15 กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจ Healthcare ดึงดูดผู้บริโภคที่ใช่ให้เข้ามาหาคุณ

ในขณะที่ทุกอุตสาหกรรมต่างกำลังแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความสนใจจากผู้บริโภค ธุรกิจด้าน Healthcare หรือธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจนี้ ก็จะมีการปรับให้เหมาะกับพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เมื่อผู้บริโภคคาดหวังประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ  หรือความก้าวหน้าทางดิจิทัลเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากขึ้น การให้บริการเบื้องต้นผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ลดเวลาและขั้นตอนการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกการให้บริการ และไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ใกล้ที่สุด สำหรับการตลาดด้าน Healthcare คุณจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ทางการตลาดด้านการแพทย์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีที่สุด เพื่อรักษาให้แบรนด์ของคุณอยู่ในใจของผู้บริโภคเป็นอันดับต้น ๆ 

ลองมาดูเหตุผลบางส่วนที่ทำให้กลุ่มผู้บริโภคตัดสินใจเปลี่ยนผู้ให้บริการด้าน Healthcare

  • การย้ายถิ่นฐาน หรือที่อยู่ใหม่
  • ผู้ให้บริการไม่รับประกันสุขภาพอีกต่อไป
  • ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในบริการเดียวกัน
  • มีการจำกัด หรือไม่สามารถเข้าถึงการนัดหมายในวันเดียวกันได้
  • มีการจำกัด หรือไม่สามารถเข้าถึงการสื่อสารโดยตรงกับแพทย์ของตนเองได้
  • มีการจำกัด หรือไม่สามารถเข้าถึงการนัดหมายแบบ Virtual Care หรือบริการดูแลรักษาเสมือนผ่านทางออนไลน์ (อย่างเช่น Telehealth หรือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการแพทย์ผ่านระบบโทรคมนาคม)
  • มีการจำกัด หรือไม่สามารถเข้าถึงการกำหนดเวลานัดหมายออนไลน์, การชำระเงิน
    หรือเวชระเบียนที่ปลอดภัย
  • การไม่พึงพอใจกับเวลาในการรอเข้ารับบริการ
  • ประสบการณ์เชิงลบของผู้บริโภค
  • ไม่มีการเข้าถึงความสามารถในการตรวจผู้ป่วยจากทางไกลได้

ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ การวางแผนการตลาดด้าน Healthcare ที่มีการวางงบประมาณ จึงสำคัญมากในการเข้าถึงผู้บริโภครายใหม่ และผู้บริโภครายเดิม ๆ ให้กลับมาหาคุณในเวลาที่เหมาะสม

New Call-to-action

วางแผนกลยุทธ์การตลาดด้าน Healthcare ของคุณ

แพทย์มักจะพูดกับผู้ป่วยเสมอว่า การป้องกันใช้ความพยายามน้อยกว่าการรักษาให้หาย หรือกันไว้ดีกว่าแก้นั่นเอง ซึ่งก็เหมือนกับการตลาด หากคุณมีกลยุทธ์ทางการตลาดตอนนี้ ก็ย่อมดีกว่าการรอจนไม่มีฐานข้อมูลการตลาด CRM ของผู้บริโภคของคุณหลงเหลืออยู่เลย

การตลาดด้าน Healthcare คืออะไร?

การตลาดด้าน Healthcare เป็นกระบวนการของการเข้าถึงเชิงกลยุทธ์ และการสื่อสารที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพรายใหม่, ดูแลพวกเขาตลอดการเดินทางด้านการดูแลสุขภาพ และรักษาให้พวกเขามีส่วนร่วมกับระบบการดูแลสุขภาพ, บริการ หรือผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ 

แผนการตลาดด้าน Healthcare ที่ดีที่สุดจะมีการผสานการใช้ความพยายามผ่านทางออนไลน์ และออฟไลน์ในหลากหลายช่องทาง โดยมีการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อผลักดันการเติบโต และการมีส่วนร่วม ซึ่งทั้งหมดนี้ จะโฟกัสไปที่ตัวชี้วัดเฉพาะ หรือ KPI ของตลาด และผลตอบแทนจากการลงทุน

