขาอาจจะมีเกณฑ์บางอย่าง เช่น ที่นั่งแบบ 4 ประตู, ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly), ที่นั่งที่ให้ความสบาย และด้วยรถยนต์จำนวนมาก ที่มีคุณสมบัติตามที่พวกเขาต้องการ จึงทำให้การตัดสินใจครั้งนี้ อาจเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โดยความกังวลหลัก ๆ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องเจอกับพฤติกรรมการซื้อนี้ คือ ความกลัวในการ เลือก และรู้สึกเสียใจในภายหลัง
พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย (Habitual buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย คือ เป็นพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีความ เสี่ยงน้อยและไม่มีความแตกต่างระหว่าง แบรนด์ต่าง ๆ มากนัก ในกรณีนี้ผู้ซื้อมักจะคุ้นเคยกับ ผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว หรือใช้อยู่เป็นประจำ
พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับการซื้อด้วยอารมณ์ หรือการซื้อที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า (Impulse buying) เนื่องจากลูกค้าเข้าใจตลาดอยู่แล้ว โดยพวกเขาจะพึ่งแบรนด์ที่มีความ คุ้นเคยเมื่อทำการซื้อของเหล่านี้ แต่ความภักดีต่อแบรนด์ไม่ได้สำคัญสำหรับพวกเขา เพราะพวกเขารู้จักแบรนด์มากมายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้
พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย (Variety-seeking buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ โดยพวกเขามักจะใช้ผลิตภัณฑ์เดิมมาระยะหนึ่งแล้ว และต้องการลองสิ่งใหม่ ๆ
โดยการเลือกสิ่งที่ต่างออกไป ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะไม่พึงพอใจกับประสบการณ์ ที่ได้ รับจากผลิตภัณฑ์เดิมก่อนหน้านี้เสมอไป ซึ่งพฤติกรรมการซื้อแบบนี้ มักจะเห็นได้ในกลุ่มของ ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อย
ปัจจัยของพฤติกรรมผู้บริโภค
ปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อวิธีการ หรือเหตุผลในการเลือกซื้อ ตามความต้องการแบบเฉพาะ บุคคลของพวกเขา ซึ่งจะพบได้ในกระบวนการซื้อนั้น ๆ
ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม
ปัจจัยทางวัฒนธรรมช่วยผู้คนในการสร้าง และเปลี่ยนความคิดเห็น กับความชอบ โดยมุมมองทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากค่านิยม และอุดมการณ์ของชุมชนลูกค้าของคุณ ซึ่งปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ รวมถึงวัฒนธรรมย่อย อย่างเช่น ศาสนา, ชาติพันธุ์, สัญชาติ หรือสมาคมภูมิศาสตร์
ชนชั้นทางสังคมมีบทบาทสำคัญในปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เพราะหากชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถซื้อสินค้าของคุณได้ หรือสินค้านั้น ไม่มีประโยชน์กับพวกเขาแล้ว คุณจะทำให้พวกเขา เสียเวลาไปเปล่า ๆ และหากไม่มีชุมชนกลุ่มไหนที่มองเห็นประโยชน์ในสินค้าของคุณ ก็อาจจะคุ้มค่า ในการกลับไปวางแผน หรือเริ่มต้นใหม่
ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีโอกาสมาเป็นลูกค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็น อายุ, เพศ, อาชีพ, ระดับการศึกษา, รายได้ หรือไลฟ์สไตล์
อายุและเพศ จะช่วยให้คุณจำกัดขอบเขตในการคิดของพวกเขาได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายประกัน การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค อาจแสดงให้เห็นว่า คนที่คุณควรขายให้นั้น เป็นวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ หรือถ้าหากคุณกำลังขายวิดีโอเกม การวิเคราะห์อาจแสดงให้เห็นถึง สิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาวให้ความสนใจมาก
การรวบรวมข้อมูลในเรื่องของรายได้ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสินค้า หากคุณกำลังพยายามขายสินค้า หรือบริการที่แพงเกินไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายของคุณ แสดงว่าคุณกำลังทำผิดพลาดครั้งใหญ่ ในทางกลับกัน คุณสามารถระบุได้ว่า การขึ้นราคาเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่ โดยการวิเคราะห์รายได้ของผู้บริโภคของคุณ จะแสดงให้เห็นว่า พวกเขายินดีจ่ายเท่าไหร่ โดยพิจารณาจากจำนวนเงินที่พวกเขาใช้จ่ายอยู่
อาชีพ และไลฟ์สไตล์เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่สำคัญที่ส่งผลต่อข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายปากกามาร์คเกอร์ การทำการตลาดกับกลุ่มคุณครู ก็จะมีความ สำคัญเป็นพิเศษ หรือหากคุณกำลังขายเครื่องออกกำลังกาย คุณต้องการโฟกัสไปยังคนที่ ต้องการจะออกกำลังกาย
