Neuromarketing หมายถึงอะไร? ทำไมจึงกลายแนวทางที่สามารถเก็บตกได้ทุกเป้าหมาย จนทำให้หลายแบรนด์ใหญ่ ๆ เลือกที่จะใช้ควบคู่ไปกับเทคนิค หรือกลยุทธ์ทางการตลาดอื่น ๆ
มาเข้าใจคำว่า “Neuromarketing” ก่อน
Neuromarketing คือหนึ่งในเทคนิคทางการตลาดที่ใช้เรื่องของประสาทวิทยา หรือ Neuroscience เข้ามาช่วยทำการวิเคราะห์ ดึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลกับการทำงานของสมอง จิตใต้สำนึก กระบวนการทางความคิด อารมณ์ การตัดสินใจ รวมไปถึงปฏิกิริยาต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการกระตุ้นความสนใจ โดยถ้าแยกรากฐานของคำนี้ออกมาจะแบ่งออกมาได้เป็น
Neuro มาจากคำว่า Neuroscience = ประสาทวิทยา
Marketing = การทำการตลาด
รวมกับเป็น Neuromarketing การใช้ประสาทวิทยาเข้ามาทำการตลาด เพื่อให้แบรนด์สามารถเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมาย เข้าใจพฤติกรรมกลุ่มที่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างสื่อ โฆษณา คอนเทนต์ที่ดึงดูด ทำให้การตลาดได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด
โดยหลัก ๆ แล้วการใช้ Neuromarketing เข้ามาเกี่ยวข้องจะเน้นในเรื่องของการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย อาทิ
- ดึงเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก เมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์บางอย่าง
- ประสาทสัมผัสของมนุษย์ การเคลื่อนไหวของสายตา
- ปฏิกิริยาที่ส่งผลต่อคลื่นสมอง และอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อมีสิ่งเร้า
- การใช้ภาพจำ การลอกเลียนแบบ
กลายเป็นผลดีที่ทำให้ธุรกิจสามารถจับทิศทางความต้องการของผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับนักการตลาด ทำให้คุณสามารถรู้ใจลูกค้าได้ดีขึ้น รู้ว่าคอนเทนต์แบบไหน การโฆษณา หรือโปรโมชั่นส่งเสริมการขายแบบใด ถึงจะสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเปลี่ยนสถานะมาเป็นลูกค้าของคุณได้อย่างรวดเร็ว
Point สำคัญ Neuromarketing เน้นประสบการณ์มากกว่าการอัดข้อมูล
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน มีคอนเทนต์ผลิตใหม่ออกมาวันละเป็นหมื่น เป็นแสนคอนเทนต์ต่อวัน (หรืออาจจะมากกว่านั้น) ทำให้คอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการตลาดจำเป็นต้องสร้างความแปลกใหม่ทั้งในเรื่องของไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ข้อมูลที่ตรงใจ เข้าใจว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ และกำลังต้องการอะไร เพื่อแย่งชิงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ซึ่ง Neuromarketing ก็ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่สามารถช่วงชิงความสนใจผ่านการใช้จิตวิทยา กระตุ้นจิตใจสำนึก ความรู้สึก อารมณ์ มีปฏิกิริยาตอบสนอง เมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจากการอ่านหรือดูคอนเทนต์ อาทิ เกิดความรู้สึกชอบ ดีใจ ม่านตาขยาย หัวใจเต้นแรง ก็จะยิ่งง่ายต่อการส่งต่อแคมเปญทางการตลาดในครั้งต่อไป เพราะกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นรู้จักเราแล้ว แถมยังเป็นการรู้จักในแง่ดี มองแบรนด์มองสินค้าและบริการของเราในเชิงบวก
การทำ Neuromarketing จะเน้นการสร้างประสบการณ์ ทำให้ผู้คนจดจำผ่านคอนเทนต์ที่น่าประทับใจจนส่งผลไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในทันที ผ่านความรู้สึกมากกว่าเหตุผลในช่วงแรก ซึ่งจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องการเทคนิคการตลาดแบบ Neuromarketing พบว่า
- 75 - 99% ของการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เกิดจากการใช้จิตใต้สำนึก อารมณ์ ความรู้สึก ความอยากเป็นแรงกระตุ้น เข้าใจว่าลูกค้าคิดอะไร และต้องการอะไร
- 50% ของสมองและการรับรู้มาจากการมองเห็น ทำให้การทำคอนเทนต์ที่ดึงดูดสายตา ล่อให้การเคลื่อนไหวของสายตาหยุดอยู่ที่สิ่งที่เราต้องการ มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้าและบริการหรือไม่ได้ในทันที อาทิ การทำโปรโมชั่นลดราคา สีแดง ตัวเลขจำนวนราคาต่าง ๆ ส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างรวดเร็วได้
เมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีในการตามหากลุ่มเป้าหมาย นักการตลาดเริ่มรู้ใจคนที่คาดว่าจะได้เข้ามาเป็นลูกค้ามากที่สุดแล้ว การเก็บข้อมูลผ่าน Hubspot ก็ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่มีผลต่อเติบโตของธุรกิจได้แบบก้าวกระโดด เพื่อทุก ๆ การทำการตลาดแบบ Neuromarketing ได้รับประโยชน์สูงสุดรอบด้าน สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ต่อ พัฒนาในส่วนที่ได้ผลตอบดี เป็นที่ประทับใจให้กับลูกค้า ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่มีปัญหาหรือได้รับ feedback จากการเก็บข้อมูล นอกจากนี้การเก็บข้อมูล ยังช่วยให้คุณเก็บตกกลุ่มคนที่มีความสนใจคุณอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจในครั้งแรก ส่งต่อสิ่งที่คาดว่าจะเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายสนใจและนำไปสู่การเป็นลูกค้ากันในที่สุด
นอกจากนี้ Hubspot ยังมีเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจของคุณสมบูรณ์แบบมากขึ้นกว่าเดิมอีกมากมาย กลายเป็นธุรกิจที่เดินหน้าไปไกลกว่าใคร เพื่อให้คุณได้รับข้อมูลและแนวทางการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด เรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คุณปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามได้ทันทีผ่านทุกช่องทางของ Ourgeenfish ค่ะ
แนะนำให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
CUSTOMER RETENTION (การรักษาลูกค้า) : 6 กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจของคุณให้เติบโตด้วยลูกค้าเก่า
CUSTOMER EXPERIENCE คืออะไร แล้วสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจคุณ
ที่มา : [1]
No Comments