หากธุรกิจสามารถทำการตลาดด้าน Healthcare ได้อย่างถูกต้อง ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • พัฒนาประสบการณ์ของผู้ป่วย
  • ทำให้ผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพมีส่วนร่วมในการเข้าถึงที่เป็นแบบ Personalization, ตรงจุด และเหมาะสมในการเดินทางของพวกเขา
  • ช่วยให้ผู้บริโภคทำการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และดีมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับแบรนด์ด้าน Healthcare และผู้บริโภค
  • เพิ่มฐานผู้บริโภคของคุณ, รักษาผู้บริโภคเดิมได้ในระยะยาว และเพิ่มความภักดีในชุมชนการดูแลสุขภาพของคุณ
  • กระตุ้น Lead ที่มีคุณภาพที่สุดได้มากขึ้น และสร้างรายได้มากขึ้น
  • เพิ่มการบอกต่อเพื่อทำการส่งตัวผู้ป่วยของแพทย์ในพื้นที่ได้ 
  • วางตำแหน่งแพทย์ของคุณให้เป็นผู้นำทางความคิดในตลาด
  • ประเมินผลิตภาพ (Productivity) ของคุณ และปรับกลยุทธ์ใหม่
  • เพิ่มความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ของคุณ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพในตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ
  • พัฒนาชื่อเสียงออนไลน์ของคุณ
  • สร้างแบรนด์ของคุณ

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดอุตสาหกรรมด้าน Healthcare ต้องการความคล่องตัวและการโฟกัส คุณอาจต้องจ้างเอเจนซี่การตลาด และวางแผนสำหรับงบประมาณที่มากขึ้นกว่าที่เคยใช้มา ซึ่งก็จะคุ้มค่า และสบายใจเมื่อได้เห็นกำไรของคุณเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม

Download E-book

 

และในบทความนี้ เรามี 15 กลยุทธ์ในการวางแผนการตลาดด้าน Healthcare ที่น่าสนใจจาก Healthcare Success ซึ่งคุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ Healthcare ของคุณได้จริง

1. สร้างความเสมอต้นเสมอปลายให้กับแบรนด์ Healthcare

คุณอาจจะรู้สึกมั่นใจว่า ความเชี่ยวชาญของคุณนั้นสร้างความแตกต่างจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพ หรือธุรกิจอื่น ๆ ได้ แต่อันที่จริง ๆ แล้ว สำหรับผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพ ที่ไหน ๆ ก็มีความเหมือนกันไปหมด และผู้บริโภคมักไม่เต็มใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากคนที่พวกเขาไม่รู้จัก และไม่ไว้วางใจ

เมื่อคุณสร้างแบรนด์ที่แข็งแรง และเป็นที่รู้จัก และส่งเสริมการรับรู้ถึงแบรนด์  มันจะช่วยคุณในการลดต้นทุนของ Cost-per-acquisition (ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้ลูกค้าใหม่ 1 คน) โดยรวม และเพิ่ม ROI ของคุณได้เป็นอย่างมาก 

โดยอย่างแรก คุณต้องพิจารณาดูว่า แบรนด์ของคุณเกี่ยวข้องกับอะไร หรือ ธุรกิจด้าน Healthcare ของคุณมีเอกลักษณ์อะไรเป็นพิเศษ? และสิ่งนั้นเป็นวิธีที่คุณใช้กับผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพใช่หรือไม่? ออฟฟิศ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของคุณเป็นอย่างไร? 

อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทีมแพย์ของคุณไม่เหมือนใคร และเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคจำชื่อแบรนด์ของคุณได้ นั่นก็คือ การโปรโมทรางวัล หรือการยกย่องสำหรับความสำเร็จ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากในการสร้างความไว้วางใจให้แบรนด์ของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะคุณกำลังขอให้ผู้บริโภคไว้วางใจคุณในเรื่องสุขภาพของพวกเขา

มันอาจจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาว่า อะไรดีที่สุดสำหรับแบรนด์ของคุณ แต่สุดท้ายแล้ว กลยุทธ์การตลาดด้าน Healthcare ที่มาพร้อมกับการสร้างแบรนด์ และสื่อการตลาดที่มีความเสมอต้นเสมอปลาย ก็จะนำเสนอแบรนด์ของคุณในแง่ที่ดีที่สุด

How to build a brand

 

2. ประเมินประสบการณ์ของผู้ป่วยทางออนไลน์

ในยุคก่อน ๆ เพียงแค่มีเว็บไซต์ก็เพียงพอแล้วที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มีโอกาสมาเป็นผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพได้ และช่วยให้พวกเขาค้นพบความเป็นตัวตนของแบรนด์ด้าน Healthcare ของคุณ

แต่ในทุกวันนี้ การมีส่วนร่วมของผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพเปลี่ยนไปสู่ประสบการณ์การดูแลเสมือนจริง (Virtual Care) ที่พร้อมมากขึ้น อย่างเช่น Telehealth และการตรวจแบบทางไกล

เว็บไซต์ ก็เป็นเหมือนประตูหน้าขององค์กรของคุณ โดยมักจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น หากไม่มีการปรับให้เหมาะสม ก็อาจเป็นครั้งสุดท้ายที่คนจะพิจารณาโรงพยาบาล หรือการปฏิบัติด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

นอกจากการตรวจสอบว่า เว็บไซต์ของคุณมีข้อมูลติดต่อที่ถูกต้อง และเข้าถึงได้ง่ายแล้ว (อย่างเช่น สถานที่ตั้ง, หมายเลขโทรศัพท์, แบบฟอร์มการติดต่อ และบริการหลัก) ภาพ และข้อความก็ต้องแสดงถึงฐานผู้บริโภคของคุณ

ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ดีขึ้น ธุรกิจด้าน Healthcare ยังต้องรวมถึงประสบการณ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างเช่น การเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย, การนัดหมายตรงเวลา และการสื่อสารที่มีคุณภาพกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โดยจะต้องรวมเข้าไปในทุกประสบการณ์ที่พวกเขามีกับแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และ User Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ ก็เป็นส่วนสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ แต่บางครั้ง นักออกแบบก็ให้ความสำคัญกับการทำให้เว็บไซต์ดูดี จนลืมให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ป่วย โดยมักจะพบว่า เว็บไซต์จำเป็นต้องปรับอะไรใหม่ทั้งหมด แต่เราก็ยังต้องมองหาวิธีการปรับพัฒนาเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทำได้ทันที เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้มากขึ้น อย่างเช่น การวางตำแหน่งของ “Contact Us” หรือ "ติดต่อเรา" ในครึ่งหน้าบนของเว็บไซต์

การสร้างประสบการณ์เชิงบวกของผู้ป่วย ยังหมายถึง การวิเคราะห์ว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักมีส่วนร่วมกับคุณอย่างไร (ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, โฆษณาที่ต้องเสียเงิน, บริการของ Third-party ฯลฯ)

ผู้บริโภคต้องการติดต่อสื่อสารกับคุณด้วยความสะดวกของตนเอง ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดทางการแพทย์ของคุณ จะต้องคำนึงถึงทุกจุด Touchpoint ของผู้บริโภค โดยให้ตรวจสอบเส้นทางที่ผู้บริโภคใช้หลังจากมีส่วนร่วมกับธุรกิจของคุณเป็นครั้งแรก และดูว่า พวกเขาโทร หรือส่งแบบฟอร์ม (หรือไม่) ซึ่งการทำ Customer Journey จะช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการของพวกเขาได้ดีขึ้น และรู้ถึงสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิด Conversion ได้

How to Imporve Customer Experience

 

3. สร้างเว็บไซต์ด้าน Healthcare ที่เหมาะกับการแสดงผลบนหน้าจอประเภทต่าง ๆ 

เว็บไซต์ที่ปรับให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ จะปรับขนาดหน้าจอโดยอัตโนมัติ ดังนั้นประสบการณ์การใช้งานจะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเข้าเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการออกแบบเว็บไซต์ในปัจจุบัน แต่ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ Search Engine มองหา เพื่อพิจารณาถึงการจัดอันดับการแสดงผลการค้นหาของคุณ