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค และวิธีการที่พวกเขาพยายามในการตัดสินใจซื้อ โดยปัจจัยเหล่านี้ จะรวมถึงความเชื่อ, แรงจูงใจ และการรับรู้
โดยความเชื่อมีบทบาทอย่างมากต่อการที่สินค้าของคุณจะได้รับการตอบรับที่ดีหรือไม่ หากคน หนึ่งมีความหลงใหลในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของสัตว์มาก ๆ และสินค้าของคุณทำด้วยขนสัตว์จริง แบรนด์ของคุณก็จะไม่ตรงกับความเชื่อของคนนั้น และเขาก็จะไม่มาเป็นลูกค้าของคุณ
แรงจูงใจจะมีบทบาทน้อยกับสิ่งที่คนต้องการ (Want) แต่จะมีบทบาทมากกว่ากับสิ่งที่คนจำเป็นต้องมี (Need)
บริษัทที่ขายกล้องวงจรปิด ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อกระตุ้นการรักษาความปลอดภัยและเพิ่มการป้องกันตัวเอง
ซึ่งการรับรู้นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคสร้างความคิดเห็นแบบเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสินค้าของคุณ โดยความคิดเห็นนี้ มักจะเกิดขึ้นจากการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และความพยายามทางการตลาดของคุณ, การรีวิวของลูกค้า และชื่อเสียงโดยทั่วไป
ปัจจัยทางด้านสังคม
ปัจจัยทางสังคมประกอบไปด้วยผู้คนในชีวิตของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา และการตัดสินใจของพวกเขา โดยกลุ่มหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจด้านจิตวิทยาสังคมเหล่านี้ คือ ครอบครัว และเพื่อน เมื่อเพื่อนที่เชื่อถือได้แนะนำสินค้า ผู้บริโภคก็จะได้รับความปลอดภัย เพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ด้วยการที่รู้ว่าเพื่อนของพวกเขาใช้สินค้านั้นแล้วดี
88% ของผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า พวกเขาเชื่อคำแนะนำจากคนที่พวกเขารู้จักมากกว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ
ปัจจัยทางด้านสถานการณ์
ปัจจัยทางด้านสถานการณ์เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยชั่วคราว แต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน ก็จะรวมถึงการจัดแสง, การจัดวางต่าง ๆ, ดนตรี, สถานที่ และบรรยากาศทั่วไปของร้าน
ปัจจัยทางด้านสถานการณ์ สำหรับร้านค้าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ได้แก่ ความง่ายในการเลือกซื้อ, สีและโครงสร้างหน้าเว็บเพจ หรือเวลาในการดาวน์โหลดข้อมูล หากหน้าเว็บใช้เวลาในการโหลดนานเกินไป หรือผู้เข้าชมยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อสินค้ากับคุณหรือไม่ ก็อาจจะทำให้คุณสูญเสียลูกค้าไปได้
รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค
คุณควรจับตาดูรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย ในการเริ่มเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรม ผู้บริโภค โดยการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ทำให้คุณสามารถตรวจสอบสิ่งที่ทำได้มากกว่าเดิม เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย
ขั้นตอนของพฤติกรรมผู้บริโภค
การทำความเข้าใจ 5 ขั้นตอนหลักที่ผู้บริโภคอยู่ในกระบวนการซื้อ จะสามารถช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคได้ในทุกขั้นตอน โดยมีดังนี้
ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
การรวบรวม และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก และการมีข้อมูลจำนวนมากย่อมมีประโยชน์กว่าการที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะเราจำเป็นที่ต้องจะใช้ข้อมูลในการดำเนินการดังนี้
75% ของผู้บริโภค มีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มอบประสบการณ์แบบ Personalization มากขึ้น
ความท้าทายของพฤติกรรมผู้บริโภค
ในการเริ่มรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค มีสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึง เพื่อบริหารจัด การกับความคาดหวังและเตรียมแผนสำรองเอาไว้
วิธีรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่า ข้อมูลของพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของโลกออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์มากมาย ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาปรับใช้กับแผนการดำเนินงานธุรกิจได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Source : Learn.g2.com