Google ให้ความสำคัญกับ User Experience โดยในเดือนกันยายน ปี 2020 Google มุ่งมั่นที่จะจัดทำ Mobile First Index ของเว็บไซต์ทั้งหมด รวมถึง เว็บไซต์ด้าน Healthcare ซึ่งหมายความว่า เว็บไซต์จะจัดอันดับเว็บไซต์ที่ปรับให้เหมาะสมสูงกว่าเว็บไซต์ที่ไม่ปรับ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะปรับให้เหมาะสมได้ แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องรับรองว่า คอนเทนต์ และรูปภาพของคุณโหลดอย่างถูกต้อง (และรวดเร็ว) บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ทุกประเภท

 

4. ทดสอบความเร็วของเว็บไซต์

นักการตลาดด้าน Healthcare ที่ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ (ผู้ที่มีโอกาสมาเป็นผู้บริโภคด้าน Healthcare) ผ่านทางออนไลน์ และได้พิสูจน์มาแล้วว่า ผู้บริโภคไม่เต็มใจที่จะต้องทนกับการโหลดข้อมูลที่ช้า โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 วินาที ในการสูญเสียลูกค้าในอนาคตไปได้เลย

และยิ่งไปกว่านั้น หากเว็บไซต์มีความเร็วต่ำ อาจทำให้เว็บไซต์ทางการแพทย์ หรือการดูแลสุขภาพของคุณตกอันดับในผลการค้นหาของ Search Engine โดยคุณสามารถทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ของคุณได้โดยใช้ PageSpeed ​​Insights ของ Google หากเวลาในการโหลดนั้นช้า ให้ปรึกษานักพัฒนาเว็บไซต์ของคุณเพื่อเพิ่มความเร็ว นอกจากนี้ ให้คุณลองตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ของคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วย เพื่อดูว่า เว็บไซต์ของคุณเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับพวกเขา


5. เพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของ Organic Search สำหรับผู้ที่มีโอกาสมาเป็นผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพ

การทำ SEO เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำให้โรงพยาบาล หรือคลิกนิกของคุณขึ้นสู่อันดับต้น ๆ ของ Search Engine แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ซับซ้อนกว่าที่คนส่วนใหญ่เข้าใจมาก 

คุณไม่สามารถใช้คำว่า “ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ” ถึง 100 ครั้งในทั่วทั้งเว็บไซต์ของคุณ และก็หวังว่าจะติดอันดับ 1 บน Google ท่ามกลางกลุ่มแพทย์ และศัลยแพทย์ที่ให้บริการด้านสุขภาพในพื้นที่ของคุณ

SEO เกี่ยวข้องกับการใช้วลี และ Keyword ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ Google สามารถเข้าใจเว็บไซต์ขององค์กรด้านการดูแลสุขภาพของคุณ โดยการโฟกัสไปที่กลยุทธ์ SEO แบบ Organic จะช่วยให้คุณจัดอันดับสำหรับข้อความค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม, มีความเกี่ยวข้อง และตรงประเด็น (อย่างเช่น ภาวะทางการแพทย์, การรักษาพยาบาลโดยแพทย์ทุกประเภท) แต่คุณก็ต้องใช้คำเหล่านี้อย่างเป็นธรรมชาติในคอนเทนต์ของคุณ เพราะ Google ให้ความสำคัญกับการอ่านง่ายเป็นอันดับแรก

ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแนวทางการทำ SEO ด้าน Healthcare เบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งยังรวมไปถึงอีกหลายอย่างที่คุณต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็น

  • การพัฒนาหน้าคอนเทนต์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพ และปรับให้เหมาะสมกับ Keyword ของคุณ
  • การมี Internal Link หรือลิงก์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเพจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ของคุณ
  • การได้ External Link หรือลิงก์ที่กลับมาจากเว็บไซต์ด้านสุขภาพที่มีชื่อเสียงภายนอก
  • การจัดการ Site Index หรือ Sitemap ของคุณ (ทำให้ง่ายต่อ Search Engine ในการอ่าน และจัดอันดับ)

การอ้างสิทธิ์เว็บไซต์ด้านการดูแลสุขภาพของคุณใน Google Business Profile และกรอกรายชื่อธุรกิจของคุณด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน และถูกต้อง

6. ใช้การทำ PPC และโฆษณาแบบ Display Ads สำหรับการตลาดด้าน Healthcare

การทำ SEO เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบ Organic ที่ใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งการมองเห็นระบบการดูแลสุขภาพ, โรงพยาบาล ฯลฯ บนช่องทางออนไลน์ที่มากขึ้น

ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ของคุณจะอยู่ในอันดับ 1 แบบ Organic สำหรับข้อความค้นหาบางคำ แต่ก็ยังมีโฆษณาแบบเสียเงิน 3 หรือ 4 โฆษณาที่อยู่เหนือหน้าเว็บที่เป็น Organic ของคุณที่ผู้คนจะเห็นก่อนอยู่ดี

PPC (Pay-per-click) หรือการจ่ายเงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาบน Search Engine โดยจะจ่ายเงินตามจำนวนครั้งที่ผู้คนคลิกโฆษณา เพื่อเข้าชมในเว็บไซต์ ซึ่ง PPC เป็นการโฟกัสไปที่การปรากฏหน้าเว็บไซต์เป็นอันดับแรกในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERP) สำหรับชุดข้อความค้นหา ซึ่งคุณสามารถบริหารจัดการงบประมาณของคุณด้วยการค้นหาที่เสียค่าใช้จ่าย และตัดสินใจว่าต้องการใช้จ่ายเท่าใด เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับต้น ๆ ของหน้า SERP โดยผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณนั้น จะมีความชัดเจน และกำหนดไว้ด้วยทั้ง PPC และโฆษณาแบบ Display Ads ที่ปรากฏบนแถบด้านข้าง หรือด้านบนของเว็บไซต์อื่น ๆ

 

7. ใช้ประโยชน์จาก Social Media อย่างถูกวิธี

โรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวนมากอาศัยเพียงสื่อ Social Media แบบ Organic เป็นส่วนใหญ่ของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล โดยสื่อ Social Media แบบ Organic หมายถึง การโพสต์รูปภาพ, การอัปเดตต่าง ๆ หรืองานอีเวนต์ ฯลฯ ให้ตรงไปยัง Facebook, Twitter หรือ YouTube ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ถูกต้อง และช่วยให้ผู้บริโภคด้าน Healthcare ทราบว่ามีอะไรใหม่ ๆ

การโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่ายบน Social Media เป็นวิธีที่ดีในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจกำลังมองหาบริการของคุณ โดยสื่อ Social Media แบบเสียเงินนั้นมีมากกว่าแค่ปุ่ม "Boost Post" ที่ปรากฏขึ้นเมื่อคุณโพสต์จากหน้า Business page ของคุณ เช่นเดียวกับ PPC หรือโฆษณาแบบ Display Ads มันก็เกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์ และการกำหนดงบประมาณ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ

 

8. ขอการรีวิวจากผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพ

ผู้บริโภคต้องการเห็นว่า คนอื่น ๆ ได้รับประสบการณ์ที่ดี ก่อนที่จะนัดหมายเข้ารับการบริการ โดยการรีวิวออนไลน์ยังคงได้รับความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ที่มีโอกาสมาเป็นผู้ป่วย และผู้ป่วยปัจจุบัน โดย 86% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,124 ราย ที่ทำแบบสำรวจนั้นเชื่อถือรีวิวออนไลน์พอ ๆ กับคำแนะนำจากคนที่รู้จัก และเชื่อว่าการรีวิวเหล่านี้เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เมื่อต้องทำการเลือกแพทย์คนใหม่

โดยทั่วไปแล้ว ผู้บริโภคด้าน Healthcare จะเขียนรีวิวเมื่อมีแรงจูงใจให้ทำเท่านั้น (เช่น หากพวกเขาเคยมีประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ หรือประสบการณ์ที่แย่มาก ๆ) หากคุณไม่ได้ขอความเห็นในเชิงรุก คุณจะพลาดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเชิงบวกของผู้บริโภค ดังนั้น ให้คุณจับตาดูความคิดเห็นของผู้บริโภคด้วย โดยอาจจะใช้แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ 

 

9. ติดตาม Feedback จากผู้บริโภคสำหรับการทำการตลาดของคุณ

หากผู้บริโภคด้าน Healthcare แชร์ความคิดเห็นที่ไม่ดีเกี่ยวกับการปฏิบัติของคุณในเว็บไซต์รีวิวภายนอก เช่น Google, Facebook ฯลฯ คุณต้องตอบกลับ และแสดงให้เห็นว่า คุณกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อมีการติดตามที่เหมาะสม ผู้บริโภคอาจมีแรงจูงใจในการอัปเดตรีวิวของตน เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าคุณมีการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว

โดยการบริหารจัดการชื่อเสียง และการบริหารจัดการความคิดเห็นของผู้บริโภค ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดด้านการดูแลสุขภาพ โดยให้มองว่า การรีวิวในเชิงลบ เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ และการพัฒนากระบวนการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในอนาคต

 

Customer Feedback Management

 

10. ให้ลองดูสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) เป็นตัวเลือก

ธุรกิจด้าน Healthcare จำนวนมากลังเลที่จะลงทุนในโอกาสทางสื่อภายนอก อย่างแหล่งโฆษณาแบบดั้งเดิม เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, ป้ายโฆษณา และหนังสือพิมพ์ โดยสิ่งเหล่านี้ อาจเป็นการลงทุนที่สำคัญ ดังนั้น คุณต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินของคุณ เพื่อดูผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและจับต้องได้

การให้ผู้ซื้อสื่อด้าน Healthcare ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทำการตัดสินใจแทนคุณเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่า กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณาของคุณในเวลาที่เหมาะสม ป้ายโฆษณาแบบบิลบอร์ดอาจดึงดูดผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพได้เพียงเล็กน้อย แต่โฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีประชากรที่เป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมายของคุณ จะสามารถสร้าง ROI ให้คุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ

11. สร้างการแนะนำ หรือบอกต่อลงไปในแผนการตลาดของคุณ

การแนะนำ หรือบอกต่อ เป็นเป็นกลยุทธ์การตลาดแบบ Organic ที่ดีที่สุดในการดึงดูดผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพรายใหม่ โดยอาจจะมีการโปรโมทแบรนด์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการทางการแพทย์ของคุณไปยังบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้พวกเขามีการแนะนำต่อไปยังกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ๆ ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย 

 

12. สอบถามผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพในปัจจุบันของคุณ

แม้จะเทียบกับการโฆษณาดิจิทัลไม่ได้ แต่การบอกต่อแบบปากต่อปาก ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดโดยรวมของคุณเสมอ

ให้ติดตามผลกับผู้บริโภคของคุณหลังจากการนัดหมาย หรือหลังกระบวนการต่าง ๆ เพื่อดูว่า พวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง ให้ถามเกี่ยวกับครอบครัวของพวกเขา หรือส่งการ์ดวันเกิดด้วย Personal Touch หรือ การสร้างความรู้สึกประทับใจพิเศษ นอกจากนี้ คุณควรส่งอีเมล และข้อความเตือนสำหรับการนัดติดตามผล (ด้วยตนเอง หรือผ่านทาง Telemedicine) และทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้

โดยผู้บริโภคมักจะชื่นชมที่คุณสละเวลามาเพื่อติดต่อพวกเขา และอาจแนะนำธุรกิจของคุณให้กับเพื่อน และครอบครัวอีกด้วย

 

22 Examples of Customer Retention Strategies That Work

 

13. เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิด ในด้านการแพทย์เฉพาะของคุณ

ผู้ที่มีโอกาสมาเป็นลูกค้าด้านการดูแลสุขภาพ มีแนวโน้มที่จะจดจำแบรนด์ที่สร้างตัวตน เป็นผู้มีอิทธิพลในการแพทย์เฉพาะทางของตนเอง โดยกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของคุณ ควรเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสื่อที่เหมาะสมเมื่อคุณมีสิ่งที่น่าสนใจที่จะแชร์ ซึ่งเกือบจะเป็นการโฆษณาฟรีสำหรับแบรนด์ด้าน Healthcare ของคุณ โดยให้ติดตามข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรมด้าน Healthcare เฉพาะของคุณผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ต่าง ๆ 

 

14. ติดตามกลยุทธ์ทางการตลาดของคุณ

คุณควรติดตามอย่างต่อเนื่องว่า กลยุทธ์การตลาดทางการแพทย์ของคุณให้ผลตอบแทนอย่างไรในแง่ของ ROI โดยในแต่ละปี งบประมาณด้านการตลาดด้านการดูแลสุขภาพของคุณควรปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งที่คุณต้องการโฟกัส และอิงจากการศึกษาตัวชี้วัดของคุณอย่างรอบคอบ (Dashboard การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ) โดยมีหลายวิธีในการติดตามการตลาดผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพประเภทนี้ เช่น

  • ใช้ระบบ CRM (ระบบการบริหารจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้า) อย่างเช่น HubSpot เพื่อติดตามวิธีที่ ผู้บริโภคด้านการดูแลสุขภาพมีส่วนร่วมกับแคมเปญของคุณผ่านทางอีเมล, คอลเซ็นเตอร์ หรือ Landing Page ต่าง ๆ
  • ใช้ Google Analytics เพื่อพิจารณาว่า คำศัพท์ใดที่คุณติดอันดับและคำศัพท์ใดที่คุณพลาดไป
  • ให้ติดตามแคมเปญ PPC ของคุณ ด้วยการตั้งค่า Google AdWords
  • ใช้ระบบติดตามการโทรที่สอดคล้องกับ HIPAA เพื่อดูว่า การโฆษณาแบบเสียเงินของคุณเป็นอย่างไร และติดตามแผนกต้อนรับของคุณ

 

New call-to-action

 

15. ตรวจสอบการตอบกลับของ Call Center ของคุณ สำหรับแผนการตลาดด้าน Healthcare ของคุณ

คุณมีกลยุทธ์การตลาดด้าน Healtcare ที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนในพื้นที่ของคุณ แต่คุณจะสูญเสียเงินและโอกาส หาก Call Center ของคุณไม่สามารถจัดการกับสายการโทรเข้ามาได้อย่างถูกต้อง โดยการตรวจสอบประสบการณ์การติดต่อ Call Center ของผู้บริโภค อาจทำให้คุณเจอกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้ 

  • ในการติดต่อ ผู้บริโภคต้องรอสายหรือใช้เวลานาน
  • การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคไม่ครบถ้วน อาจสร้างความสับสนได้
  • ระบบการกำหนดเวลาล่าช้า
  • ทีมของคุณไม่สามารถอธิบาย หรือนำเสนอบริการด้านสุขภาพได้
  • ไม่มีกระบวนการตอบรับผู้บริโภค หรือการนัดหมาย

ดังนั้น คุณควรมีการฝึกอบรม Call Center ของคุณให้พร้อม เพื่อจะช่วยให้คุณ และทีมของคุณเรียนรู้วิธีการนำเสนอแบรนด์ของคุณได้ดีที่สุด


New call-to-action

 

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้งหมด เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจด้าน Healthcare แต่ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องทำทั้งหมด โดยคุณอาจจะเริ่มปรับจากบางกลยุทธ์ที่เหมาะสมก่อนได้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การทำ Digital Transformation ในองค์กร โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปช่วยในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสร้งความได้เปรียบทางการตลาด และช่วงชิงผู้บริโภคให้เข้ามายังธุรกิจของคุณได้อย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DIGITAL TRANSFORMATION คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้างในโลกธุรกิจ คลิกเลย

Source : Healthcare Success  

Ourgreenfish LINE Connect

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

 

Recent Posts